Page 142 - kpi21595
P. 142
ความสะดวกเรื่องการเดินทาง สิ่งเหล่านี้เป็นอีกปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วม
หรือไม่เข้าร่วมกิจกรรมหนึ่งๆของกลุ่มเป้าหมาย
อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาจะพบได้ว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมกิจกรรม ดังจะเห็นได้
ว่าชาวบ้านมีการรวมกลุ่มในชุมชนจำนวนมาก กระนั้น ผลจากการสัมภาษณ์แกนนำพลเมืองและกลุ่มตัวอย่าง
ในระดับอำเภอพบว่าในชุมชนไม่มีการรวมกลุ่มอื่นๆนอกจากกลุ่มอาชีพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน การรวมกลุ่มส่วน
ใหญ่เป็นการรวมกลุ่มอาชีพ อาทิ กลุ่มเลี้ยงวัว เลี้ยงไก่ กลุ่มเพาะเห็ด กลุ่มทำปุ๋ย กลุ่มแม่บ้าน นอกนั้นเป็นการ
รวมกลุ่มกองทุนต่างๆ อาทิ กลุ่มเงินล้าน กลุ่มร้านค้าชุมชน กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ กลุ่มออมทรัพย์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม จากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายพบว่าการรวมกลุ่มอาชีพนั้นก็เกิดจากความต้องการตอบสนอง
ทางด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ผู้วิจัยยังไม่พบการสื่อสารจากกลุ่มตัวอย่างออกมาอย่างชัดเจนว่าการรวมกลุ่ม
เหล่านั้นเกิดขึ้นเนื่องจากความตระหนักรู้ในความสำคัญของบทบาทหน้าที่ความเป็นพลเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตยที่พึงมีความสนใจใส่ใจความเป็นไปของสังคมชุมชนและเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการ
พัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชน ขณะที่ การรวมกลุ่มองค์กรหลายครั้งก็เกิดจากการผลักดันของหน่วยงาน
ภายนอกโดยเฉพาะส่วนราชการที่ต้องการตัวแทนในระดับพื้นที่ในรูปแบบของอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน อาทิ
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ประจำหมู่บ้าน (อพม.) ของพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์จังหวัด อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ของเกษตรอำเภอ อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด และอาสาป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
(อปพร.) ของปกครองจังหวัด เป็นต้น ดังนั้น การรวมกลุ่มในชุมชน หากพิจารณาโดยผ่านๆอาจมองได้ว่าชุมชน
นี้มี “ความเข้มแข็ง” และมีความเป็นพลเมืองที่สอดคล้องกับนิยามพลเมืองกระตือรือร้น (active citizen) ของ
งานวิจัยชิ้นนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงแรงจูงใจและต้นเหตุแห่งการรวมกลุ่มแล้วจากบทสัมภาษณ์ยัง
สะท้อนให้เห็นว่าการรวมกลุ่มของคนในชุมชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้เกิดจากการตระหนักในบทบาทหน้าที่ของ
พลเมืองในฐานส่วนหนึ่งในการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนแต่เกิดจากแรงจูงใจทางด้านเศรษฐกิจ
และการผลักดันจากหน่วยงานภายนอก
ด้วยเหตุที่กลุ่มอาชีพหลายกลุ่มถูกผลักดันมาจากภายนอกและไม่ได้เกิดจากความต้องการของคนใน
ชุมชนเอง จึงทำให้กลุ่มวิสาหกิจหลายกลุ่มต้องล้มลงไปเมื่อองค์กรที่ให้การสนับสนุนจากภายนอกถอนตัว
ออกไปหรือไม่มีงบประมาณสนับสนุนเพิ่ม ยกตัวอย่างบทสัมภาษณ์จากตำบลคำไฮ อำเภอพนมไพร ผู้หนึ่งที่
แสดงความคิดเห็นต่อโครงการส่งเสริมการประกอบอาชีพหนึ่งที่สนับสนุนโดยหน่วยงานราชการว่า
“โครงการ...ก็มีประโยชน์แต่ว่าประชาชนที่ทำก็ทำแบบคล้ายๆว่าอยากได้แต่เงินไม่งั้นเขาก็ไม่ทำ แต่ไม่
ทำก็ได้เงิน ผมก็เลยใส่สีแดง ที่ตำบลผมทำปุ๋ยอินทรีย์ เอามูลมาบดมาผสมกับดิน ปุ๋ยยูเรีย กากน้ำตาล ทำน้ำ
หมักครับ เป็นปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด โครงการนี้รัฐเขาให้เงินมาแล้วแต่ว่าตำบลไหนจะทำอะไร แล้วก็ได้ค่าแรง คน
ที่ไม่ทำก็อู้เอา ทำไม่ทำรัฐบาลก็ให้เงินอยู่แล้ว มันเลยไม่ส่งเสริมความเป็นพลเมือง” สอดคล้องกันกับตัวแทน
จากตำบลพนมไพร อำเภอพนมไพร ก็กล่าวในทำนองเดียวกันว่า “โครงการ...ที่ได้ สีแดง ก็อย่างว่าคนที่ได้ไป
สมัครเพื่อค่าแรงก็มีหลายประเภท มีทั้งตั้งใจทำไม่ตั้งใจทำ ก็เกิดปัญหาทะเลาะกัน” ขณะที่ตัวแทนผู้นำท้องที่
จากตำบลเดียวกันอำเภอเดียวกัน ระบุว่า “คือโครงการมันอาจจะดี แต่ว่าที่ทำไปในตอนนี้ปัจจุบันนี้มันอาจ
131