Page 21 - kpi20863
P. 21
มากขึ้นในพื้นที่เมืองที่จ่ากัด ท่าให้เมืองเกิดความหนาแน่นทวีมากยิ่งขึ้น เกิดปัญหาในการบริหารจัดการเมืองที่
รัฐต้องพยายามแก้ไข ทั้งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และการแก้ปัญหาเชิงนโยบาย
2.2.1 เมืองกับพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง
ในรัชกาลที่ 7 เมืองกรุงเทพฯ ขยายตัวขึ้นตามล่าดับ โดยในพื้นที่เมืองชั้นในมีการใช้ที่ดินที่หนาแน่น
ขึ้น ควบคู่ไปกับความพยายามของรัฐบาลในการขยายโครงข่ายถนนออกไปโดยรอบ (ภาพที่ 2-06) รองรับ
ประชากรที่เพิ่มขึ้นจาก 666,719 คนในพ.ศ. 2462 เป็น 921,617 คนในพ.ศ. 2472
ปัญหาในการบริหารจัดการเมืองที่ทวีความหนาแน่นมากขึ้นทุกวันนี้มีมาแล้วตั้งแต่ช่วงปลายรัชกาลที่
5 แล้ว โดยที่รัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้นายแพทย์เอช. แคมป์เบลล์ ไฮเอ็ต (Dr H. Campbell Highet)
แพทย์ศุขาภิบาล ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการก่อสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการป้องกันอัคคีภัย และ
การรักษาความสะอาดเรียบร้อยในพื้นที่เมืองกรุงเทพฯ ต่อมาในรัชกาลที่ 6 ในพ.ศ. 2459 เกิดเพลิงไหม้ใหญ่ที่
ริมวัดมหรรณพาราม ในย่านที่มีบ้านเรือนราษฎรหนาแน่น กระทรวงนครบาลเห็นเป็นโอกาสดีในการวางผัง
ชุมชนใหม่ จัดรูปที่ดินให้เป็นระเบียบ จึงร่างพระราชก่าหนดขึ้นเพื่อใช้ในการเวนคืนที่ดินและตัดถนนใหม่ ใช้
22
เป็นต้นแบบในการตัดถนนหลังเกิดเพลิงไหม้สืบมา อันเป็นมาตรการเฉพาะกิจ ส่วนการควบคุมการก่อสร้าง
ให้ได้มาตรฐานทั้งทางการป้องกันอัคคีภัยและความมั่นคง เป็นระเบียบเรียบร้อยนั้น ในพ.ศ. 2459
กระทรวงมหาดไทยได้ข้อสรุปในที่ประชุมเทศาภิบาลว่า จะมีการร่างพระราชบัญญัติแผนผังก่อสร้าง บังคับใช้
ในหัวเมืองทั่วไป และในภายหลัง เมื่อกระทรวงนครบาลยุบรวมเข้ากับกระทรวงมหาดไทยแล้ว ก็มีด่าริว่าจะ
ออกพระราชบัญญัติแผนผังก่อสร้างที่มีผลบังคับใช้ควบคุมอาคารทั้งในพระนครและหัวเมือง แต่คงค้างอยู่เพียง
23
ขั้นตอนการร่าง เท่านั้น และต่อมาในพ.ศ. 2461 เสนาบดีสภาได้มอบหมายให้กระทรวงนครบาลตั้ง
กรรมการร่างพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างขึ้นอีกครั้ง มีการประชุมกันถึง 40 ครั้งในเวลาสองปี แต่ก็มิได้
มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด และต่อมาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 เกิดเพลิง
ไหม้ใหญ่ที่ตลาดโพธาราม จังหวัดราชบุรี กระทรวงมหาดไทยจึงตั้งกรรมการร่างพระราชบัญญัติควบคุมการ
ก่อสร้างขึ้นอีกค่ารบหนึ่ง แต่เช่นเคย การร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวคงค้างมาจนสิ้นรัชกาลที่ 6
24
ในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 เกิดเพลิงไหม้ใหญ่ที่ต่าบลศาลเจ้ากวางตุ้ง ต้นเพลิงอยู่ที่ตึกที่ท่า
การโรงหนังพัฒนากร ริมถนนเจริญกรุง อาคารและอุปกรณ์การฉายภาพยนตร์เสียหายเป็นมูลค่า 315,000
บาท และมีผู้เสียชีวิตถึง 16 คน คือภรรยา มารดาภรรยา บุตร หลาน และคนรับใช้ของนายเทียม ตันติเวชกุล
ผู้จัดการโรงภาพยนตร์ดังกล่าว เจ้าพนักงานสอบสวนได้ความว่าการที่มีผู้เสียชีวิตจ่านวนมากขนาดนี้เป็นเพราะ
25
อาคารเป็นตึกสามชั้น แต่มีบันไดขึ้นลงเพียงทางเดียว ไม่มีทางหนีไฟ เมื่อความทราบเบื้องพระยุคลบาท
รัชกาลที่ 7 มีพระราชกระแสพระราชทานสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ความว่า
14