Page 38 - kpi21595
P. 38
จากแผนภาพที่ 5 และแผนภาพที่ 6 จะเห็นได้ว่าการดำเนินโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลัง
พลเมือง ระหว่างปีงบประมาณ 2559-2561 นั้นเป็นการแสดงปัจจัยนำเข้าที่ผลักดันโดยสถาบันพระปกเกล้า
เป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วย โครงการ/กิจกรรม องค์ความรู้ เนื้อหา เครื่องมือ หลักการดำเนิน และทุนทางสังคม
ของสถาบันพระปกเกล้าในเรื่องการเป็นที่รู้จักของคนในพื้นที่ สำหรับขั้นตอนในการดำเนินโครงการนั้นแบ่ง
ออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรก เป็นการเตรียมการ (prepare) ต่างๆ ทั้งการพูดคุยแสวงหาความร่วมมือกับ
เครือข่ายองค์กรที่เป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่เพื่อกำหนดแผนการดำเนินโครงการ
และยุทธศาสตร์ร่วมกัน จากนั้นจึงระบุอำเภอนำร่อง 10 แห่งอย่างมีส่วนร่วม การสร้างความเข้าใจกับคนใน
อำเภอนำร่อง และการค้นหาผู้นำชุมชนที่มีความสนใจพัฒนาศักยภาพขึ้นเป็นแกนนำพลเมืองในระดับพื้นที่
การดำเนินโครงการในระยะที่สอง นั้น เป็นช่วงของการผลักดันปฏิบัติการในระดับพื้นที่ (perform)
โดยแกนนำพลเมือง ซึ่งในระยะนี้สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองจะถอยออกมาทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงที่คอย
สนับสนุนองค์ความรู้และงบประมาณบางส่วนเท่านั้น การดำเนินการต่างๆในพื้นที่เป็นไปโดยแกนนำพลเมืองที่
ได้รับการพัฒนาศักยภาพในระยะแรกโดยการดูแลของศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด เป็น
หลัก
โดยผลที่คาดว่าจะได้รับนั้นประกอบด้วย ส่วนของผลผลิต (output) และผลลัพธ์ (outcome) ในส่วน
ของผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ (output) ซึ่งระบุไว้ในที่นี้เป็นผลจากการหารือกับเครือข่ายองค์กรภาครัฐ
ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในเบื้องต้นเพื่อร่วมกันผลักดันโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง
อย่างบูรณาการ ประกอบด้วย การส่งเสริมการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง การพัฒนาคุณภาพชีวิต
การพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง การเสริมสร้างธรรมาภิบาลชุมชน และการเสริมสร้างเครือข่ายในพื้นที่นี้
ส่วนผลลัพธ์ (outcome) ของการดำเนินโครงการนี้ เป็นเป้าหมายสูงสุดตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ของสถาบัน
พระปกเกล้า ในการส่งเสริมและสร้างความเป็นพลเมือง ซึ่งในที่นี้แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ ระดับแรก เป็น
พลเมืองตระหนักรู้ (concerned citizen) ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจหลักการเป็นพลเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตย มีความสนใจความเป็นไปของสังคม-การเมือง ตลอดจน ตระหนักในศักยภาพของตนเอง และ
ระดับที่สอง เป็นพลเมืองกระตือรือร้น (active citizen) ผู้ที่มีพฤติกรรมการแสดงออกทางวาจาและร่างกายที่
เป็นไปเพื่อปกป้องหลักการประชาธิปไตยในเรื่องของสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมทางสังคม-การเมือง
ตามกรอบคุณสมบัติความเป็นพลเมืองที่นักวิจัยจากสถาบันพระปกเกล้าได้พัฒนาขึ้น (โปรดดูแผนภาพที่ 2)
ข้างต้นเป็นแนวทางและขั้นตอนในการส่งเสริมและสร้างความเป็นพลเมืองที่สำนักส่งเสริมการเมือง
ภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า พัฒนาขึ้นตามแนวทางทฤษฎีที่ได้สำรวจไว้เบื้องต้น ซึ่งประกอบไปด้วย
การพยายามส่งเสริมการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อขัดเกลาพฤติกรรมและ
ปรับทัศนคติทางการเมืองในสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยตามที่ได้รับการเรียนรู้จากการอบรม พร้อมทั้ง
พยายามส่งเสริมให้เกิดการลงมือปฏิบัติโครงการ/กิจกรรมต่างๆเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองด้วยตนเองผ่านการ
พัฒนาหรือแก้ไขปัญหาร่วมกันกับคนในชุมชน เพราะสำนึกพลเมืองนั้นไม่อาจได้มาจากการอบรมเพียงอย่าง
เดียวแต่ต้องเกิดจากการลงมือปฏิบัติด้วย โดยสถาบันพระปกเกล้าจะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้สนับสนุนด้านองค์
27