Page 69 - kpi20863
P. 69
ก่ออิฐไม่ฉาบปูน มีขนาดส่วนอาคารที่สูงใหญ่ สื่อถึงศักยภาพและความทันสมัยของการซ่อมบ ารุง การผลิตรถ
โดยสารของกรมรถไฟหลวงแห่งกรุงสยามในรัชกาลที่ 7
4.2.18 ที่ท าการพัสดุ กรมรถไฟหลวง
ที่ท าการพัสดุ กรมรถไฟหลวง ตั้งอยู่บริเวณสถานีรถไฟกรุงเทพฯ ด้านทิศเหนือ คือที่เชิงสะพาน
กษัตริย์ศึก เป็นที่ท าการพัสดุ ตรวจสอบ เก็บ และท าบัญชีสินค้าที่ขนส่งมาทางรถไฟ และพัสดุต่างๆ ของกรม
รถไฟหลวงเอง (ภาพที่ 4-47 และ 4-48) อาคารมีผังรูปตัวยู (U) ด้านตะวันตกคือด้านคลองผดุงกรุงเกษมเป็น
อาคารสูงสามชั้น สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2471 ขนาดกว้าง 11.40 เมตร ยาว 101.50 เมตร ชั้นล่างตรงกลางมีช่อง
ให้รถบรรทุกแล่นผ่านได้ และมีโถงบันไดขึ้นไปยังชั้นบนของอาคาร อาคารสามชั้นนี้มีโครงสร้างคอนกรีตเสริม
เหล็ก ชั้นที่สองและสามเป็นเฉลียงทางเดิน ยาวตลอดความยาวอาคาร หลังคาปั้นหยา ที่ปลายอาคารทางทิศ
เหนือและทิศใต้มีอาคารคลังพัสดุด้านละหนึ่งหลัง เป็นอาคารสูงสองชั้น โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคา
คอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นหลังคาแบน (flat roof) ขนาดกว้าง 22.80 เมตร ยาว 61.50 เมตร ภายในมี
โครงสร้างเสาเป็นตาตะราง (grid) ระยะพิกัด 5.60 เมตร ภายในมีระบบรอกไฟฟ้าวิ่งบนรางที่แขวนจากท้อง
พื้นชั้นบน วนเป็นวงรีคร่อมแนวช่วงเสา โครงสร้างพื้นในช่วงนี้จึงเป็นพื้นไร้คาน ขณะที่พื้นอาคารส่วนอื่นเป็น
ระบบพื้นมีคาน โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ท าหูช้างที่มุมเสา ผนังอาคารภายนอกแสดงโครงสร้างเสาคาน
ภายใน ระหว่างช่วงเสามีหน้าต่างขนาดใหญ่ ติดหน้าต่างเหล็กม้วน ตอนบนมีหน้าต่างช่องแสง ส่วนช่องแสงมี
คานทับหลังคอนกรีตเสริมเหล็กรองรับ ผนังส่วนที่เหลือกรุด้วยอิฐก่อไม่ฉาบผิว แสดงสัจจะของโครงสร้างและ
วัสดุอย่างชัดเจน
4.2.19 สถานีต ารวจนครบาลสามแยก
สถานีต ารวจนครบาลสามแยกตั้งอยู่ที่แยกถนนเจริญกรุงตัดกับถนนพระรามที่ 4 เป็นสถานีต ารวจที่มี
มาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ครอบคลุมพื้นที่ย่านถนนเยาวราช ตลาดน้อย หัวล าโพง ซึ่งเป็นย่านพาณิชยกรรมส าคัญ
และที่ดินมีราคาสูง ถึงรัชกาลที่ 7 อาคารโรงพักเดิมซึ่งเป็นเรือนไม้สองชั้น มีที่ท าการต ารวจ ห้องเจ้าพนักงาน
ชั้นผู้ใหญ่ ห้องขังนักโทษ และที่พักพลต ารวจ ฯลฯ ซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มีสภาพทรุดโทรม ในพ.ศ.
2472 กรมต ารวจนครบาลจึงด าริสร้างอาคารสถานีต ารวจนครบาลสามแยกขึ้นใหม่ในที่ตั้งเดิม (ภาพที่ 4-49
ถึง 4-51) ให้บริษัทซีกิมฮะ ของนายกร จาตุรจินดา ออกแบบเป็นอาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก สูงสาม
ชั้น ออกแบบเป็นส่วนสถานีต ารวจและที่พักต ารวจ มีผังรูปตัววี (V) ตามรูปทรงที่ดินที่เป็นสามเหลี่ยมชายธง
โอบล้อมตึกห้องขังนักโทษ ซึ่งมีผังรูปตัวแอล (L) และวางตัวหลบอยู่ทางด้านหลัง ส าหรับส่วนแรกชั้นล่างเป็น
ที่ท าการต ารวจและห้องเจ้าพนักงาน ชั้นที่สองมีห้องประชุมต ารวจ ที่พักพลต ารวจประจ าการ 148 คน แบบ
ห้องรวม ที่พักนายสิบกับนายพลต ารวจที่มีครอบครัว ส่วนชั้นที่สามเป็นที่พักนายต ารวจ จัดเป็นห้องชุดอย่าง
ทันสมัย สถานีต ารวจนครบาลสามแยกมีลักษณะเด่นที่การใช้คอนกรีตเสริมเหล็กทั่วทั้งอาคาร หลังคาแบน
(flat roof) คอนกรีตเสริมเหล็ก มีกันสาดคอนกรีตเสริมเหล็กรอบอาคาร
98