Page 130 - kpi21595
P. 130

กู้เงินเพื่อนำไปประกอบอาชีพด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 6 บาทต่อปี หรือกองทุนจากดอกเบี้ยเงินกู้ ดังที่ยาย

               แย้มเล่าให้ผู้วิจัยฟังว่าเป็นการนำดอกเบี้ยจากกองทุนหมู่บ้านมารวมขึ้นใหม่เป็น “กองทุนเงินฉุกเฉิน” ซึ่งจะ
               ปล่อยกู้ให้แก่ชาวบ้านในกรณีที่ประสบกับภัยพิบัติฉุกเฉิน อาทิ ประสบวาตะภัยทำให้หลังคาบ้านเสียหายหรือ

               กรณีประสบอุทกภัยที่ทำให้ตัวบ้านได้รับความเสียหายก็สามารถกู้เงินจากกองทุนนี้เพื่อนำไปซ่อมแซมบ้านได้

               หรือกรณีของ “กองทุนแม่บ้าน” ตัวแทนจากตำบลสะอาดสมบูรณ์อำเภอเมืองร้อยเอ็ดเล่าให้ฟังว่าสมาชิกที่เข้า
               ร่วมกลุ่มแม่บ้านเพราะสามารถกู้เงินเพื่อนำไปลงทุนซื้อเครื่องครัวต่างๆได้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ กลุ่มประเภท

               ปล่อยกู้ให้แก่สมาชิกกลุ่มในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อส่งเสริมอาชีพนั้นยังมีอีกหลายกลุ่มในชุมชนอาทิ กลุ่มออม
               ทรัพย์ของพัฒนาชุมชน กลุ่มกองทุนวันละบาทของสวัสดิการชุมชน กลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เป็นต้น

                       นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มกองทุนอื่นๆที่มาพร้อมกับกิจกรรมพัฒนาอาชีพ อาทิ กองทุนเลี้ยงหมู กองทุน

               เลี้ยงวัว กองทุนเลี้ยงปลา และกองทุนเลี้ยงกบ เป็นต้น ผลจากการสัมภาษณ์ทราบว่ากองทุนเหล่านี้เริ่มแรก
               ไม่ได้เป็นกองทุน แต่เกิดจากกิจกรรมส่งเสริมอาชีพที่หน่วยงานราชการ อาทิ พัฒนาชุมชน เกษตรอำเภอ และ

               ปศุสัตว์จังหวัด เป็นต้น เข้ามาเพื่อส่งเสริมศักยภาพในการประกอบอาชีพของคนในชุมชนโดยจัดการอบรม
               สาธิตวิธีการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชในรูปแบบต่างๆ พร้อมทั้งส่งเสริมให้คนในชุมชนรวมกลุ่มกันหลังจากเข้ารับ

               การอบรมเพื่อดำเนินการโครงการต่อไป โดยทางการจะมอบเงินสนับสนุนหรือมอบพันธุ์พืชพันธ์สัตว์ให้แก่กลุ่ม

               ชาวบ้านเพื่อนำไปเป็นทุนในการประกอบอาชีพต่อไป ดังที่กลุ่มตัวอย่างจากตำบลสะอาดสมบูรณ์ อำเภอเมือง
               ร้อยเอ็ด กล่าวว่า “เกษตรอำเภอเข้ามา อาจารย์ทางเกษตร ผู้ใหญ่บ้านก็จะประกาศให้รวมกลุ่มแล้วเขาจะส่ง

               คนมาสอน มีกลุ่มแม่บ้าน ปลูกเห็ด อยากได้โรงเห็ด ก็จับกลุ่มยื่นเรื่องไปเกษตรอำเภอ ถ้าใครอยากทำอะไร ก็

               รวมกลุ่มแล้วก็เข้าอบรมได้ ตอนนี้มีกลุ่มดอกไม้จันทน์ กลุ่มเลี้ยงวัว” ขณะที่ ยายแย้ม เล่าให้ฟังถึงการรวมกลุ่ม
               เลี้ยงวัวของตนว่า “ก็ขอไปที่เกษตรว่าอยากเลี้ยงวัว เขาก็เอาวัวมาให้เลี้ยงแต่ต้องเป็นกลุ่ม 10 คนก่อน เขาก็ให้

               มา 1 ตัว ก็ผลัดกันเลี้ยง ได้ลูกประมาณสองปี ถ้ามันตายก็ส่งรูปไปให้เกษตรอำเภอ เขาก็จะเอาวัวตัวใหม่มาให้
               ถ้าหมันก็คืนไป เอาใหม่ ถ้าแก่ ก็เอาออก เอามาใหม่  ถ้าไม่เอาแล้วก็เอาไปขายเลย แล้วเอาเงินมาแบ่งกัน

               ถ้าเขาถามหาก็เอาเงินมารวมกัน ซื้อมาใหม่” จากสิ่งที่ยายแย้มกล่าววนั้นน่าสนใจว่าการรวมกลุ่มอาชีพที่ได้รับ

               ความสนใจจากคนในชุมชนนั้นเป็นไปเพราะตัวโครงการมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาไม่มีงานทำและ
               ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนได้หรือเป็นเพราะการรวมกลุ่มอาชีพเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กับการ

               เปลี่ยนแปลงพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการเป็นเงินทุนเพื่อนำไปใช้หมุนเวียนเพื่อ
               การอื่นกันแน่ ซึ่งข้อมูลจากบทสัมภาษณ์ของผู้นำท้องที่จากตำบลคำไฮอำเภอพนมไพร ที่กล่าวถึงโครงการที่มี

               ลักษณะเป็นกองทุนส่งเสริมอาชีพกลุ่มหนึ่ง ได้ชี้ให้เห็นว่าการเข้าร่วมกลุ่มอาชีพของคนในชุมชนส่วนหนึ่งเป็น

               เพราะต้องการรายได้และเงินค่าจ้าง โดยกล่าวว่า “โครงการ....(ขอละเว้นชื่อโครงการ) ก็มีประโยชน์แต่ว่า
               ประชาชนที่ทำก็ทำแบบคล้ายๆว่าอยากได้แต่เงินไม่งั้นเขาก็ไม่ทำ” ซึ่งสอดคล้องกับบทสัมภาษณ์ผู้นำท้องที่

               จากตำบลพนมไพรอีกผู้หนึ่งที่กล่าวถึงโครงการเดียวกันนั้นว่า “โครงการ ....(ขอละเว้นชื่อโครงการ) ก็อย่างว่า

               คนที่ได้ไปสมัครเพื่อค่าแรงก็มีหลายประเภท มีทั้งตั้งใจทำไม่ตั้งใจทำ ก็เกิดปัญหาทะเลาะกัน” อย่างไรก็ตาม
               เรื่องนี้เกินกว่าขอบเขตการศึกษาของรายงานวิจัยฉบับนี้ แต่สิ่งที่ผู้วิจัยต้องการชี้ให้เห็นสำหรับรายงานวิจัยฉบับ

               นี้ก็คือโครงการที่เป็นไปเพื่อส่งเสริมอาชีพนั้นได้รับความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมจากคนในชุมชนสูงกว่าโครงการ


                                                                                                       119
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135