Page 107 - kpi21595
P. 107

บทสัมภาษณ์ของนักเรียนพลเมืองอำเภอเมืองร้อยเอ็ดผู้หนึ่งสะท้อนให้เห็นมุมมองต่อโครงการ

               โรงเรียนพลในหลายมิติได้เป็นอย่างดี โดยเขากล่าวว่า “ที่เข้าร่วมเพราะชอบแนวคิดดี และเราก็ทำเรื่องแบบนี้
               อยู่แล้ว เป็นการถ่ายทอดความรู้เป็นวิทยาทาน แต่ถึงจะไม่เสียค่าเทอม แต่กิจกรรมส่วนมากเป็นการสร้างภาระ

               ให้กับนักเรียน คนก็เลยเป็นภาระในการเรียน ไม่มีงบประมาณให้เลย เสื้อนักเรียนก็ซื้อเอง ไปกิจกรรมทัศน

               ศึกษาเราก็รวมเงินหารกันเอาเอง ให้นักเรียนออกเงินกันเอง มีปัญหาเรื่องงบประมาณ เวลาเรียนก็เยอะกว่า
               วิทยากร ที่เจอก็มี ... คนเดิมๆ พลเมืองก็เลยลงไปไม่ถึงจิตใจ แต่คือมันก็สนุกสนานดี เป็นเครื่องช่วยให้เรารู้จัก

               เพื่อน รู้จักกันมีคนเด่นๆเกิดขึ้น มีนักพูดใหม่ๆ มีคนกล้าแสดงออกมากขึ้น อย่างโยธินก็กล้ามากขึ้น กล้าจับไมค์
               พ่อเสริมหมู่ 11 ก็กล้าพูดมากขึ้น ตอนนี้ผมอยากให้มีการพัฒนาศักยภาพต่อปี”

                       จากบทสัมภาษณ์ข้างต้นสะท้อนให้เห็น 2 เรื่อง เรื่องแรกคือปัญหาในการดำเนินโครงการโรงเรียน

               พลเมือง และเรื่องที่สองคือปัญหาการรับรู้โรงเรียนพลเมืองของแกนนำพลเมือง ซึ่งปัญหาทั้งสองจะมีผลอย่าง
               สำคัญต่อการ “ใช้” พื้นที่ของโรงเรียนพลเมืองให้เต็มประสิทธิภาพเพื่อพัฒนากิจกรรมสำหรับสร้างสำนึก

               พลเมือง ในส่วนของปัญหาในการดำเนินโครงการโรงเรียนพลเมืองนั้น จากบทสัมภาษณ์สะท้อนให้เห็นว่า
               ช่วงเวลาที่ยาวนานในการศึกษาเล่าเรียนอาจเป็นข้อจำกัดประการหนึ่งที่ทำให้นักเรียนพลเมืองเกิดความย่อท้อ

               และล่าถอยไปจากการเข้าร่วมกิจกรรม แม้จะกล่าวได้ว่าเรื่องระยะเวลาที่ยาวนานไม่น่าจะเป็นปัญหาทั้งหมดที่

               ขัดขวางต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียนพลเมืองอย่างต่อเนื่อง เพราะอาจมีปัจจัยอื่นประกอบด้วย อาทิ
               การทำงาน การป่วยไข้ หรือภาระทางบ้าน เป็นต้น กระนั้น ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านักเรียนพลเมืองส่วนใหญ่ล่าถอย

               ไปจากกิจกรรมนี้เพราะระยะเวลาที่ยาวนาน ทำให้จำนวนนักเรียนพลเมืองที่สำเร็จการศึกษามีจำนวนน้อยกว่า

               ผู้ที่สนใจศึกษาในโรงเรียนพลเมือง กล่าวคือ ในส่วนของโรงเรียนพลเมืองตำบลสะอาดสมบูรณ์ อำเภอเมือง
               ร้อยเอ็ดนั้น จากจำนวนผู้สมัครเรียน 30 คนนั้น มีผู้ที่มาเรียนอยู่สม่ำเสมอราว 20 คนเท่านั้น ขณะที่ โรงเรียน

               พลเมืองพนมไพรนั้น เริ่มแรกมีผู้สนใจสมัครเรียน 51 คน แต่สำเร็จการศึกษา 28 คน ด้านโรงเรียนพลเมือง
               เสลภูมินั้นเริ่มแรกมีผู้สนใจสมัครเรียน 52 คน แต่สำเร็จการศึกษาเพียง 32 คน เท่านั้น

                       อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบบทสัมภาษณ์ของนักเรียนพลเมืองจากอำเภอเมืองร้อยเอ็ดข้างต้นกับ

               นักเรียนพลเมืองอำเภออื่น กลับพบว่าเรื่องของเนื้อหาที่เรียนและระยะเวลานั้นอาจไม่ใช่ปัญหาหลักเสียทีเดียว
               ที่ทำให้นักเรียนพลเมืองมาเรียนไม่ต่อเนื่อง เพราะนักเรียนพลเมืองส่วนใหญ่มาเรียนเพราะชอบเนื้อหาของ

               โรงเรียนพลเมือง เช่น คุณเอ (นามสมมุติ) นักเรียนพลเมืองผู้หนึ่งจากโรงเรียนพลเมืองสะอาดสมบูรณ์กล่าวว่า
               “พอได้มาเรียนก็ติดใจ ไม่อยากขาด อะไรที่เราไม่รู้เราก็รู้ อะไรที่ เกี่ยวกับ พรบ.รถ เราไม่เคยรู้เลยเราก็ได้รู้

               เกี่ยวกับเรื่องที่ดินที่ว่าเสียสภาษีเท่าไหร่ เราก็ได้รู้” ด้านคุณบี (นามสมมุติ) นักเรียนพลเมืองอีกผู้หนึ่งจาก

               โรงเรียนพลเมืองแห่งเดียวกันก็กล่าวว่า “เหตุผลที่มาเรียนนั้นตอนที่มาเรียนนั้น มีคนที่เป็นดร. ใหญ่ๆ มีเกียรติ
               สูงๆ มาพูดเรื่องดีๆ เข้าหู ก็จูงใจให้มา ไม่อยากขาดแต่ว่าแม่จำไม่ได้หรอก” ด้านคุณซี นักเรียนพลเมือง

               อีกผู้หนึ่งจากโรงเรียนพลเมืองสะอาดสมบูรณ์เช่นเดียวกัน ก็กล่าวว่าการเรียนในโรงเรียนพลเมืองนั้นทำให้เขา

               ได้รู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อนซึ่งทำให้เขารู้สึกสนใจ “เรียนแล้วก็ดี ... ถ้าอยากจะรู้ กม. เกี่ยวกับรถชน รถพ่วง
               ต่างๆ แต่ก่อนไม่เคยรู้ พอดี อาจารย์มาอธิบายมาสอนก็อธิบายด้วย ที่มาเรียนเพราะความอยากรู้ เช่นว่ามา

               อาทิตย์นี้มาเรียนอาทิตย์หน้าอยากเรียนอะไรก็แล้วแต่นักเรียนจะเรียน  ชอบมาก” กรณีของนักเรียนพลเมือง


                                                                                                        96
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112