Page 59 - kpi20858
P. 59

16






                       ประณีตศิลปกรรมขึ้นในปี พ.ศ.2477 เพื่อผลิตบุคลากรผู้เชี่ยวชาญชาวไทย สืบสานต่อยอดงานศิลปะ
                       ด้านต่างๆ ของกรมศิลปากร จนเกิดเป็นแนวทางใหม่ที่แตกต่างไปจากแนวไทยประเพณีดั้งเดิมโดยสิ้นเชิง

                       กล่าวได้ว่าช่วงเวลาดังกล่าวเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อส าคัญในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาศิลปะ จากสกุลช่าง

                       มาเป็นการสอนอย่างเป็นระบบ  และพัฒนาต่อมาเป็นสถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรเช่นเดียวกันกับ

                       สถาบันศิลปะในประเทศตะวันตก  ซึ่งเป็นปฐมบทของการศึกษาศิลปะตามแบบอย่างศิลปะตามหลัก
                                                                                           13
                       วิชาของตะวันตก เป็นต้นก าเนิดของการสร้างสรรค์ศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย

                              ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี ได้กล่าวถึงความหมายของค าว่า “academic”  ไว้ในหนังสือชื่อ

                       “ศิลปะสงเคราะห์: พจนานุกรมศัพท์ศิลปะตะวันตก” ดังนี้

                                  ตามหลักวิชา  หมายความถึง  ศิลปกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่ประกอบด้วย

                            หลักวิชา  กล่าวคือ  ศิลปินคณะหนึ่งๆ  หรือหมู่หนึ่งมีความเห็นไปรวมจุดสุดท้ายร่วมกันว่า
                            ศิลปกรรมที่ผลิตขึ้น  จะต้องให้สมบูรณ์พร้อมทุกสิ่งทุกอย่างให้ถึงขนาด  ตามหลักเกณฑ์ที่ยก

                            ย่องนิยมกัน  เพราะฉะนั้นศิลปกรรมอันมีลักษณะที่ท าตามหลักวิชา  จึงควรสมบูรณ์ทั้งองค์

                                                            14
                            ประกอบและวิธีการท า อย่างหาต าหนิได้
                              จากข้อเขียนข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความส าคัญของหลักเกณฑ์  ซึ่งได้รับการยกย่องและยอม

                       รับโดยคนกลุ่มหนึ่ง  น ามาใช้เป็นกรอบก าหนดแนวทางการแสดงออกที่สมบูรณ์พร้อมตามทัศนะและ
                       คตินิยมของคนกลุ่มดังกล่าว อีกทั้งในข้อเขียนของ ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี สะท้อนให้เห็นถึงคตินิยม

                       ของท่านที่ยกย่องความสมบูรณ์ทั้งองค์ประกอบและวิธีการท าอย่างหาที่ติมิได้  อย่างไรก็ตามความ

                       สมบูรณ์พร้อมทั้งองค์ประกอบและวิธีการท านั้น  มีความหมายครอบคลุมไปถึงการสื่อสารความรู้สึกได้

                       อย่างมีความหมายอีกด้วย ดังที่ ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรีกล่าวว่า

                                  การที่จะด าเนินให้ครบถ้วนตามความมุ่งหมายดังว่านี้ได้  จ าต้องใช้ความพยายามความ

                            อุตสาหะต่อเนื่องกันไป  จึงจะท าให้องค์ประกอบและวิธีการกระท านั้นถึงความสมบูรณ์  แต่

                            ครั้นส าเร็จเป็นศิลปกรรมขึ้นมาแล้วสิ  โดยมากมักได้ผลเป็นเพียงผลิตกรรมที่งามเรียบๆ  มลืด
                            ชืดไปเสีย ด้วยเหตุนี้เมื่อกล่าวว่าศิลปกรรมใดมีลักษณะประกอบด้วยหลักวิชา  ซึ่งปรากฏ



                           13   วิบูลย์  ลี้สุวรรณ,  ศิลปะในประเทศไทย:  จากศิลปะโบราณในประเทศไทย  ถึงศิลปะสมัยใหม่  (กรุงเทพฯ:  ศูนย์
                       หนังสือลาดพร้าว, 2548), 188.

                           14  ศิลป์  พีระศรี, พิมพ์ครั้งที่ 4, แปลโดย พระยาอนุมานราชธน, ศิลปะสงเคราะห์: พจนานุกรมศัพท์ศิลปะตะวันตก
                       (กรุงเทพฯ: มูลนิธิศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรีอนุสรณ์, 2553),18.
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64