Page 89 - kpi20858
P. 89

46






                       เกี่ยวกับพระราชพงศาวดาร โดยที่พระราชนิยมของพระมหากษัตริย์ก าหนดทิศทางของรูปแบบการ
                       แสดงออกให้แตกต่างไปจากศิลปะตามขนบแบบดั้งเดิม ดังที่วิทย์ พิณคันเงินได้กล่าวถึง ดังนี้


                                  โปรดให้ช่างเขียนหลายคน  เขียนภาพจากวรรณคดีและจากประวัติศาสตร์ขึ้นโดย
                            เขียนบนแผ่นไม้หรือแผ่นผ้าใส่กรอบเช่นเดียวกับภาพเขียนของตะวันตก  แต่เป็นการใส่

                            กรอบกระจก  ประดับไว้ในพระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอินจ านวนกว่า  100

                            ภาพ แล้วพระราชทานรางวัลตั้งแต่อันดับที่ 1 และอันดับรองลงมาอีกหลายอันดับ ตามแต่
                            สมควรแก่คุณค่าของภาพนั้นๆ  ภาพเหล่านั้นเป็นภาพระบายด้วยสีฝุ่น  ประสานแสงและ

                            เงาทั้งตัวภาพและฉากหลังตลอดจนสิ่งประกอบ...  ภาพเหล่านี้แสดงความก้าวหน้า  โดย
                            พัฒนาขึ้นจากที่ระบายสีตัดเส้นตามแบบไทยประเพณี  มาเป็นการระบายสีประสานให้

                            เกิดแสงเงา  แต่เค้าโครงส่วนใหญ่ยังมีลักษณะแบบไทยอยู่  อาจเป็นเพราะท าขึ้นตาม

                            ความนิยมในยุคนั้น  และประกอบกับยังมิได้ใช้วิทยาการอย่างตะวันตก  เช่น  กายวิภาค
                                    62
                            ทางศิลปะ
                              การประกวดภาพเขียนครั้งนี้  ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปแบบการแสดงออก  ที่

                       น าเอาแบบอย่างบางประการจากศิลปะตะวันตกมาใช้ในผลงาน  โดยยังคงไว้ซึ่งลักษณะไทย  และ

                       เล่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของไทย ซึ่งผลการประกวดในครั้งนี้ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระ

                       ยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงส่งภาพ “โพนช้าง” เข้าประกวด และทรงได้รับพระราชทานรางวัลชนะเลิศ

                       ในขณะที่ทรงมีพระชนมายุเพียง 17 พรรษา ภาพนี้เขียนตามนวสัจนิยมตะวันตก
                                                                                          63
                            พระราชนิยมของพระมหากษัตริย์รัชกาลที่  5  ที่ทรงชื่นชมผลงานศิลปะตามหลักวิชาที่ตั้งอยู่

                       บนรากฐานของการน าเสนอความสมจริงอย่างเป็นเหตุเป็นผล      ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่พระบาท

                       สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์สยามพระองค์แรกที่ได้ทอดพระเนตร

                       ศิลปะตะวันตก และทรงมีพระราชนิยมส่วนพระองค์ ชื่นชมศิลปะตะวันตก ดังที่วิทย์ พิณคันเงิน ได้
                       กล่าวถึงว่า  “พระองค์โปรดภาพเขียนที่ระบายสีมีแสงเงาคล้ายภาพเขียนของตะวันตก  ด้วยในการ

                       เสด็จประพาสประเทศในทวีปยุโรป  ได้ทอดพระเนตรเห็นภาพเขียนเป็นอย่างมาก  ตั้งแต่ฝีมือช่าง

                                               64
                       เขียนโบราณจนถึงสมัยใหม่”   แต่ทว่ากลับพอพระราชหฤทัยในรูปแบบศิลปะตามหลักวิชา  ซึ่ง
                       ยึดถือมาแต่อดีตของตะวันตก ดังที่ วิรุณ ตั้งเจริญ กล่าวถึงเกี่ยวกับรูปแบบของศิลปะตะวันตกที่มี
                       อิทธิพลต่อการสร้างงานศิลปะของชาวสยาม ดังนี้




                           62  วิทย์ พิณคันเงิน, “ช่างเขียนสมัยรัตนโกสินทร์,” ใน ศิลปกรรมล ้าค่าสมัยรัตนโกสินทร์, 65-69.
                           63  พิริยะ ไกรฤกษ์, ประวัติศาสตร์ศิลปในประเทศไทย: ฉบับคู่มือนักศึกษา,330.
                           64  วิทย์ พิณคันเงิน, “ช่างเขียนสมัยรัตนโกสินทร์,” ใน ศิลปกรรมล ้าค่าสมัยรัตนโกสินทร์, 65.
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94