Page 62 - kpi20863
P. 62
ห้องส้วม ปลายอีกด้านหนึ่งมีบันไดรอง และห้องน้ าห้องส้วมอีกชุดหนึ่ง สถาปัตยกรรมตึกอัษฎางค์เน้นความ
โปร่งโล่ง ถูกสุขอนามัย ก่อสร้างด้วยวัสดุสมัยใหม่ เช่น กระเบื้องหินขัด กระเบื้องเคลือบผนัง เป็นต้น โดยที่
เกือบไม่มีเครื่องตกแต่งสถาปัตยกรรมเลย ด้วยเน้นความประหยัดและประสิทธิภาพในการใช้งาน เริ่มก่อสร้าง
15
ในพ.ศ. 2469 แล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2471 โดยรัชกาลที่ 7 เสด็จฯ ทรงเปิดอาคารในวันที่ 14
พฤศจิกายน พ.ศ. 2471
4.2.6 ตึกตรีเพ็ชร์ ตึกจุฑาธุช ศิริราชพยาบาล
ตึกตรีเพ็ชร์ ตึกจุฑาธุช ศิริราชพยาบาล (ภาพที่ 4-21 และ 4-22) เป็นหอพักผู้ป่วยในแผนกนรีเวชชกร
รมและสูติกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นสาธารณกุศลถวายสมเด็จ
พระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตมธ ารง และสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ
อินทราไชย สิ้นพระราชทรัพย์ 180,000 บาท เริ่มก่อสร้างในพ.ศ. 2470 มีองค์ประกอบอาคารตามค ากราบ
16
บังคมทูลของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ในพระราชพิธีเปิดอาคาร ว่า
“ชั้นล่างของตึกทั้งสองหลังจัดใช้ส าหรับพยาบาลไข้ทางนรีเวชชกรรม มีห้องคนไข้ขนาดใหญ่ 5 ห้อง ขนาดเล็ก
6 ห้อง และยังมีห้องแพทย์ ห้องนางพยาบาล และห้องท าการสอนอีก ชั้นบนของตึกทั้งสองหลัง จัดใช้ส าหรับ
พยาบาลไข้ทางสูติกรรม มีห้องคนไข้ขนาดใหญ่ 3 ห้อง ห้องคลอดบุตรขนาดใหญ่ 1 ห้อง ห้องทารกขนาดใหญ่
17
2 ห้อง ห้องคนไข้ขนาดเล็ก 6 ห้อง และยังมีห้องแพทย์และห้องนางพยาบาลอีกพร้อมเสร็จ” ตึกสองหลังนี้
ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของบริเวณศิริราชพยาบาล โดยมีทางเดินเชื่อมระหว่างกันทั้งชั้นล่างและชั้นบน ก่อสร้างแล้ว
เสร็จในพ.ศ. 2472 รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระบรมราชินีเสด็จพระราชด าเนินทรงเปิดอาคารทั้งสองหลังใน
18
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2472 ตึกตรีเพ็ชร์ ตึกจุฑาธุช ศิริราชพยาบาลมีผังเรียบง่าย วางห้องเรียงตัวเป็น
แถวยาวเพื่อรับลม มีบันไดเพียงต าแหน่งเดียวที่กลางอาคาร ต่อเนื่องกับทางเชื่อมอาคารทั้งสองหลัง สถาปนิก
วางห้องน้ าห้องส้วมเป็นอาคารเล็กๆ แยกตัวออกมาจากอาคารหลังใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศใต้เพื่อให้ระบายอากาศ
ได้ดี
4.2.7 โรงพยาบาลกลาง
โรงพยาบาลกลาง แต่เดิมเป็นโรงพยาบาลพลตระเวน (Police Hospital) ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ช่วงปลาย
รัชกาลที่ 5 ในพ.ศ. 2443 ถึงรัชกาลที่ 7 อาคารสถานที่เดิมเป็นไม้เสื่อมสภาพไปมาก ทั้งผู้ป่วยในพระนครก็
ทวีจ านวนมากขึ้นตามล าดับ ในพ.ศ. 2472 สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตจึง
กราบบังคมทูลเสนอให้สร้างโรงพยาบาลใหม่ “โดยเหตุที่โรงพยาบาลนี้ตั้งอยู่ในย่านกลางพระนคร เป็นที่นิยม
ของประชาชนอยู่ทั่วไปแล้ว เมื่อจะสร้างใหม่ก็ควรสร้างเป็นตึกเฟโรคอนกรีตตามแบบสมัยปัจจุบันให้สมกับ
ลักษณะโรงพยาบาลที่ดีเสียทีเดียว” ทั้งนี้ได้โปรดให้นายชาลส์ เบเกอแลง (Charles A. Béguelin) สถาปนิก
กรมช่างนคราทร ออกแบบร่างอาคาร (ภาพที่ 4-23 ถึง 4-22) เป็นกลุ่มอาคารสูงสามชั้นรวม 4 หลัง มีทางเดิน
เชื่อมถึงกันและล้อมลานโล่งตรงกลาง มีโรงครัวและโรงซักฟอกเป็นตึกชั้นเดียวแยกไปด้านหลัง กลุ่มอาคาร
91