Page 106 - kpi21595
P. 106

นอกจากนั้น ในระยะที่ยังมีการเรียนการสอนนั้น หากนักเรียนพลเมืองสามารถรวมกลุ่มกันได้อย่าง

               แข็งขันก็จะทำให้เกิดองค์กรภาคประชาสังคมเกิดขึ้นในชุมชนอีกกลุ่มหนึ่งและเป็นกลุ่มที่มีความพิเศษแตกต่าง
               ไปจากการรวมกลุ่มทางด้านเศรษฐกิจซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในชุมชน เนื่องจากเป็นอีกหนึ่งกลุ่มจิตอาสาที่จะ

               เป็นหลักให้แก่ชุมชนในการทำกิจกรรมและแก้ไขปัญหาต่างๆในชุมชนร่วมกันได้ ช่วงระยะเวลาที่ยังมีการเรียน

               การสอนอยู่นี้จึงนับเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่นักเรียนพลเมืองจะร่วมกันผลักดันโครงการ/กิจกรรมเพื่แก้ไขปัญหา
               และพัฒนาชุมชน เนื่องจากเป็นโอกาสที่คนในชุมชนจะมาพบกันพูดคุยกันเกี่ยวกับความเป็นไปของชุมชน โดย

               มีวิทยากรจากหลายหน่วยงานที่ได้รับเชิญมาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ให้แก่พวกเขาสามารถ
               นำไปปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาในชุมชนของตนต่อไปได้ หากนักเรียนพลเมืองสามารถใช้โอกาสที่ได้พบเจอเพื่อน

               นักเรียนดังกล่าวร่วมกันคิดและทำโครงการต่างๆเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรมและ

               ต่อเนื่องก็มีแนวโน้มที่จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชนได้
                       ส่วนระยะที่สาม คือช่วงที่แกนนำพลเมืองได้จัดทำนวัตกรรม 1 ชิ้นในนามของโรงเรียนพลเมืองเพื่อ

               แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ ซึ่งช่วงนั้นคนในชุมชนจะมีโอกาสได้เข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมวางแผน และร่วม
               ดำเนินการอีกระยะหนึ่งอย่างเต็มที่ จึงนับเป็นอีกช่วงหนึ่งที่แกนนำพลเมืองจะสามารถใช้กิจกรรมต่างๆของ

               โรงเรียนพลเมืองเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมและสร้างความเป็นพลเมืองสู่คนในชุมชนได้

                       จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าโรงเรียนพลเมืองเป็นเครื่องมือหนึ่งที่โดยรูปแบบแล้วมีช่องทางในการสร้าง
               ความเป็นพลเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักทฤษฎี เนื่องจากเป็นการผสานหลักการถ่ายทอดความรู้

               ควบคู่กับการลงมือปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของโครงการโรงเรียนพลเมืองก็ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่

               นักเรียนพลเมืองและวิทยากรร่วมกันออกแบบด้วย หากมีการออกแบบให้นักเรียนได้นำเอาความรู้ที่เรียนในชั้น
               เรียนไปปรับใช้กับประเด็นปัญหาในชุมชนมาก ก็มีโอกาสที่โรงเรียนพลเมืองจะเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่สร้างการ

               พบปะแลกเปลี่ยนระหว่างนักเรียนพลเมืองและคนในชุมชนได้ แต่หากการใช้พื้นที่โรงเรียนพลเมืองยังเป็นไปใน
               แบบที่นักเรียนเรียนแล้วกลับบ้าน ไม่มีการส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมใดๆนอกเหนือไปจากนวัตกรรมของนักเรียน

               พลเมืองที่มีการกำหนดไว้ให้เป็นส่วนหนึ่งของการสำเร็จการศึกษาแล้วรูปแบบของโรงเรียนพลเมืองที่กำหนดไว้

               ก็จะถูกใช้ไปอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพตามหลักทฤษฎีที่ต้องการให้รร.พลเมืองเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยน
               เรียนรู้ร่วมกัน

                       ผลจากการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า อำเภอนำร่องเป้าหมายมีจำนวนโครงการที่ถูกผลักดันออกมาจาก
               โรงเรียนพลเมืองเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองแก่คนในพื้นที่อย่างจำกัด ขณะเดียวกันก็ไม่พบการรวมกลุ่มของ

               นักเรียนพลเมืองในการทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองที่ไปไกลเกินกว่าการร่วมกันบริจาคสิ่งของภาย

               หลังจากสำเร็จการศึกษาอย่างชัดเจนเหนียวแน่นและสร้างการจดจำให้แก่คนในชุมชน สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นได้
               ประการหนึ่งว่าแกนนำพลเมืองในอำเภอนำร่องทั้ง 3 แห่งได้แก่อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอพนมไพร และ

               อำเภอเสลภูมิ ยังไม่ได้ถูกใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โรงเรียนพลเมืองถูกใช้เป็นเพียง “โรงเรียน” แต่ยังไม่ได้

               เป็น “พื้นที่เปิด” สำหรับสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างสำนึกพลเมืองตระหนักรู้และพลเมือง
               กระตือรือร้นตามวัตถุประสงค์ของโรงเรียนพลเมืองได้อย่างแท้จริง





                                                                                                        95
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111