Page 26 - kpi20863
P. 26
แม่น้่าเพื่อรับแรงถีบของน้่าหนักสะพาน รัชกาลที่ 7 เสด็จฯ ทรงวางศิลาพระฤกษ์สะพานวันที่ 9 มกราคม พ.ศ.
2472 การก่อสร้างแล้วเสร็จวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2475 และมีพระราชพิธีเปิดสะพาน อันนับเนื่องเป็นส่วน
38
หนึ่งของพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475
การก่อสร้างสะพานที่ส่าคัญอีกสะพานหนึ่งในช่วงรัชสมัย คือสะพานกษัตริย์ศึก ซึ่งเป็นสะพานข้าม
ทางรถไฟและคลองผดุงกรุงเกษมที่ต่าบลยศเส (ภาพที่ 2-12 และ 2-13) กรมรถไฟหลวงออกแบบและก่อสร้าง
ขึ้น เพื่อแยกการสัญจรบนถนนบ่ารุงเมืองตอนนอก (ถนนพระรามที่ 1) ให้ยกลอยข้ามเส้นทางรถไฟสายเหนือ
เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างทันสมัย แล้วเสร็จและเปิดใช้งานในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 โดย
39
40
รัชกาลที่ 7 เสด็จฯ ทรงตัดแถบแพรเปิดสะพาน ในวันที่ 6 เมษายน ปีเดียวกัน
2.2.4 ถนนในประเทศสยาม
ในรัชกาลที่ 7 มีการขยายโครงข่ายการคมนาคมทางบก คือ ถนน ทั้งถนนระหว่างพระนครและเมือง
ต่างๆ อันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทาง กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และถนนในพระนคร อันอยู่ใน
ความดูแลของกรมนคราทร กระทรวงมหาดไทย ถนนทั้งหลายนี้สร้างขึ้นเพื่อรองรับรถยนต์และรถประเภท
อื่นๆ ที่ทวีจ่านวนขึ้นอย่างมหาศาล ในสมัยที่การสัญจรทางบกเริ่มมีความส่าคัญทัดเทียมกับการสัญจรทางน้่า
ส่าหรับถนนทางหลวงนั้น กรมทาง กระทรวงพาณิชย์และคมนาคมได้ด่าเนินการก่อสร้างมาแล้วตั้งแต่
รัชกาลที่ 6 และด่าเนินการต่อในรัชกาลที่ 7 ได้แก่ถนนในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
(ภาพที่ 2-13) โดยมากเป็นการปรับปรุงและขยายถนนที่แต่เดิมสมุหเทศาภิบาลและผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละ
จังหวัดก่อสร้างขึ้น ให้เป็นถนนแบบใหม่ที่มีมาตรฐานเดียวกัน เหมาะสมแก่การขนส่งสินค้า ถนนเหล่านี้
กระตุ้นให้เกิดการคมนาคมขนส่งระหว่างจังหวัด โดยที่ราคาค่าขนส่งสินค้าก็ถูกลงด้วย เช่น ในช่วงพ.ศ. 2469 -
2470 ถนนสาย 3 ล่าปาง - เชียงราย มีปริมาณรถยนต์เพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 85 ส่วนในช่วงพ.ศ. 2468 –
2469 ถนนสาย 11 สงขลา - สะเดา มีปริมาณรถยนต์เพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 186 “การที่ยวดยานพาหนะเพิ่ม
41
จ านวนขึ้นมากมายเช่นนี้ เป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นชัดว่าการก่อสร้างซ่อมแซม แลบ ารุงรักษาถนน เป็นประโยชน์อัน
แท้จริงแก่ชาติ การถนนของประเทศสยามเป็นทั้งเครื่องมือส าหรับป้องกันพระราชอาณาจักร แลเครื่องมือ
42
ส าหรับบ ารุงเศรษฐกิจแลส าหรับผดุงการศึกษาด้วย”
ถนนส่าคัญอีกกลุ่มหนึ่งที่เริ่มก่อสร้างขึ้นในรัชกาลที่ 7 และส่งผลอย่างยิ่งต่อการขยายตัวของพระนคร
ในรัชกาลต่อๆ มา คือถนนที่เชื่อมพระนครกับเมืองบริวารโดยรอบ โดยทางทิศเหนือนั้น ในพ.ศ. 2472 รัชกาล
ที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลากลางเมืองนนทบุรีมาที่ต่าบลบางขวาง ใกล้กับเรือนจ่าใหญ่ที่ได้สร้างขึ้นใหม่
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยจึงกราบบังคมทูล
43
เสนอให้ตัดถนนกรุงเทพฯ - นนทบุรี เพื่อให้การจราจรระหว่างกรุงเทพฯ กับนนทบุรีสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
ทว่าเมื่อรัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้สภาการคลังถวายความเห็นเกี่ยวกับการสร้างถนนสายนี้ในเดือนตุลาคม
พ.ศ. 2473 สภาการคลังมีมติว่ายังไม่ควรก่อสร้างถนนดังกล่าว เพราะขณะนั้นมีการก่อสร้างถนนหลายสายทาง
ฝั่งธนบุรี เพื่อเตรียมรองรับการสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี ในพ.ศ. 2474 เกิดไฟฟ้าเสียที่
19