Page 51 - kpi20863
P. 51

การสอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในปีแรกลุล่วงไปด้วยดี  แต่การบริหารงานและการจัดการการเรียนการสอน

               นั้น  ยังไม่ตรงกับการเรียนของแผนกสถาปัตยกรรมนัก  มีเฉพาะบางวิชาที่สถาปัตยกรรมเรียนตรงกับ
               วิศวกรรม  บางวิชาก็ขัดแย้งกัน ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยจึงแยกแผนกสถาปัตยกรรมออกจากคณะ

               วิศวกรรมศาสตร์  ให้มีฐานะเป็น “แผนกอิสระ”  ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์

               มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2477   และแต่งตั้งพระเจริญวิศวกรรม คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นผู้
               รักษาการต าแหน่งหัวหน้าแผนกอิสระสถาปัตยกรรมศาสตร์อีกต าแหน่งหนึ่ง จนถึงปีพ.ศ. 2482  แผนก

               สถาปัตยกรรมได้วางหลักสูตรระดับปริญญาตรีขั้นปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต  ตามแบบอย่างที่

               ปฏิบัติกันในต่างประเทศ มหาวิทยาลัยจึงได้อนุมัติให้ยกฐานะจากแผนกอิสระขึ้นเป็น คณะสถาปัตยกรรม
               ศาสตร์   และแต่งตั้งพระยาประกิตกลศาสตร์ (รุณชิต กาญจนวนิชย์) เป็นคณบดีคนแรกของคณะ

               สถาปัตยกรรม ส่วนอาจารย์นารถ โพธิประสาท ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  ท่านกลับต้องย้าย

               ไปรับราชการในต าแหน่งช่างสถาปนิก หัวหน้ากองสถาปัตยกรรม กรมโยธาเทศบาล ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.
               2477   แต่ยังคงเป็นอาจารย์พิเศษในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตลอดมาจน พ.ศ.

               2494    จึงได้ย้ายมาเป็นอาจารย์ประจ าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   จนถึงแก่กรรม

               เมื่อ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2496
                       ข้อจ ากัดส าคัญประการหนึ่งเมื่อแรกตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น คือ

               อาจารย์ผู้สอน ซึ่งอาจารย์นารถ โพธิประสาทได้เชิญสถาปนิกที่ประกอบวิชาชีพในขณะนั้น ทั้งชาวไทยและ

               ชาวต่างชาติ มาร่วมกันสอนวิชาต่างๆ โดยมีอาจารย์ศิววงศ์ กุญชร ณ อยุธยา ซึ่งส าเร็จการศึกษาวิชา
               สถาปัตยกรรมศาสตร์จากสหรัฐอเมริกา เป็นอาจารย์ประจ า และมีศาสตราจารย์ลูเซียง คอปเป (Lucien

               Coppé) ชาวเบลเยียม ร่วมร่างหลักสูตร โดยมีนายเฟาสโต ปิสโตโน สอนวิชาออกแบบ (Architectural

               Design Studio) นายแอร์โกเล มันเฟรดี (Ercole Manfredi) สอนวิชาเขียนภาพคน (Life Class) ขณะที่
               ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี (Corrado Feroci) สอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ ร่วมกับสถาปนิกไทย เช่น หม่อม

               เจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร หลวงปริญญาโยควิบูลย์ (ชม รามโกมุท)  หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ และพระพรหม

               พิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) เป็นต้น  หลักสูตรและการเรียนการสอนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
               มหาวิทยาลัย ซึ่งได้สถาปนาขึ้นในช่วงปลายรัชกาลที่ 7 จึงมีความผสมผสานทั้งความเป็นตะวันออกและ

               ตะวันตก ทั้งหลักสูตรเอโกล เดส์ โบซาร์ต (Ecole des Beaux Arts) ของฝรั่งเศส หลักสูตรสถาปัตยกรรม

               ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ตลอดจนแนวทางการจัดการการเรียนการสอน ประเพณีการรับน้องและ
               กิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา

                       ในพ.ศ. 2476 พร้อมๆ กับการตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รัฐบาลใน

               ขณะนั้นได้จัดตั้ง โรงเรียนช่างก่อสร้าง ขึ้นตามด าริของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
               โดยแยกจากแผนกช่างก่อสร้าง โรงเรียนเพาะช่าง ให้เป็นที่ฝึกหัดวิชาช่างก่อสร้างที่มีคุณภาพ ควบคู่ไปกับการ

               ตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมุ่งผลิตสถาปนิกวิชาชีพ ให้มีมาตรฐานควบคู่กันไป





                                                            67
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56