Page 46 - kpi20863
P. 46
กว้างขวาง เข้าใจทั้งเนื้อหาวิชาและวิธีสอนอย่างถ่องแท้อีกด้วย ในพ.ศ. 2450 นายฮีลีย์จึงส าเร็จการศึกษา
ได้รับประกาศนียบัตรขั้นสูง (Diploma of Full Associateship) จากราชวิทยาลัยศิลป ตลอดจนกิตติบัตรและ
15
รางวัลต่างๆ จ านวนมาก ในปีนั้นเอง รัฐบาลสยามได้ติดต่อไปยังสถานเอกอัครราชทูตสยามประจ าราชส านัก
เซนต์เจมส์ ให้หาครูสอนศิลปะชาวอังกฤษเข้ามาท างานเป็น “ครูช่างเขียน” สังกัดกระทรวงธรรมการ
กรุงเทพฯ ซึ่งทางสถานเอกอัครราชทูตได้มอบหมายให้นายจอห์นสัน (W. G. Johnson) ที่ปรึกษาด้าน
การศึกษา เป็นผู้คัดเลือกบุคคลที่เหมาะสม ซึ่งนายจอห์สันได้ตกลงเลือกนายฮีลีย์ ลงนามในสัญญาจ้างท างานที่
16
สถานเอกอัครราชทูตสยาม ณ กรุงลอนดอน ในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 จากนั้นนายฮีลีย์และ
ภรรยาก็ได้เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2450 และเข้ารับหน้าที่เป็น ครูช่างเขียน ประจ า
กรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ ที่สโมสรช่าง สามัคคยาจารย์สมาคม สังกัดกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรม
การ นายฮีลีย์ด ารงต าแหน่งอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนหัตถกรรมราชบุรณะ (ต่อมาคือ โรงเรียนเพาะช่าง) ในช่วง
พ.ศ. 2453 – 2455
ในช่วงพ.ศ. 2455 นายฮีลีย์มีงานนอกเหนือจากงานราชการ คือการออกแบบก่อสร้างตึกบัญชาการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ภาพที่ 3-14) และโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย, ภาพที่ 3-15) ทั้งยัง
เห็นโอกาสในการเปิดส านักงานสถาปนิกเอกชนที่กรุงเทพฯ จึงลาออกจากราชการและเปิดกิจการบริษัทสยาม
อาคีเต๊กซ์ (Siam Architects Co.) ขึ้นในพ.ศ. 2456 รับท าการต่างๆ ทั้งออกแบบสถาปัตยกรรม รับเหมา
17
ก่อสร้าง และงานมัณฑนศิลป์ ถึงพ.ศ. 2466 นายฮีลีย์เปิดกิจการบริษัทสยามอาคีเต๊กซ์ อิมปอร์ต (Siam
Architects Import Co.) เพื่อเป็นนายหน้าค้าสินค้าน าเข้าจากต่างประเทศ เช่น รถยนตร์ สุรา เป็นต้น แม้
18
ส านักงานสถาปนิกของนายฮีลีย์จะมีขนาดเล็ก มีบุคลากรประจ าไม่เกินสองคน แต่ก็สามารถด าเนินกิจการอยู่
มาได้ถึงสามสิบกว่าปี ตั้งแต่ช่วงต้นรัชกาลที่ 6 ถึงช่วงต้นรัชกาลที่ 9 อันเป็นช่วงเวลาที่วงวิชาชีพสถาปนิกใน
ประเทศไทยค่อยๆ ก่อตัวขึ้นโดยล าดับ
เมื่อแรกตั้งบริษัทสยามอาคีเต๊กซ์ นายฮีลีย์อายุได้ราว 34 ปี และอยู่เมืองไทยมาแล้วราว 6 ปี โดยรับ
ราชการในต าแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนหัตถกรรมราชบุรณะ ทั้งยังมีโอกาสได้ออกแบบอาคารส าคัญๆ ดังกล่าว
มาแล้ว นายฮีลีย์จึงน่าจะมีสถานะทางสังคมที่สูง มีความสัมพันธ์กับเจ้านายและขุนนางชาวสยาม อันจักท าให้
นายฮีลีย์ได้ออกแบบอาคารประเภทที่พักอาศัยที่ส าคัญหลายหลัง เช่น ต าหนักจักรพงษ์ หัวหิน (พ.ศ. 2456)
พระต าหนักชาลีมงคลอาสน์ พระราชวังสนามจันทร์ (พ.ศ. 2456) ต าหนักใหญ่ วังเทวะเวศม์ (พ.ศ. 2458)
บ้านมนังคศิลา (พ.ศ. 2465) และต าหนักทิพย์ (พ.ศ. 2476) เป็นต้น ส่วนอาคารสาธารณะที่เป็นผลงานนายฮี
ลีย์ เท่าที่ปรากฏหลักฐานขณะนี้ ได้แก่ อาคารสโมสร ราชกรีฑาสโมสร (พ.ศ. 2458) อาคารบริษัทสยามอาคี
เต๊กซ์ อิมปอร์ต (พ.ศ. 2470) และอาคารสยามสมาคม (พ.ศ. 2471) เท่านั้น
นายฮีลีย์มีความนิยมในรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบทิวดอร์ (Tudor Revival) ดังปรากฏในผลงาน
ประเภทอาคารพักอาศัยเกือบทั้งหมด อาคารโรงเรียนหัตถกรรมราชบุรณะ และอาคารบริษัทสยามอาคีเต๊กซ์
อิมปอร์ต ความนิยมนี้น่าจะเป็นผลมาจากการศึกษาที่ราชวิทยาลัยศิลป (Royal College of Art) ในช่วง
ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นายฮีลีย์เรียนวิชาสถาปัตยกรรมกับศาสตราจารย์อาร์เธอร์ เบเรสฟอร์ด ไพท์
62