Page 22 - kpi20863
P. 22

“เพลิงไหม้คราวนี้ร้ายมากและจ าต้องท าให้นึกว่าถึงเวลาที่จะต้องมีพระราชบัญญัติควบคุมการ

               ก่อสร้างอย่างยิ่ง เช่นตึกนี้ไม่มีทางหนีไฟเลยเป็นต้น  อีกประการหนึ่งการเก็บฟิล์มหนังนั้นคล้ายเก็บวัตถุระเบิด
               หรือเชื้อเพลิงอย่างน้ ามัน ที่ต่างประเทศย่อมมีที่เก็บพิเศษกันไฟได้ ที่ให้เก็บตามบุญตามกรรมอย่างนี้เป็น

               อันตรายมาก”


                       เพลิงไหม้โรงภาพยนตร์พัฒนากรเมื่อพ.ศ. 2473 นั้น จึงเป็นเหตุให้รัฐบาลออกพระราชบัญญัติควบคุม
               การก่อสร้างในเขตต์เพลิงไหม้ที่บริเวณระวางถนนเจริญกรุง เยาวราช และปทุมคงคา กับที่ต่าบลถนนเยาวราช

               ตอนคลองศาลเจ้าใหม่ถม จังหวัดพระนคร พุทธศักราช 2475 อันนับว่าเป็นก้าวแรกของการออกกฎหมาย

               ควบคุมอาคารในสยาม ที่แม้ว่าจะเป็นการออกข้อก่าหนดควบคุมอาคารเฉพาะพื้นที่เพลิงไหม้ แต่ก็น่าไปสู่การ
                                                                                                        26
               ตราและบังคับใช้พระราชบัญญัติพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ในเวลาต่อมา




                       2.2.2 เมืองและการวางผังเมือง

                       ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2470 เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม มีหนังสือ

               กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตสร้างโรงเรียนกฎหมายและส่านักงานเนติบัณฑิตยสภาขึ้นที่ถนนหน้าหับ

               เผย หลังศาลหลักเมือง  โดยได้ให้นายชาลส์ เบเกอแลง (Charles Béguelin) สถาปนิกชาวสวิสประจ่ากรม
               สาธารณสุขออกแบบร่างไว้เบื้องต้น  ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน (นับศักราชตามอย่างเก่า) สมเด็จพระ

               เจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระ

               บรมราชานุญาตสร้างท่าการกรมอัยการขึ้น ในที่ดินแปลงเดียวกับที่กระทรวงยุติธรรมคิดจะสร้างโรงเรียน
               กฎหมายและส่านักงานเนติบัณฑิตยสภานั้น โดยให้นายอันนิบาเล ริก็อตติ (Annibale Rigotti) สถาปนิกชาวอิ

                                        27
               ตาเลียน ออกแบบร่างเบื้องต้น  (ภาพที่ 2-07) เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ
               ให้น่าเรื่องนี้เสนอที่ประชุมอภิรัฐมนตรี พร้อมมีพระราชกระแสว่า

                       “เรื่องการก่อสร้างต่างๆ นี้ต่างคนต่างคิดต่างท ากันอยู่เรื่องแปลนพระนครจึงไม่ค่อยลงรอย เปนการ

               ตามบุญตามกรรม  ถ้ามีกรรมการ กะวางแผน town-planning ของพระนครไว้เสียได้จะดีนักหนา วิธีใช้กัน

               ทั่วไปในอารยประเทศ  กะแปลนล่วงหน้าไว้ แต่ไม่จ าเปนต้องท าทันที แต่ถ้ามีโอกาสก็ท าตามแปลนนั้น”

                       ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 ที่ประชุมอภิรัฐมนตรีได้อภิปรายเรื่อง “การวางแผนผังพระนคร”

               (town-planning) และมีมติให้ตั้งคณะกรรมการ “พิจารณาวางไว้ว่าเมืองรูปจะเป็นอย่างนี้” โดยที่สมเด็จพระ

               เจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตได้กราบบังคมทูลว่า ได้โปรดให้นายชาลส์ โบดาร์ต (Charles
               Baudart) นายช่างนคราทร (City Engineer) ร่างแบบแปลนขึ้นมาแล้ว  ที่ประชุมจึงมีมติตามพระราชด่าริ ให้

               ตั้งคณะกรรมการวางแผนผังพระนคร (Town-planning Committee) ให้อธิบดีกรมนคราทรเป็นประธาน มี

               กรรมการโดยต่าแหน่ง 3 คน คือผู้แทนกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม นายแพทย์กรมสาธารณสุข และนาย
               ช่างนคราทร  นอกจากนี้ยังมีกรรมการที่รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็นการเฉพาะตัว ได้แก่ หม่อมเจ้าอิทธิ


                                                            15
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27