Page 138 - kpi21595
P. 138
กล่าวโดยสรุปได้ว่า โครงการส่วนใหญ่ที่มีปรากฏในระดับจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่น ท้องที่นั้น ส่วน
ใหญ่เป็นโครงการที่เน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ขุดลอกลำห้วย การจัดหาแหล่งน้ำเพื่อ
การเกษตร เช่น การเจาะบาดาล การจัดหาระบบประปา ซ่อมแซมฝาย และสร้างคลองส่งน้ำ เป็นหลัก ไม่ใคร่
มีโครงการที่เป็นไปในเชิงการพัฒนาสำนึกของพลเมืองมากนัก โครงการที่พบส่วนใหญ่ที่มีแนวโน้มจะส่งเสริม
สำนึกพลเมืองได้ก็จะเน้นไปที่มิติด้านธรรมะเป็นหลัก ขณะที่ เมื่อกล่าวถึงการพัฒนา “คน” และชุมชนเข้มแข็ง
โครงการส่วนใหญ่ที่พบภายใต้ยุทธศาสตร์นี้ก็คือโครงการพัฒนาอาชีพและส่งเสริมด้านสุขภาพเป็นหลัก ซึ่ง
พบว่าอำเภอเป้าหมายทั้ง 4 แห่งไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องดังกล่าว ในแง่นี้จึงสรุปได้ว่า สภาพแวดล้อม
ทางด้านการเมืองของจังหวัดร้อยเอ็ด มีลักษณะที่ไม่เอื้อต่อการส่งเสริมและสร้างสำนึกความเป็นพลเมืองมาก
นัก ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากโครงสร้างทางการเมืองและระเบียบกฎหมายที่ส่งผลให้การกำหนดโครงการ
เพื่อการพัฒนาต้องมีความสอดคล้องกันระหว่างแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอและข้อบัญญัติ
งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้น หากในแผนพัฒนาจังหวัดปรากฏโครงการในลักษณะใด
โครงการในแผนพัฒนาระดับที่รองลงไปก็มักจะมีลักษณะที่ไม่แตกต่างกัน
อย่างไรก็ตาม ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่ามีโครงสร้างทางการเมืองบางประการที่มีศักยภาพในการ
ส่งเสริมและสร้างความเป็นพลเมืองได้ ในที่นี้ผู้วิจัยพบว่านอกเหนือจากโครงการพัฒนาที่จังหวัด อำเภอ และ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดขึ้นแล้ว โครงการที่มีแนวโน้มส่งเสริมความรู้และสำนึกพลเมืองใน
ระบอบประชาธิปไตยนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการผลักดันนโยบายจากหน่วยงานราชการส่วนกลาง โดยการ
ทำงานของราชการส่วนกลางต่อนโยบายเหล่านั้นจะกระทำผ่านส่วนราชการประจำภูมิภาค หรือมีสำนักงาน
ตั้งอยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยส่วนราชการที่ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลได้จากเว็บไซต์จังหวัดร้อยเอ็ดพบว่า มี 17
กระทรวงจาก 21 กระทรวง ที่มีหน่วยงานของตนเองในระดับจังหวัดยกเว้น 4 กระทรวงคือ กระทรวง
ต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงานและกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ที่
ไม่ได้มีสำนักงานในจังหวัดร้อยเอ็ด สำหรับตัวแทนของราชการส่วนกลางที่ประจำอยู่ในระดับอำเภอนั้นก็ไม่ได้มี
ตัวแทนจากทุกกระทรวงเช่นกันทั้งยังมีสัดส่วนลดลงกล่าวคือมีเพียง 10 หน่วยงานเท่านั้นที่มีสำนักงานและ
ตัวแทนในระดับอำเภอ คือ สัสดีอำเภอ เกษตรอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ ปกครองอำเภอ ท้องถิ่นอำเภอ พัฒนา
ชุมชนอำเภอ ที่ดินอำเภอ วัฒนธรรมอำเภอ กศน.อำเภอ และ สาธารณะสุขอำเภอ
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกหน่วยงานที่มีการผลักดันโครงการและกิจกรรมที่เป็นไปเพื่อส่งเสริมความรู้และ
สำนึกพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ามีโครงการจากหน่วยงานราชการเพียงไม่กี่แห่ง
เท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความรู้และสำนึกพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ในที่นี้มีอาทิ โครงการ
ส่งเสริมวิถีประชาธิปไตย กระทรวงมหาดไทย โครงการค้นหาหมู่บ้านต้นแบบส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยในการ
เลือกตั้งไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และโครงการจิตอาสาทำดีเพื่อ
พ่อซึ่งเป็นโครงการพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่าแม้ส่วนราชการจากส่วนกลาง
จะเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่อาจผลักดันให้มีโครงการที่มีลักษณะส่งเสริมความรู้และสำนึกพลเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตยได้ อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาก็ชี้ให้เห็นว่าโครกงารดังกล่าวยังมีอยู่เป็นจำนวนน้อยในพื้นที่
127