Page 43 - kpi21595
P. 43

พลเมืองดีที่ Almond และ Verba ได้เคยเสนอไว้ ด้วยเงื่อนไขสองประการคือ ประการแรก พลังของ

               กระบวนการทำให้เป็นสมัยทางสังคม (social mobilization) และประการที่สองคือกระแสโลกาภิวัตน์ ที่
                                                                                            28
               ก่อให้เกิดการเปลี่ยนรูปของวัฒนธรรมทางการเมืองร่วมสมัย งานของ Ronald Inglehart  ชี้ให้เห็นว่าใน
               สังคมประชาธิปไตยหลังอุตสาหกรรมและความทันสมัยนั้นส่งผลให้พลเมืองเริ่มมีความรู้ไม่ต่างจากชนชั้นนำ

               สิ่งนี้ทำให้พลเมืองเป็นผู้ที่มีความตื่นรู้และกระตือรือร้นที่จะใช้ช่องทางและกลไกการมีส่วนร่วมในลักษณะ
               ท้าทายผู้มีอำนาจตัดสินใจทางการเมืองมากขึ้น อย่างไรก็ตาม บริบทของสังคมการเมืองในแต่ละพื้นที่ก็แตกต่าง

               กัน ดังนั้น แม้การเปลี่ยนแปลงทั้งสองด้านจะเกิดขึ้น ขณะที่ กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยก็ได้ถูกเผยแพร่
               ไปในหลายแห่ง กระนั้น การขัดเกลาทางการเมืองก็ยังมีบทบาทสำคัญที่ไม่อาจละทิ้งไปได้ในฐานะที่เป็นปัจจัย

               นำเข้าประการหนึ่งที่จะส่งผลให้ผลลัพธ์ทางการเมืองในแต่พื้นที่มีความแตกต่างกัน

                                                 29
                       งานของอาจารย์กมล สมวิเชียร  กล่าวถึงวัฒนธรรมทางการเมืองของไทยได้อย่างน่าสนใจ โดยตั้ง
               ข้อสังเกตว่ากระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมของไทยนั้นได้รับอิทธิจากครอบครัวกสิกรรมและอิทธิพลของ

               ศาสนาพุทธ ปัจจัยทั้งสองประการนี้มีผลต่อการกระบวนการขัดเกลาทางการเมืองและการบ่มเพาะวัฒนธรรม
               ของคนไทยอย่างมาก ซึ่งจะเกิดขึ้นตั้งแต่ระดับครอบครัวเรื่อยไปจนถึงระดับสังคม การเมือง โดยเขาระบุว่า

               ระบบชีวิตแบบกสิกรรมภายใต้สภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์นั้น ทำให้คนไทยไม่

               จำเป็นต้องพึ่งพาเกาะเกี่ยวกลมเกลี่ยวกันมากสามารถเอาชีวิตรอดได้โดยลำพังไม่ต้องพึ่งพาอาศัยญาติพี่น้อง
               เพื่อนฝูงมากนัก ในขณะที่สภาพอากาศที่ไม่ร้อนหรือหนาวจัดจนเกินไปก็ทำให้คนไทยไม่จำเป็นต้องรวมกันเพื่อ

               แก้ไขปัญหาอะไร ครอบครัวของสังคมไทยจึงอยู่กันแบบหลวมๆและเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ “คนไทยรัก

               “อิสระภาพ” ไม่ชอบอยู่ใต้กฎเกณฑ์ข้อบังคับของครอบครัวและสังคม ไม่นิยมตั้งสมาคม องค์กร หรือสหพันธ์
                          30
               ทั้งหลาย...”  ไม่เพียงเท่านั้น อาจารย์กมล ยังตั้งข้อสังเกตว่า “ระบบราชการ” นั้นมีอิทธิพลต่อการสร้าง
               วัฒนธรรมแบบอำนาจนิยมของสังคมไทยอย่างยิ่ง โดยที่ระบอบอำนาจนิยมของระบบราชการนี้ยังได้ครอบคลุม
               ไปถึงระบบการเมืองด้วย เรื่องนี้ทำให้ผู้เขียนนึกถึงสุภาษิตไทยที่ว่า “สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง” ซึ่งในเรื่องนี้

               อาจารย์กมลมองว่าทำให้เมืองไทยมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่ผสมผสานระหว่าง “อิสระนิยม” กับ “อำนาจ

               นิยม” ซึ่งไม่เอื้อต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตกที่สังคมไทยนำเข้ามาเท่าใดนัก
                                                                          31
                       งานศึกษาของทินพันธ์ นาคะตะ เรื่อง “ประชาธิปไตยไทย”  ได้ให้ข้อสรุปในลักษณะที่คล้ายกัน
               เกี่ยวกับปัญหาประชาธิปไตยไทย โดยพิจารณาวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนซึ่งเป็นมรดกตกทอด
               ทางการเมืองการปกครองไทยมาแต่โบราณ 9 ประการด้วยกันคือ

                       1.อำนาจนิยม คนไทยส่วนใหญ่ชอบการใช้อำนาจเผด็จการ เคารพเชื่อฟังและอ่อนน้อมต่อผู้มีอำนาจ

                       2.นิยมระบบเจ้านายกับลูกน้อง


               28  Inglehart, Ronald. “The Renaissance of Political Culture”. In The American Political Science Review. Vol. 82, No. 4 (Dec.
               1988), p. 1203-1230.
               29 กมล สมวิเชียร. ประชาธิปไตยกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2516.
               30 กมล สมวิเชียร, เพิ่งอ้าง.หน้า 141.
               31  ทินพันธุ์ นาคะตะ. ประชาธิปไตยไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โครงการเอกสารและตำรา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริ
               หารศาสตร์, 2543.

                                                                                                       32
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48