Page 39 - kpi21595
P. 39
ความรู้และงบประมาณปฏิบัติการบางส่วนเท่านั้น เพื่อผลักดันให้ปฏิบัติการดังกล่าวไปถึงเป้าหมายสูงสุดใน
การสร้างพลเมืองที่มีความตระหนักรู้และมีความกระตือรือร้นที่เริ่มจาก “ข้างใน” หรือ “ระเบิดจากภายใน”
(inside out) ของคนในพื้นที่เอง ด้วยความเชื่อที่ว่า หากผลักดันสำนึกพลเมืองจากภายในสู่ภายนอกสิ่งนี้จะ
ส่งผลต่อความต่อเนื่องของการดำเนินโครงการและความเป็นพลเมืองของคนในสังคมได้อย่างต่อเนื่องและ
มีประสิทธิภาพกว่าการบังคับหรือการใช้คำสั่ง ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงเห็นควรมีการสำรวจแนวคิดเกี่ยวกับปัจจัย
ภายใน (intrinsic motivation) ไว้โดยสังเขป เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป
แนวคิดเรื่องแรงจูงใจทางการเมือง (political motivation)
ข้างต้นเป็นกระบวนการส่งเสริมและสร้างความเป็นพลเมืองที่เกิดจากการส่งเสริมการศึกษาและการ
สร้างสภาะแวดล้อมตามหลักทฤษฎีการขัดเกลาทางการเมือง ที่เชื่อว่าหากมีปฏิบัติการทั้งสองแล้วอาจสร้างให้
ปัจเจกชนมีความรู้ มีทักษะ และมีความตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นพลเมืองและมีพฤติกรรมแสดงออก
ทางการเมืองที่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยได้
อย่างไรก็ตาม แม้ปฏิเสธไม่ได้ว่าเงื่อนไขเหล่านั้นเป็นสิ่งสำคัญจำเป็นเนื่องจากนักทฤษฎีหลายท่าน
ยืนยันตรงกัน กระนั้น ในทางปฏิบัติก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเงื่อนไขส่วนบุคคลในเรื่องของความแตกต่างทางเพศ
การรับรู้ ประสบการณ์ส่วนบุคคล รวมไปถึงแรงจูงใจเฉพาะบุคคล นั้นก็มีอิทธิพลที่จะส่งผลให้ปัจเจกบุคคลมี
พฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไปเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้ การอธิบายพฤติกรรมจากคำอธิบายเรื่องการขัดเกลาทางการเมือง ที่ให้ความสำคัญกับ
วัฒนธรรมทางการเมือง การศึกษา และการอบรมเลี้ยงดูอาจไม่เพียงพอต่อการอธิบายการแสดงออกซึ่ง
พฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลที่ต่างกันไป งานวิจัยเรื่อง Examining Individual Differences in the
Internalization of Political Values: Validation of the Self-Determination Scale of Political
Motivation ชี้ให้เห็นว่าแม้ปัจจัยด้านการอบรมเลี้ยงดูจะมีความสัมพันธ์อย่างชัดเจนกับการแสดงออกของ
21
การรักษากฎระเบียบและแบบแผนพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองเนื่องจากมันจะสถาปนาความคิดและ
ทัศนคติให้คนมีพฤติกรรมบางอย่าง แต่งานชิ้นนี้กล่าวว่าปัจจัยที่สำคัญที่จะส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมหนึ่งๆ
ยังขึ้นอยู่กับแรงจูงใจภายในหลายประการ อย่างแรกคือ ความสุข ทำแล้วมีความสุขหรือไม่ อย่างที่สองคือทำ
แล้วมีตัวตนหรือไม่ อย่างที่สาม ทำแล้วเป็นประโยชน์กับตนเองหรือไม่
ผลจากการศึกษาข้างต้น ชี้ให้เห็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคมนั้น ในทางปฏิบัติยังเชื่อมโยงอยู่กับ
การรับรู้และเงื่อนไขปัจจัยภายในส่วนบุคคลด้วย ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นข้อจำกัดประการหนึ่งที่การอธิบายด้วย
การขัดเกลาทางการเมืองต้องตระหนักถึง เพราะการอธิบายโดยการขัดเกลาทางการเมืองเพียงอย่างเดียวไม่
อาจระบุเรื่องของความแน่นอนของพฤติกรรมได้ เนื่องจากแม้จะมีการกล่อมเกลาทางการเมืองแบบหนึ่งแต่ก็ไม่
จำเป็นต้องนำมาซึ่งการเกิดขึ้นของพฤติกรรมในแบบที่ต้องการเสมอไป เพราะพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นนั้นย่อม
21 Losier, G. F., Perreault S., Koestner R., and Vallerand, R.J. “Examining Individual Differences in the Internalization of Political
Values: Validation of the Self-Determination Scale of Political Motivation”, in Journal of Research in Personality, 35, 41–61,
2001.
28