Page 71 - kpi20863
P. 71

150,000 บาท และมีการต่อเติมอาคารที่ชั้นสอง เพื่อเป็นโรงละครวิกตลาดบ าเพ็ญบุญ งบประมาณค่าก่อสร้าง

                          31
               80,000 บาท   ก่อสร้างแล้วเสร็จและมีพิธีเปิดตลาดในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2471 โดยมีสมเด็จพระเจ้าพี่
                                                             32
               ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตเป็นประธาน


                       4.2.22 ตลาดฉัตรไชย
                       ตลาดฉัตรไชย เป็นตลาดส าหรับชุมชนต าบลหัวหิน ใกล้สถานีรถไฟและวัดหัวหิน สันนิษฐานว่าแต่เดิม

               เป็นโรงตลาดไม้ สร้างขึ้นราวพ.ศ. 2469 เมื่อรัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชด าเนินแปรพระราชฐานมาที่หัวหิน

               พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพาร ต่อมาในพ.ศ. 2473 พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระก าแพงเพชร
               อัครโยธิน สภานายกกรรมการสภาจัดการบ ารุงชายทะเลตะวันตก มีพระด าริสร้างตลาดขึ้นใหม่ (ภาพที่ 4-54)

               เป็นอาคารโถงชั้นเดียว โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหลัง ไม่ใช้ไม้เป็นวัสดุก่อสร้างเลยเพื่อป้องกันอัคคีภัย

               มีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีลักษณะเด่นคือโครงสร้างเสา คานรับกันสาด และโครงหลังคาโค้ง สร้างด้วยคอนกรีต
               เสริมเหล็กทั้งสิ้น ส่วนหลังคาด้านในเป็นโครงถัก (truss) เหล็ก ยกหลังคาตอนกลางให้สูงขึ้นเพื่อระบายอากาศ

               และรับแสงธรรมชาติเข้ามาด้านในอาคาร ด้วยระบบการก่อสร้างสมัยใหม่ การก่อสร้างตลาดฉัตรไชยจึงแล้ว

               เสร็จในเวลาเพียงสามเดือน โดยที่สภาจัดการบ ารุงชายทะเลตะวันตกประสงค์จะให้ตลาดนี้เป็นตลาดตัวอย่าง
                                                        33
               (model market) ส าหรับตลาดสดในสยามต่อไป  โดยที่ตลาดนี้เปิดใช้งานในช่วงกลางพ.ศ. 2473 นั้นเอง


               4.3 สถาปัตยกรรมในช่วงปลายรัชกาล (พ.ศ. 2474 – 2477)
                       ในช่วงปลายรัชกาล หมุดหมายส าคัญของรัชสมัยคือการฉลองพระนครครบ 150 ปีในพ.ศ. 2475 ก็มี

               ประจักษ์พยานในงานสถาปัตยกรรมที่ส าคัญ คือ ปฐมบรมราชานุสรณ์ (พ.ศ. 2475) และศาลาเฉลิมกรุง (พ.ศ.

               2476) ซึ่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ต่างกันอย่างชัดเจน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะปฐมบรมราชานุสรณ์เป็นงาน
               ประติมากรรมและการออกแบบพื้นที่เมือง (Civic Design) ขณะที่ศาลาเฉลิมกรุงมีประโยชน์ใช้สอยและงาน

               ระบบที่มีความ “สมัยใหม่” และซับซ้อนกว่า  สะท้อนถึงลักษณะทวิลักษณ์ (dualism) ของระบอบ

               สมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสยามในช่วงปลายรัชสมัย ซึ่งต้องฉายทั้งภาพลักษณ์ของความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
               แบบจารีต และความเป็นพระประมุขของรัฐสมัยใหม่ออกมาผ่านงานสถาปัตยกรรมในพื้นที่เมือง  ส าหรับ

               อาคารที่ส าคัญอื่นๆ มีหลายหลังที่มีลักษณะประวัติศาสตร์นิยม โดยที่มีการลดทอนให้ทันสมัยมากขึ้น ทว่า

               ยังคงลักษณะความเป็นไทยบางประการไว้ เช่น พระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ (พ.ศ. 2475) ตึกวชิรมงกุฎ
               วชิราวุธวิทยาลัย (พ.ศ. 2475) สยามสมาคม (พ.ศ. 2476) และตึกจักรพงษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ.

               2476) ทั้งนี้ในบางอาคารเหตุผลหลักน่าจะเป็นเพราะผู้ออกแบบต้องการสร้างความกลมกลืนกับบริบทซึ่งมี

               อาคารแบบไทยประเพณีอยู่มาแต่เดิม  ส่วนอาคารพักอาศัยของเจ้านายและผู้มีฐานะ ก็เริ่มเปลี่ยนเข้าสู่ความ
               เป็น “สมัยใหม่” ในรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบอาร์ต เดโคบ้าง แบบประวัติศาสตร์นิยมที่ลดทอนรายละเอียด

               บ้าง เช่น บ้านเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (พ.ศ. 2475)  วังวาริชเวสม์  (พ.ศ. 2476)  และต าหนักทิพย์ (พ.ศ.

               2477) เป็นต้น  อย่างไรก็ดี ในช่วงนี้เริ่มมีการก่อสร้างอาคารสาธารณะที่มีความ “ทันสมัย” มากยิ่งขึ้น แม้การ


                                                           100
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76