Page 68 - kpi20863
P. 68

พฤษภาคม ปีนั้น โดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา เสด็จแทนพระองค์สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้า

               ฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงเปิดแพรป้ายนามโรงเรียน


                       4.2.16 โรงกรองน  า ประปาสถานสามเสน

                       การจัดน้ าประปาส าหรับกรุงเทพฯ เป็นโครงการในพระราชด าริของรัชกาลที่ 5 มาตั้งแต่พ.ศ. 2452
               แล้ว ต่อมาในรัชกาลที่ 6 ในพ.ศ. 2457 ได้โปรดเกล้าฯ ให้กรมศุขาภิบาลสร้าง ประปาสถาน ขึ้นที่ริมคลองสาม

               เสนฝั่งเหนือ ต าบลบางซื่อ รับน้ าจืดจากคลองประปามากรองให้บริสุทธิ์ แล้วจ าหน่ายน้ าไปยังที่ต่างๆ ทั่วพระ

                   27
               นคร  ถึงรัชกาลที่ 7 ประปาสถานขยายก าลังการผลิตน้ าประปา โดยในพ.ศ. 2473 ได้จัดสร้างโรงกรองน้ าขึ้น
               ใหม่ (ภาพที่ 4-43 และ 4-44) อยู่เคียงกันกับโรงกรองน้ าหลังเดิมที่สร้างเสร็จเมื่อพ.ศ. 2456  โรงกรองน้ าหลัง

               ใหม่นี้เป็นอาคารชั้นเดียว มีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 17 เมตร ยาว 45 เมตร แบ่งความยาวเป็น 10 ช่วงเสา

               โดยมีถังกรองน้ าคอนกรีตเสริมเหล็กตั้งเรียงตามความยาวอาคารสองแถวๆ ละ 8 ถัง แต่ละถังตั้งอยู่ระหว่าง 1
               ช่วงเสา ส่วนช่วงเสาด้านหน้าสุดและด้านในสุดเป็นบันไดทางขึ้นไปยังทางเดินที่ชั้นบน ซึ่งอยู่ที่ระดับปากถัง

               กรองน้ า โครงสร้างเสาและคานคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนโถงทางเดินกลางมุงหลังคาจั่ว รองรับด้วยคานโค้งที่

               บางเบา ส่วนถังกรองน้ าสองข้างมุงหลังคาพาไล เว้นระยะระหว่างหลังคาจั่วกับพาไลเป็นช่องแสงที่คอสอง
               ด้านสกัดอาคารมีหน้าต่างใหญ่ ตรงกลางออกแบบเป็นซุ้มโค้ง ตกแต่งกันสาดและลวดบัวแบบคลาสสิคลดทอน

               เพียงเล็กน้อย


                       4.2.17 โรงซ่อมรถจักรและหม้อน  า มักกะสัน

                       โรงซ่อมรถจักรและหม้อน้ า (Erecting & Boiler Shop) เป็นส่วนหนึ่งของโรงงานรถไฟมักกะสัน อัน

               เป็นศูนย์กลางการซ่อมบ ารุงรถไฟและอุปกรณ์ประกอบในการเดินรถของกรมรถไฟหลวงแห่งกรุงสยามมาตั้งแต่
               รัชกาลที่ 6 แล้ว โดยมีอาคารโรงซ่อมรถขนาดใหญ่ โครงสร้างบางส่วนเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงหลังคาถัก

               เหล็ก (steel truss) ที่สร้างขึ้นในพ.ศ. 2465  ต่อมาในรัชกาลที่ 7 กรมรถไฟจึงสร้างโรงซ่อมใหม่เพื่อซ่อมรถ

               จักรและหม้อน้ า (ภาพที่ 4-45 และ 4-46) ลักษณะเป็นโรงงานขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางที่ดิน มีผังรูป
               สี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 32 เมตร ยาว 124.80 เมตร โถงกลางเป็นโครงสร้างช่วงกว้าง ช่วงพาด 20 เมตร

               ออกแบบพิเศษให้เป็นแนวเสาคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่ รองรับรถปั้นจั่นไฟฟ้าเหนือหัว (bridge crane) 5

               เครื่อง ซึ่งใช้ส าหรับในการซ่อมและประกอบตัวรถจักร หม้อน้ า และรถล าเลียง มีโครงถักคอนกรีตเสริมเหล็ก
               (reinforced concrete truss) ขนาดใหญ่วิ่งตามแนวเสาเพื่อรองรับน้ าหนักบรรทุกอันมหาศาลของรถปั้นจั่น

               สองข้างมีค้ ายัน (buttress) คอนกรีตเสริมเหล็ก ถ่ายแรงลงสู่ช่วงเสาด้านข้าง เหนือขึ้นไปเป็นโครงสร้างหลังคา

               เป็นโครงถักเหล็ก มุงสังกะสี  ท าหลังคาซ้อนด้านบนเพื่อระบายความร้อนภายในและเพื่อรับแสงสว่าง  อาคาร
               โรงซ่อมรถจักรและหม้อน้ านี้มีรูปลักษณ์ภายนอกที่แสดงถึงสัจจะของโครงสร้าง เสาและคานคอนกรีตเปลือย

               ไม่ตกแต่งปิดผิว ส่วนผนังที่มิได้รับแรง ระหว่างช่วงเสาและช่องว่างในโครงถักคอนกรีตเสริมเหล็ก ก็กรุด้วยผนัง





                                                            97
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73