Page 59 - kpi20863
P. 59

วิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2472) และโรงเรียนราชินีบน (พ.ศ. 2472) เป็นต้น  ส่วน

               ตัวอย่างอาคารอีกประเภทหนึ่ง คืออาคารอุตสาหกรรม ก็ได้แก่ที่ท าการพัสดุ กรมรถไฟหลวง (พ.ศ. 2471) โรง
               ซ่อมรถจักรและหม้อน้ า มักกะสัน (พ.ศ. 2472)  และโรงกรองน้ า ประปาสถานสามเสน (พ.ศ. 2473) ทั้งสาม

               หลังเป็นอาคารขนาดใหญ่ เทคนิควิทยาการก่อสร้างทันสมัย สะท้อนถึงความพยายามของรัฐในการพัฒนา

               สาธารณูปการพื้นฐาน คือการคมนาคมและการสุขาภิบาล ซึ่งยังปรากฏในการสร้างตลาดสมัยใหม่ คือตลาด
               บ าเพ็ญบุญ (พ.ศ. 2471) และตลาดฉัตรไชย (พ.ศ. 2473)

                       อาคารที่น่าสนใจอีกกลุ่มหนึ่ง คืออาคารที่สร้างขึ้นในพื้นที่ที่เป็นโบราณสถาน โดยปรับใช้โครงสร้าง

               สมัยใหม่ ได้แก่ พระต าหนักทรงพรตและหอสหจร วัดบวรนิเวศวิหาร (พ.ศ. 2472) และโรงราชรถ
               พิพิธภัณฑสถาน (พ.ศ. 2472)  ส่วนอาคารพักอาศัย ตัวอย่างที่ส าคัญคือที่ประทับของพระมหากษัตริย์และ

               เจ้านาย ได้แก่ พระต าหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล (พ.ศ. 2472)  และวังรัตนาภา (พ.ศ. 2472)


                       4.2.1 พระต าหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล

                       พระต าหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล คือที่ประทับของรัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้าร าไพพรรณี

               พระบรมราชินี ที่ต าบลหัวหิน ซึ่งเป็นสถานพักตากอากาศของผู้ดีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 6 แล้ว โดยเฉพาะตั้งแต่ปี
               พ.ศ. 2454 เมื่อรถไฟสายใต้เปิดเดินรถจากสถานีบางกอกน้อยไปถึงสถานีหัวหิน  อย่างไรก็ดี ในเดือน

               พฤษภาคม พ.ศ. 2469 รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ผู้อ านวยการศิลปากร

                                                                         9
               สถาน ราชบัณฑิตยสภา ไปส ารวจ “กะการสร้างวังใหม่ที่ต าบลหัวหิน”  ใช้เงินพระคลังข้างที่จัดซื้อที่ดินจาก
               เจ้าของที่ดินที่เหมาะสมเพิ่มเติมตลอดรัชกาลจนเป็นที่ดินประมาณ 106 ไร่ โดยโปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า สวน

               ไกลกังวล จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ออกแบบพระต าหนักและ ต าหนัก เช่น พระ

               ต าหนักเปี่ยมสุข พระต าหนักปลุกเกษม ต าหนักเอิบเปรม ต าหนักเอมปรีดิ์ และพระต าหนักน้อย ตลอดจน
               อาคารบริวารต่างๆ อีกมาก

                       พระต าหนักเปี่ยมสุข (ภาพที่ 4-10 ถึง 4-16) เป็นอาคารสูงสามชั้น มีผังแบบอสมมาตร มีทางเข้าหลัก

               สองทาง คือทางเข้าจากที่เทียบรถพระที่นั่งด้านทิศเหนือ และทางเข้าจากชายหาดทางทิศตะวันออก บริเวณ
               ทางเข้าด้านทิศเหนือท าเป็นหอคอยสูง ภายในมีอัฒจันทร์บันไดทางเสด็จ แต่ละชั้นมีห้องส าคัญๆ เพียงสอง

               หรือสามห้อง รายล้อมด้วยระเบียง เปิดรับทัศนียภาพและอากาศบริสุทธิ์ทุกทิศทุกทาง ชั้นที่ 1 มีสระสรง

               ภายในอาคาร ห้องแต่งพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และห้องแต่งพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ ส่วน
               ด้านทิศเหนือมีห้องข้าราชบริพาร และห้องเก็บของ  ชั้นที่ 2 มีห้องเสวยและห้องทรงบิลเลียด มีเฉลียงรอบด้าน

               ทางทิศเหนือมีห้องพักราชองครักษ์และห้องเตรียมเครื่อง  ส่วนชั้นที่ 3 เป็นห้องพระบรรทมและห้องสรงของ

               พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ แยกเป็นสองชุด (suite) เชื่อมกันทางห้องแต่งพระองค์
               (dressing room)  ทางทิศเหนือมีห้องเก็บพระภูษาและเครื่องส าหรับพระแท่นบรรจถรณ์

                       พระต าหนักเปี่ยมสุขมีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบประวัติศาสตร์นิยมแบบโรแมนติค (Romanticism)

               ผสมกับการตกแต่งภายในแบบอาร์ต เดโค (Art Deco) ตามสมัยนิยม  รูปทรงอาคารภายนอกมีรูปแบบ


                                                            88
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64