Page 52 - kpi20863
P. 52
ในพ.ศ. 2477 กระทรวงธรรมการจึงให้โรงเรียนช่างก่อสร้างนี้มาตั้งอยู่ในที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่
ริมถนนพญาไท เชิงสะพานอุเทนถวาย จึงเรียกชื่อว่า โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย สืบมา
3.7 สรุป
ช่วงรัชกาลที่ 7 แม้จะนานเพียงเก้าปี แต่ก็เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ส าคัญ เมื่อรัฐบาลสยามยุติการ
ว่าจ้างช่างฝรั่ง ทั้งสถาปนิกและวิศวกร ทดแทนโดยสถาปนิกและวิศวกรชาวสยาม ซึ่งได้รับการศึกษาในทวีป
ยุโรป มีความรู้ความสามารถทัดเทียมกับช่างฝรั่ง หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร พระสาโรชรัตนนิมมานก์
อาจารย์นารถ โพธิประสาท ท างานร่วมกับช่างฝรั่งรุ่นสุดท้าย เช่น นายชาลส์ เบเกอแลง นายเอมิลิโอ ฟอร์โน
นายอันนิบาเล ริก็อตติ และนายเอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ ในขณะเดียวกันก็ได้ท างานร่วมกับช่างไทยแบบจารีต เช่น
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระพรหมพิจิตร หลวงวิศาลศิลปกรรม เป็นต้น “สถาปนิก
สยาม” รุ่นบุกเบิกนี้มีบทบาทอย่างมากในการสถาปนาสมาคมวิชาชีพ วารสาร ตลอดจนสถาบันการศึกษา เพื่อ
สร้างมาตรฐานการประกอบวิชาชีพสถาปนิก และประชาสัมพันธ์ให้วิชาชีพเป็นที่รู้จักของมหาชน กระบวนการ
สร้างวิชาชีพ (professionalization) นี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าสู่สมัยใหม่ของสังคมสยามในรัชกาล
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีผลอย่างยิ่งต่อก าเนิดของวิชาชีพสถาปนิกในสมัยต่อมา
68