Page 61 - kpi20863
P. 61
ซึ่งเป็นโถงบันไดหลัก ทั้งยังอยู่ในแนวแกนกลางบริเวณโรงพยาบาล จากท่าน้ าที่ริมแม่น้ าเจ้าพระยาเข้ามาที่
เส้นทางสัญจรหลักกลางโรงพยาบาล เป็นอาคารเดียวในบริเวณโรงพยาบาลในขณะนั้นที่วางอาคารขวางตะวัน
การวางผังภายในเรียงห้องแบบมีทางเดินกลาง (single-load corridor) โดยที่ทางเดินกลางนั้นยังประสาน
สอดคล้องกับทางเดินสัญจรภายนอกอาคารอีกด้วย ตึกอ านวยการมีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิค
ลดทอน เน้นเส้นตั้งด้วยเสาเก็จ (pilaster) และส่วนมุขกลางที่ยกสูงกว่าปีกอาคารสองข้าง หน้าต่างชั้นล่างมี
กันสาดคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นแผ่นบาง โดยหน้าต่างคู่หนึ่งใช้กันสาดร่วมกันหนึ่งกันสาด อันเป็นวิธีเดียวกันกับ
ที่พระสาโรชรัตนนิมมานก์ใช้ที่อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2478) ส่วนขอบ
อาคารด้านบนเน้นด้วยกันสาดเป็นแผ่นยาวตลอดความยาวอาคาร
4.2.4 ตึกกายวิภาควิทยาและสรีรวิทยา ศิริราชพยาบาล
ตึกกายวิภาควิทยาและสรีรวิทยา ศิริราชพยาบาล (ภาพที่ 4-19) ออกแบบโดยพระสาโรชรัตนนิม
มานก์ (สาโรช สุขยางค์) สร้างขึ้นในพ.ศ. 2471 โดยงบประมาณ 182,000 บาท โดยทุนของมูลนิธิร็อคกีเฟล
เลอร์ (Rockefeller Foundation) “ชั้นล่างมีห้องสอนวิชชาปรุงยา และไบโอเคมิสตรี ชั้นบนเป็นส านักงาน
14
สาขาต่างๆ ของแผนกกายวิภาควิทยา” ตึกกายวิภาควิทยาและสรีรวิทยาเป็นอาคารสูงสองชั้น โครงสร้าง
คอนกรีตเสริมเหล็ก มีผังอาคารแบบสมมาตร คือมีมุขกลาง ขนาบด้วยมุขข้างสองข้าง บันไดหลักอยู่ที่กลาง
อาคาร รูปด้านอาคารเน้นหน้าต่างแบบมาตรฐานของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ คือส่วนล่างเป็นบานกระทุ้ง ตรง
กลางแบ่งเป็นสามส่วน ตรงกลางเป็นบานติดตาย สองข้างเป็นบานผลัก ใช้เปิดระบายลม ตอนบนเป็นช่อง
ระบายอากาศ ซึ่งเป็นแบบเดียวกันกับหน้าต่างที่ตึกขาว คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่ง
ออกแบบโดยสถาปนิกคนเดียวกัน ส่วนที่ต่างออกไปคือที่ตึกกายวิภาควิทยาและสรีรวิทยามีกันสาดซิเมนต์หล่อ
ส าเร็จรูปติดตั้งอยู่เหนือหน้าต่าง ทั้งชั้นล่างและชั้นบน โดยติดเป็นแผ่นยาวต่อเนื่องกันตลอดความยาวอาคาร
4.2.5 ตึกอัษฎางค์ ศิริราชพยาบาล
ตึกอัษฎางค์ ศิริราชพยาบาล (ภาพที่ 4-20) เป็นหอพักผู้ป่วย ซึ่งรัชกาลที่ 6 มีพระราชด าริจะสร้าง
เป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ซึ่งได้เสด็จทิวงคตไปเมื่อ
พ.ศ. 2467 ด้วยพระราชทรัพย์จากกองมรดกของสมเด็จพระอนุชาธิราชฯ ทว่าพระองค์เองได้เสด็จสวรรคตไป
เสียในพ.ศ. 2468 การจึงค้างอยู่ รัชกาลที่ 7 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ด าเนินการต่อตามพระราชด ารินั้น โดย
พระราชทานเงินสมทบด้วย ตึกอัษฎางค์เป็นอาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก สูงสองชั้น กว้าง 11 เมตร
ยาว 44 เมตร ลักษณะผังแบบมาตรฐานอาคารในโรงพยาบาลศิริราชสมัยนั้น กล่าวคือมีห้องพักผู้ป่วยเป็นห้อง
โถงยาวตลอดอาคาร หากเป็นห้องผู้ป่วยรวมก็ทะลุถึงกันหมด หากประสงค์จะจัดเป็นห้องพิเศษก็ใส่ฝาประจัน
ห้อง แบ่งโถงยาวนั้นออกเป็นส่วนๆ ชั้นล่างเป็นหอผู้ป่วยชาย ส่วนชั้นบนเป็นหอผู้ป่วยหญิง รวมทั้งสิ้น 52
เตียง แต่อาจเพิ่มเป็น 72 เตียงได้ในกรณีฉุกเฉิน มีเฉลียงทางเดินยาวตลอดอาคารด้านทิศใต้และทิศเหนือ
ที่สุดปลายอาคารด้านหนึ่งเป็นมุข มีบันไดหลัก ห้องท างานแพทย์ ห้องตรวจโรค ห้องนางพยาบาล และห้องน้ า
90