Page 56 - kpi20863
P. 56
3
บาท เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้าร าไพพรรณีเสด็จฯ ทรงเปิดแพรคลุมป้าย
4
ชื่อ โฮเตลราชธานี ในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2470
โรงแรมราชธานี (ภาพที่ 4-02 และ 4-03) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอาคารสถานีรถไฟกรุงเทพฯ
หรือสถานีหัวล าโพง ตัวอาคารมีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 13.5 เมตร ยาว 135 เมตร ทอดยาวไประหว่างแนว
โครงสร้างหลักของสถานีรถไฟกรุงเทพฯ และถนนรองเมือง โดยหันด้านหน้าอาคารเข้าทางสถานี อาคาร
โครงสร้างผนังอิฐรับน้ าหนัก ฐานรากคอนกรีตเสริมเหล็ก สูงสองชั้น ความสูงถึงยอดผนัง 9 เมตร มีโถงทางเข้า
และบันไดปูด้วยหินอ่อนสีขาว เป็นบันไดหลักด้านทิศใต้ จากโถงบันไดด้านหนึ่งเป็นห้องบริการข้อมูลท่องเที่ยว
ด้านหนึ่งเป็นคอร์ตต้นปาล์ม (Palm Court) พร้อมบาร์เครื่องดื่ม ถัดไปเป็นภัตตาคาร พื้นปูกระเบื้องโมเสค
ห้องครัวโรงแรม ห้องเก็บอาหาร ห้องพักพนักงาน ส่วนปลายอาคารด้านทิศเหนือมีที่ท าการไปรษณีย์โทรเลขที่
5 รองเมือง และที่ท าการศุลกากร ทั้งสองส่วนมีห้องมั่นคง ส่วนชั้นบนเป็นห้องพัก จัดเป็นห้องชุด 9 ชุด แต่ละ
ชุดมีห้องนอน เฉลียง ห้องนั่งเล่น ห้องเก็บกระเป๋าเดินทาง ห้องน้ ามีน้ าร้อนน้ าเย็นทุกห้อง นับว่าเป็นโรงแรม
5
ขนาดเล็กที่ทันสมัยที่สุดในพระนครเมื่อแรกสร้าง
4.1.3 ตึกมาลินี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ตึกมาลินี (ภาพที่ 4-04) เป็นหอพักผู้ป่วยเด็ก ห้องท าคลอด และแผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาล
จุฬาลงกรณ์ สร้างขึ้นโดยทุนทรัพย์ที่สมเด็จพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ
ปิยมหาราชปดิวรัดา ประทานแทนสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา ศิรินิภาพรรณวดี ซึ่งได้ตั้ง
พระทัยไว้ว่าจะประทานเงินให้แก่โรงพยาบาลเพื่อสร้างอาคารดังกล่าวเป็นสาธารณกุศล ทว่าสิ้นพระชนม์ไป
เสียก่อนในพ.ศ. 2467 ตึกมาลินีเป็นอาคารตามแบบมาตรฐานของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวคือเป็น
อาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก สูงสองชั้น มีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว วางอาคารให้รับลมและระบาย
อากาศได้เต็มที่ ห้องพักผู้ป่วยเรียงตัวเป็นแนวยาว มีระเบียงทางเดินล้อมรอบทุกด้าน สถาปัตยกรรมเน้นความ
โปร่งโล่ง ถูกสุขอนามัย ก่อสร้างด้วยวัสดุสมัยใหม่ เช่น กระเบื้องหินขัด กระเบื้องเคลือบผนัง เป็นต้น ผนังห้อง
6
ผู้ป่วยเด็กวาดภาพสีน้ าเป็นรูปสัตว์ ผลไม้ ดอกไม้ เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ รัชกาลที่ 7 เสด็จฯ ทรงเปิด
7
อาคารในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2469
4.1.4 สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ
สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษตั้งอยู่ที่ถนนเพลินจิต ในที่ดินที่พระภักดีนรเศรษฐ์ (เลิศ เศรษฐบุตร หรือ
นายเลิศ) ขายให้แก่รัฐบาลอังกฤษในพ.ศ. 2463 จากนั้นจึงได้ด าเนินการออกแบบและก่อสร้าง โดยมีนายอาร์ชิ
บอล์ด สก็อตต์ (Archibald Scott) สถาปนิกประจ ากรมโยธาธิการของอังกฤษ เป็นผู้ออกแบบ โดยมีมีนายเอ็ด
เวิร์ด ฮีลีย์ (Edward Healey) เจ้าของบริษัทสถาปนิกสยามอาร์คิเทกส์ (Siam Architects Co.) ช่วยควบคุม
การก่อสร้าง เริ่มก่อสร้างในพ.ศ. 2467 โดยมีบริษัทบางกอกด๊อก (Bangkok Dock Co.) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง
85