Page 139 - kpi21595
P. 139
ขณะที่ การทำงานของหน่วยงานราชการเพื่อตอบสนองนโยบายส่วนกลางดังกล่าวก็พบว่ามีข้อจำกัด
อยู่ไม่น้อย ผลจากการสัมภาษณ์นายอำเภอเป้าหมายพบว่าการทำงานจะสะดวกกว่ากรณีที่มีส่วนราชการจาก
ส่วนกลางในระดับอำเภอ เพราะในกรณีที่หน่วยราชการส่วนกลางไม่มีสำนักงานในระดับอำเภอ นายอำเภอผู้
เป็นหัวหน้าฝ่ายปกครองข้าราชการในระดับอำเภอจะต้องบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารให้ดำเนินการตาม
กฎหมายและเพื่อให้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี หรือตอบสนองตามนโยบายของกระทรวง ทบวง กรม
ตามอำนาจหน้าที่ในพระราชบัญญัติการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 65 ซึ่งในทางปฏิบัติก็พบกับ
ปัญหาอยู่ไม่น้อย ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นายอำเภอจากอำเภอเป้าหมายระบุว่ากรณีที่หน่วยงานราชการ
ส่วนกลางไม่มีสำนักงานในระดับอำเภอนับเป็นปัญหาหนี่งที่ทำให้การทำงานตามนโยบายต้องประสบความ
ยากลำบาก หลายครั้งอำเภอต้องรับภาระกิจล้นเกินไม่สามารถดูแลการทำงานให้ได้ดีอย่างทั่วถึงเพราะ
ปราศจากผู้รับผิดชอบหลักและไม่มีงบประมาณสนับสนุนที่ทันการ
จากปัญหาข้างต้นผู้วิจัยมองว่าหน่วยงานราชการส่วนกลางอาจจะทราบปัญหาดังกล่าวดีเกี่ยวกับการ
ขาดข้อต่อระดับสำนักงานในระดับอำเภอ ทำให้หลายกระทรวงได้จัดให้มีอาสาสมัครในระดับหมู่บ้านเพื่อให้ทำ
หน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือดำเนินนโยบายต่างๆของตนด้วย ทำให้แม้บางกระทรวงจะไม่มีสำนักงานในระดับอำเภอ
แต่การเชื่อมต่อระหว่างนโยบายจากระดับประเทศสู่การปฏิบัติในระดับท้องถิ่นและระดับท้องที่มีความเป็นไป
ได้ในทางปฏิบัติมากขึ้น เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่จัดให้มีอาสาสมัครพิทักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ในการพิทักษ์ทรรยากร
ป่าไม้ตามคำสั่ง อาทิ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ในการดับไฟป่า ด้านกรมการปกครอง กระทรวงทหาดไทย ก็จัดให้มี
อาสาป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) และชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) เพื่อช่วยเหลือจัดการความ
สงบภายในหมู่บ้าน ขณะที่กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ก็จัดให้มีอาสาพัฒนาชุมชน (อช.) เพื่อทำ
หน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการเก็บข้อมูลที่จำเป็น พร้อมทั้งช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการทำกิจกรรมต่างๆ
ของกระทรวงมหาดไทย เช่น ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การป้องกันยาเสพติด จัดการศูนย์เรียนรู้
และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ด้านกระทรวงสาธารณะสุขก็จัดให้มีอาสาสมัคร
สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งจะทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากส่วนราชการ อาทิ เก็บข้อมูลลูกน้ำ
ยุงลาย ตรวจคลื่นหัวใจ เบาหวาน ออกสำรวจประชากรผู้สูงอายุและผู้พิการ เป็นต้น
โดยเพื่อให้อาสาสมัครประจำหมู่บ้านเหล่านี้สามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆที่ทางหน่วยงานราชการ
ส่วนกลางมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาสาสมัครประจำหมู่บ้านเหล่านี้จึงได้รับการรับรองอำนาจและ
บทบาทหน้าที่ไว้ตามกฎหมายด้วย อาทิ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้รับการรับรองอำนาจ
ในการปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุข
ประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2554 ไว้ในหมวดที่ 3 ว่าด้วยเรื่องบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของอาสาสมัคร
สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือกรณีของผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (อช.) ของกรมการพัฒนาชุมชน
กระทรวงมหาดไทยก็เช่นเดียวกันที่ได้รับการรองรองอำนาจหน้าที่ไว้ตามมระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย
การอาสาพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2547 เป็นต้น โดยบทบาทหน้าที่ของ อสม. ที่ระบุไว้ในข้อที่ 27 ของระเบียบ
กระทรวงสาธารณสุขฯ นั้น สรุปโดยสังเขปได้ว่า อสม. มีหน้าที่ในการปฏิบัติการนโยบายของกระทรวง
128