Page 40 - kpi21595
P. 40
ผ่านกระบวนการคิด ตัดสินใจ สถานการณ์แวดล้อม และช่วงเวลาที่อาจทำให้การแสดงพฤติกรรมไม่เป็นไปตาม
เป้าหมายของการขัดเกลาทางการเมือง นอกจากนั้น การผลิตซ้ำพฤติกรรมก็อาจไม่แน่นอน เพราะโดย
ธรรมชาติแล้วมนุษย์มีแนวโน้มจะไล่ตามเป้าหมายที่ตนได้ประโยชน์และตนสนใจ ส่งผลให้บางครั้งผู้คนดูจะไม่
สนใจความต้องการทางสังคมหากเขามองไม่เห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากสิ่งเหล่านั้น
เรื่องของการให้ความสนใจกับประโยชน์ของตนนั้น เป็นข้อสรุปที่คล้ายคลึงกับงานหลายชิ้น เช่น
แนวคิดเรื่อง อรรถประโยชน์นิยม (utilitarianism) แนวคิดเรื่องตัวแบบมนุษย์ที่เป็นเหตุเป็นผล (rational
choice theory) และงานวิจัยของ Kjetil Borhaug ที่ศึกษาเรื่องแรงจูงใจทางการเมืองในการออกไปเลือกตั้ง
ระบุว่า การที่คนจะเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองหรือไม่นั้นเป็นผลมาจากการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ที่จะได้รับจากการมีส่วนร่วมนั้น หากค่าใช้จ่ายของกิจกรรมทางการเมืองมากกว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับจาก
22
นโยบาย กิจกรรมทางการเมืองจะเกิดขึ้นน้อย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นได้อย่างน่าสนใจคือ
การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งนั้นมักจะมีผู้มีส่วนร่วมมากกว่าการมีส่วนร่วมรูปแบบอื่นๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ
มันเป็นเงื่อนไขจำเป็นน้อยที่สุดในการเป็นประชาธิปไตย (minimum requirement) ในการรับรองสิทธิ
เสรีภาพของประชาชน เพราะฉะนั้นประชาชนจึงยอมรับการภารกิจในการเลือกตั้งในฐานะส่วนหนึ่งของสัญญา
และการมีส่วนร่วมทางการเมืองจะถูกลดให้เหลือน้อยที่สุด
งานชิ้นนี้ให้ข้อสังเกตว่า คนจะมีพฤติกรรมีส่วนร่วมทางการเมืองเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายใน
ส่วนบุคคลหลายประการ คือ ประการแรกคือสิ่งนั้นเป็นเรื่องที่พึงปรารถนาและเป็นสิ่งที่เขาต้องการแสวงหา
(pursuit of preferences) ประการที่สอง คือสิ่งนั้นเป็นพันธะสัญญาของ (fulfill the contract) เช่นเรื่อง
ของการเลือกตั้งเรื่องของกฎหมาย เป็นต้น ประการที่สาม คือ การสร้างอัตลักษณ์ของตน (construct
identity) ประการที่สี่คือเป็นไปเพื่อพัฒนาตนเอง (self-development) ประการที่ห้าคือการแสดงออกซึ่ง
ความรู้สึกและความต้องการของตนเอง (self- expression) ประการที่หก คือ การปฏิบัติตามหลักเหตุผล
(rational argument) ประการที่หกความรู้สึกเชิงบวกในการมีส่วนร่วมทางการเมือง (positive feelings)
สำหรับเงื่อนไขอีกประการที่ทำให้การอบรมและสร้างสภาพแวดล้อมทางการเมืองอาจเกิดขึ้นอย่างมี
23
ประสิทธิภาพหรือไม่มีประสิทธิภาพนั้นก็คือการรับรู้สิ่งที่สอน ดังที่ James N. Druckman (2007) ชี้ให้เห็น
ว่าความเชื่อก่อนหน้า (priori believe) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตีความข้อมูลใหม่โดยไม่รู้ตัว อันจะส่งผล
กระทบต่อพฤติกรรมของคนไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เช่น ความเชื่อเรื่องการทำแท้งเป็นเรื่องไม่ผิด ก็อาจ
ส่งผลให้ผู้นั้นยอมรับนโยบายของพรรคแนวเสรีนิยมมากกว่ากลุ่มที่มีแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยมแต่แรก ข้อเสนอ
ข้างต้นสอดคล้องกับข้อเสนอของ David P. Redlawsk ที่อธิบายว่าการเผชิญหน้ากับหลักฐานที่ขัดแย้งกัน
24
อาจกระตุ้นให้ผู้คนที่มีเป้าหมายในทิศทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อทิศทางที่สอดคล้องกับความคิดเห็นก่อนหน้า
22 Borhaug, Kjetil. “Sex, Celebrities and First Time Voting: Norwegian mass media mobilizing first time voters”. Paper, ECPR
Glasgow September 2014.
23 Druckman, James N. “The Politics Of Motivation”, in Critical Review, 24:2, 2012. p.199-216.
24 Readlawsk, Dp. “Hot cognition or cool consideration? Testing the effects of motivated reasoning on political decision
making”, in The Journal of Politics 64.4, 2002. P.1021-1044.
29