Page 63 - kpi20863
P. 63
สามหลังนี้มีผังแบบอสมมาตร ตามรูปทรงที่ดินที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู และตามประโยชน์ใช้สอยของ
โรงพยาบาล โดยอาคารด้านทิศเหนือ (ด้านถนนหลวง) ชั้นล่างเป็นส่วนอ านวยการโรงพยาบาล ชั้นที่สองและ
สามเป็นห้องพักแพทย์และพยาบาล อาคารด้านทิศตะวันออก (ด้านถนนเสือป่า) ชั้นล่างเป็นแผนกผู้ป่วยนอก
และแผนกฉุกเฉิน ชั้นที่สองและสามเป็นหอพักผู้ป่วย อาคารด้านทิศใต้และทิศตะวันตกเป็นหอพักผู้ป่วยทั้ง
สามชั้น รวมเป็นโรงพยาบาล 193 เตียง ซึ่งมี “ทรวดทรงส าหรับอาคารแบบสมัยปัจจุบันอย่างเกลี้ยงเกลา ซึ่ง
เหมาะเป็นโรงพยาบาลในที่ประชุมชน ลักษณะของแผนผังภายในได้กะเพื่อสะดวกแก่การเดิรไปมา ทั้งมีลิฟต์
ส าหรับผู้คนและส่งอาหารขึ้นลงนอกจากบันไดด้วย” นอกจากนี้นายเบเกอแลงยังคิดให้สามารถสร้างอาคารได้
เป็นช่วง (phase) ตามปีงบประมาณ ซึ่งถ้าเป็นไปตามแผนจะเริ่มก่อสร้างในพ.ศ. 2473 และแล้วเสร็จสมบูรณ์
ในพ.ศ. 2477 อย่างไรก็ดี โรงพยาบาลซึ่งสร้างด้วย “เฟโรคอนกรีต” อันทันสมัยนี้ก็มีงบประมาณที่สูงถึง
515,870 บาท ท าให้สภาการคลังระงับโครงการนี้ไปในพ.ศ. 2472 นั้นเอง
อย่างไรก็ดี แบบร่างของนายเบเกอแลงแสดงให้เห็นถึงแนวทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่อย่างชัดเจน ทั้ง
รูปทรงอาคารที่เรียบเกลี้ยง สะท้อนหน้าที่ใช้สอยภายใน การท าหลังคาตัด (flat roof) และกันสาดคอนกรีต
เสริมเหล็กรอบอาคาร ท าให้เกิดเส้นนอนที่เป็นจังหวะสม่ าเสมอ ตัดกับจังหวะไม่สม่ าเสมอของช่องเปิดหน้าต่าง
ในอาคารชั้นต่างๆ ที่ก าหนดต าแหน่งตามหน้าที่ใช้สอย
4.2.8 พระต าหนักทรงพรตและหอสหจร วัดบวรนิเวศวิหาร
พระต าหนักทรงพรต วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นต าหนักที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อเป็นที่ประทับ
ของพระมหากษัตริย์และเจ้าฟ้าทุกพระองค์ที่มาทรงผนวช ณ วัดนี้ ส่วนหอสหจรเป็นที่อยู่ของพระภิกษุที่จ า
พรรษาโดยเสด็จในการทรงผนวช (ภาพที่ 4-27 และ 4-28) อาคารสองหลังนี้ตั้งอยู่ที่คณะต าหนัก ทางทิศใต้
ของพระปั้นหย่า ต่อมาในรัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และดัดแปลงอาคารใหม่ทั้งสองหลัง เพื่อทรง
อุทิศส่วนพระราชกุศลถวายรัชกาลที่ 4 และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระ
ราชอุปัธยาจารย์ เป็นอาคารขนาดใหญ่ มีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สูงสองชั้น มีใต้ถุน มุงหลังคาปั้นหยา วางอาคาร
ขนานกันโอบล้อมลานตรงกลาง มีระเบียงยาวเกือบตลอดความยาวอาคารในด้านลานกลางนั้น มีบันไดทางขึ้น
ชั้นสองที่ปลายระเบียงทั้งสองด้าน ทั้งยังมีทางเชื่อมระหว่างอาคารที่ชั้นบน โอบล้อมลานกลางทางด้านทิศใต้
อีกด้วย ลักษณะเด่นของพระต าหนักทรงพรตและหอสหจร คือการใช้โครงสร้างคอนกรีตโปร่งเบาในส่วน
ระเบียงด้านหน้าอาคาร ราวกันตก ราวบันได และทางเชื่อม ลบมุมเสาและคาน ตลอดจนประดับบัวส่วนฐาน
เสาให้ดูประณีตทว่าเรียบง่าย สมกับการเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในการทรง
ผนวช
เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ รัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชด าเนินในการฉลองพระต าหนัก และทรงหล่อ
พระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.
2472
19
92