Page 41 - kpi21595
P. 41
ของพวกเขามากขึ้น ดังนั้น แม้ข้อมูลที่เข้ามาใหม่จะเป็นเหตุเป็นผลเพียงใด แต่หากข้อมูลนั้นค้านกับข้อมูลที่ผู้
นั้นเชื่ออยู่ก่อนหน้า คนมีแนวโน้มจะพิจารณาข้อมูลก่อนหน้าเป็นอันดับแรกซึ่งเป็นลักษณะทางจิตวิทยาในเรื่อง
ของการธำรงความสอดคล้องทางความคิด
กล่าวโดยสรุปได้ว่า เงื่อนไขภายใน การรับรู้ และความเข้าใจของบุคคลนับเป็นปัจจัยภายในที่สำคัญ
และอาจส่งผลต่อการแสดงออกซึ่งความเป็นพลเมืองที่ตระหนักรู้และกระตือรือร้นให้แตกต่างกันออกไปใน
บุคคลแต่ละคน อย่างไรก็ตาม แรงจูงใจทางการเมืองนั้นอาจมองได้ว่าเป็นเหรียญคนละด้านกับกระบวนการขัด
เกลาทางสังคมการเมืองและวัฒนธรรมทางการเมือง เพราะการศึกษาและพื้นฐานทางครอบครัวที่แตกต่างกัน
อาจส่งผลให้ผู้นั้นมีแรงจูงใจทางการเมืองและมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่แตกต่างกันออกไป ด้วยเหตุนี้ ในส่วน
ถัดไปผู้เขียนจะกล่าวถึงแนวคิดเรื่องวัฒนธรรมทางการเมืองโดยสังเขปเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจการสร้างความ
เป็นพลเมืองโดยเชื่อมโยงปัจจัยภายในเข้ากับปัจจัยภายนอก อาทิ ปัจจัยด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ให้
มากขึ้น เพราะต้องยอมรับว่านอกเหนือจากปัจจัยภายในแล้ว ปัจจัยภายนอกก็นับเป็นอีกเงื่อนไขสำคัญที่จะ
ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการแสดงออกทางการเมืองของปัจเจกบุคคล
แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture)
สำหรับแนวคิดเรื่องวัฒนธรรมทางการเมืองในที่นี้ ผู้เขียนขอยกคำอธิบายของ Almond และ Verba
มากล่าวไว้ เนื่องจากเป็นงานชิ้นแรกๆที่ศึกษาเรื่องวัฒนธรรมทางการเมือง โดย Almond และ Verba ได้ให้
25
คำอธิบายเรื่องวัฒนธรรมทางการเมืองไว้ในงานของเขาที่ชื่อว่า The Civic Culture โดยในงานชิ้นนี้เขาได้
แบ่งประเภทวัฒนธรรมทางการเมืองไว้ 3 กลุ่มใหญ่ๆตามแบบแผนของทัศนคติ (attitudes) และความโน้ม
เอียง (orientations) ทางความคิดและพฤติกรรมของผู้คนในสังคมอันเป็นผลมาจากโครงสร้างและวัตถุ
ทางการเมือง อาทิ ระบบการเมือง ระบบราชการ กฎหมายและกติกาต่างๆในสังคม ซึ่งจะส่งผลต่อการ
แสดงออกในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมืองที่แตกต่างกันออกไป
สำหรับวัฒนธรรมทางการเมืองประเภทแรก คือ วัฒนธรรมแบบแบบคับแคบ (parochial) ผู้ที่มี
วัฒนธรรมประเภทนี้จะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับระบบการเมืองและสถาบันการเมือง อาจเนื่องด้วยความ
ห่างไกล ความไม่รู้ ไม่เข้าใจว่าจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร ไม่ใส่ใจ จึงส่งผลให้พวกเขาเข้าใจไปว่าระบบการเมือง
นั้นไม่มีผลต่อการตัดสินใจดำเนินชีวิตของพวกเขา คนกลุ่มนี้จึงไม่สนใจเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ในที่
Almond ยกตัวอย่างสังคมชนเผ่าในอัฟริกา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากนำคำอธิบายดังกล่าวมาพิจารณาใน
บริบทของสังคมไทยอาจจะมองได้ว่าผู้ที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมืองและสถาบันทางการเมืองเช่นในอำเภอที่
ห่างไกล ทุรกันดาร ก็อาจจะมีความสัมพันธ์กับระบบการเมืองค่อนข้างน้อยได้เช่นกัน
สำหรับวัฒนธรรมทางการเมืองประเภทที่สองเรียกว่า วัฒนธรรมการเมืองแบบไพร่ฟ้า (subject)
ซึ่ง Almond อธิบายว่า คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบการเมือง สถาบันการเมือง กฎ
กติกาต่างๆและรู้ว่าระบบการเมืองนั้นเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของพวกเขาอย่างไร กระนั้น คนกลุ่มนี้มักจะ
25 พฤทธิสาณ ชุมชน, ม.ร.ว. (2548) อ้างแล้ว.
30