Page 57 - kpi20863
P. 57

แล้วเสร็จในพ.ศ. 2469 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยที่นายซิดนีย์ วอเตอร์โลว์

               (Sydney Waterlow) อัครราชทูต ได้ย้ายเข้าพักในท าเนียบในเดือนกันยายน ปีนั้น (ภาพที่ 4-05 และ 4-06)
                       ผังบริเวณของสถานเอกอัครราชทูตที่ถนนเพลินจิตมีถนนเส้นหลักเป็นแกนกลาง ตัดตรงจากประตู

               ทางเข้าด้านทิศใต้ คือด้านถนนเพลินจิต ตรงไปยังถนนวงกลมและอาคารท าเนียบอัครราชทูต ซึ่งตั้งอยู่ทางตอน

               เหนือของที่ดิน สองข้างถนนนี้มีอาคารเรียงรายกันอยู่สี่หลัง วางตัวแบบสมมาตร ประกอบด้วยส านักงาน
               บ้านพักกงสุลใหญ่ บ้านพักรองกงสุล และบ้านพักนักเรียนล่าม  อาคารเหล่านี้เป็นตึกสูงสองชั้น มีผังคล้าย

               บังกะโล แต่มีการใช้งานอาคารในชั้นล่าง ชั้นบนมีระเบียงรอบ หรือบางส่วน  อาคารทุกหลังมีผังรูปสี่เหลี่ยม

               ยาว วางด้านยาวรับลมประจ าฤดู และหันด้านแคบไปสู่ด้านตะวันออกและตะวันตก เพื่อลดการน าความร้อน
               เข้าสู่อาคาร  รูปแบบสถาปัตยกรรมเรียบง่ายแต่สง่างาม โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ตกแต่งด้วย

               องค์ประกอบสถาปัตยกรรมคลาสสิคที่ลดทอนลง อาคารท าเนียบอัครราชทูตมีการตกแต่งมากกว่าหลังอื่น ตัว

               อาคารออกแบบเป็นสามมุข มุขกลางเป็นมุขที่เทียบรถและโถงบันได ตกแต่งด้วยจั่วเปิด (open pediment)
               และซุ้มโค้ง (arch) ภายในจั่วประดับด้วยตราสัญลักษณ์ของสหราชอาณาจักร  อาคารด้านนอกออกแบบให้

               สอดคล้องกับสภาพอากาศร้อนชื้นของกรุงเทพฯ


                       4.1.5  บริษัทสยามอาคีเต๊กซ์ อิมปอร์ต

                       ส านักงานบริษัทสยามอาคีเต๊กซ์ อิมปอร์ต (Siam Architects Import)  ตั้งอยู่ที่ถนนอัษฎางค์ เชิง

               สะพานมอญ (ภาพที่ 4-07 และ 4-08) ออกแบบขึ้นในราวเดือนตุลาคม พ.ศ. 2470 ลักษณะเป็นอาคารสูงสอง
               ชั้น ยาวห้าห้อง วางขนานไปตามถนนอัษฎางค์ ชั้นล่างเป็นห้องแสดงสินค้า อันได้แก่สุราต่างประเทศ และ

               รถยนต์ ท าช่องหน้าต่างกระจกกว้างเกือบเต็มคูหา มีทางเข้าที่ห้องกลาง  ชั้นบนเป็นส านักงานสถาปนิก เป็น

               ห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ด้านหน้ายื่นเลยมาเหนือทางเท้าและทางเข้าอาคารชั้นล่าง  ตอนล่างติดตั้งป้ายชื่อ
               กิจการ “Siam Architects Import.  Builders Merchants Engineers Contractors”

                       อาคารส านักงานบริษัทสยามอาคีเต๊กซ์ อิมปอร์ตมุงหลังคาปั้นหยาผสมจั่วขนาดใหญ่ มีโครงสร้างเป็น

               โครงถักไม้ มุงกระเบื้องซิเมนต์ ที่ห้องปลายตึกทั้งสองข้างท ามุขเป็นจั่วขวาง  ด้านหลังท ามุขคล้ายกันแต่มี
               ขนาดเล็กกว่า มุขหลังด้านหนึ่งเป็นห้องน้ าและบันได อีกด้านหนึ่งที่ชั้นสองมีทางเชื่อมไปยังอาคารข้างเคียง ชั้น

               ล่างด้านหลังท าช่องประตูขนาดใหญ่ เพื่อให้ขนสินค้าเข้าออกได้สะดวก มีบานประตูไม้เลื่อนปิด  ส านักงาน

               บริษัทสยามอาคีเต๊กซ์ อิมปอร์ตมีโครงสร้างหลักเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐฉาบปูน แต่ที่ชั้นบนตกแต่ง
               พื้นผิวภายนอกด้วยไม้ ให้ดูเป็นโครงสร้างครึ่งไม้ครึ่งปูน (half-timber) เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมทิวดอร์

               (Tudor architecture) ที่มีลักษณะเด่นในผืนหลังคาขนาดใหญ่ ชายคายื่นยาว เหมาะกับสภาพภูมิอากาศเขต

               ร้อนชื้น ทั้งยังอ านวยให้มีการตกแต่งประดับประดาด้วยลวดลายไม้ฉลุอย่างประณีตในบางส่วน







                                                            86
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62