Page 58 - kpi20863
P. 58

4.1.6  ต าหนักใหม่ วังสระปทุม

                       ต าหนักใหม่ วังสระปทุม (ภาพที่ 4-09) เป็นอาคารที่สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลา
               นครินทร์โปรดให้สร้างขึ้นในพ.ศ. 2469 เพื่อเป็นที่ประทับของพระองค์และครอบครัวในวังสระปทุม โดยในราว

               พ.ศ. 2466 ได้โปรดให้หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร นายช่างประจ ากรมศิลปากร กระทรวงวัง ออกแบบ

               ต าหนักที่ประทับหลังใหม่ ในบริเวณที่ดินวังสระปทุมด้านตะวันตก มีบริษัทยี. คลูเซอร์ (G. Cluzer Co.) เป็น
               ผู้รับเหมาก่อสร้าง  เริ่มต้นก่อสร้างในราวพ.ศ. 2468 และแล้วเสร็จในพ.ศ. 2469  ต าหนักใหม่ วังสระปทุมเป็น

               อาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก สูงสองชั้น มีห้องใต้หลังคาที่ชั้นสาม  อาคารมีผังรูปสี่เหลี่ยมยาว วางตาม

               แนวทิศตะวันออก–ตะวันตก รับลมประจ าฤดูเต็มที่ มีมุขที่เทียบรถยนต์พระที่นั่งทางทิศตะวันออก  บันไดหลัก
               และบันไดรองทางทิศเหนือ มีระเบียงทางเดินยาวตลอดองค์พระต าหนัก เชื่อมโยงห้องต่างๆ ได้แก่ ห้องรับแขก

               ห้องประทับทรงสบาย ห้องเสวย ห้องทรงพระอักษร ห้องบรรทม และห้องสรง เป็นต้น  ห้องโถงและบันได

               หลักปูหินอ่อน ส่วนห้องต่างๆ ปูพื้นไม้สัก โครงสร้างหลังคาเป็นโครงถัก (truss) ไม้สัก มุงกระเบื้องใยหิน
               (Asbestos roofing tiles) สีเทาเข้มอย่างหินชนวน บานพระทวารและพระบัญชรไม้สักเรียบๆ ตอนบนมีช่อง

               แสงกรุกระจกพิมพ์ลาย

                       ต าหนักใหม่ วังสระปทุมมีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบอาร์ต เดโค (Art Deco) มีลักษณะเด่นที่การเน้น
               ส่วนส าคัญของอาคารชั้นล่างด้วยซุ้มโค้งเรียบๆ ไม่ตกแต่งลวดบัวอย่างซุ้มโค้งในสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิค

               ส่วนชั้นบนใช้ช่องเปิดรูปสี่เหลี่ยมเรียบๆ สะท้อนถึงแนวพระด าริเรื่องความประหยัดและการสนองตอบ

               ประโยชน์ใช้สอย  สถาปนิกเน้นให้ส่วนบันไดทั้งสองแห่งยื่นออกมาจากตัวอาคารพระต าหนัก ท าให้เกิดจังหวะ
               ของรูปทรงที่น่าสนใจ ใช้เส้นตั้งประกอบกับจังหวะของหน้าต่างที่เป็นขั้นบันไดสร้างความน่าสนใจในรูปทรง

               อาคาร  นอกจากนี้ยังออกแบบหลังคาให้มีรายละเอียดหลากหลาย ทั้งหลังคาแบบจั่วปีกนก (hip-and-gable

               roof) จั่วหัวตัด (clipped-gable roof) หน้าต่างเล็กบนผืนหลังคา (shed dormer) และการทิ้งชายคาไม่
               เท่ากัน ท าให้เกิดความสมดุลแบบอสมมาตร (asymmetrical balance) ในรูปทรงอาคาร อันเป็นลักษณะ

               เดียวกับรูปแบบสถาปัตยกรรมพระต าหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อันเป็นผลงานของหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ใน

               ระยะต่อมา
                         8


               4.2 สถาปัตยกรรมในช่วงกลางรัชกาล (พ.ศ. 2471 – 2473)

                       ในเวลาสามปีของช่วงกลางรัชกาลที่ 7 มีงานก่อสร้างเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะอยู่ในช่วงสภาวะ
               เศรษฐกิจตกทั่วโลก แต่ในสยามก็มีโครงการก่อสร้างอาคารที่เกี่ยวกับการสาธารณูปโภค สาธารณูปการพื้นฐาน

               ตามความจ าเป็นของสังคมเมืองสมัยใหม่ และตอบสนองต่อการขยายตัวของเมืองและประชากรในเมือง  ดัง

               ปรากฏในโครงการก่อสร้างอาคารจ านวนมากที่ศิริราชพยาบาล ได้แก่ ตึกอ านวยการ ตึกกายวิภาควิทยาและ
               สรีรวิทยา ตึกอัษฎางค์ (พ.ศ. 2471) ตึกตรีเพ็ชร์ และตึกจุฑาธุช (พ.ศ. 2472) ตลอดจนแบบร่างโรงพยาบาล

               กลาง (พ.ศ. 2472) ซึ่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังมีการสร้างสุขุมาลอนามัย (พ.ศ.

               2471) อีกด้วย  นอกจากนี้ยังมีอาคารเพื่อการศึกษา ได้แก่ โรงเรียนสุขุมาลธัมมุทิศ (พ.ศ. 2472) ตึก


                                                            87
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63