Page 42 - kpi21595
P. 42

เลือกเชื่อฟังระบบมากกว่าที่จะตั้งคำถามและเข้าไปมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงระบบการเมืองและ

               สร้างผลลัพธ์ใหม่ๆ สนใจแต่การรอรับผลกระทบทางการเมืองเท่านั้น ซึ่ง Almond มองว่าคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่
               มีจำนวนมากที่สุดในสังคม สำหรับตัวแบบนี้หากนำมาอธิบายในสังคมไทยนั้นก็มีความน่าสนใจว่าอาจอธิบายได้

               อยู่ไม่น้อย

                       สำหรับวัฒนธรรมทางการเมืองประเภทที่สามเรียกว่าวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม
               (participant) ซึ่ง Almond อธิบายว่า คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความรู้เป็นอย่างดี ทั้งยังมีความตระหนักใน

               ศักยภาพของตนเองและตระหนักในความสำคัญของการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง พวกเขามีความสนใจ
               และกระตือรือร้นที่จะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจนโยบายสธารณะและเข้ามีไปมีส่วนร่วมทางการเมือง

               ในระดับต่างๆ ซึ่งคนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีอยู่จำนวนไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง Almond มอง

               ว่าสังคมหนึ่งๆจะประกอบไปด้วยกลุ่มคนทั้ง 3 ประเภทในสัดส่วนที่แตกต่างกัน อันจะส่งผลต่อระบอบ
               การเมืองให้มีแนวโน้มเป็นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น หากสังคมมีกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมแบบส่วนร่วมมากก็จะ

               ส่งเสริมต่อระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยมากกว่าสังคมที่มีกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมแบบไพร่ฟ้าและ
               แบบคับแคบมาก เพราะหากเป็นเช่นนั้นจะสอดคล้องกับระบอบการปกครองที่เป็นอำนาจนิยมมากกว่านั่นเอง

                       เพื่อเพิ่มเติมความเข้าใจเรื่องระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้มากขึ้นผู้เขียนขอนำคำอธิบายเรื่อง

               ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองมาอธิบายเพิ่มเติมไว้ด้วยงานเรื่อง ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ของสถาบัน
               พระปกเกล้า ระบุว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมืองมีตั้งแต่ระดับน้อยที่สุดเรื่อยไปจนถึงระดับสูงที่สุด

               6 ระดับ เริ่มจากการให้ข้อมูล การให้ความคิดเห็น การให้ข้อปรึกษาหารือ การวางแผนร่วมกัน การลงมือ

                                                                     26
               ปฏิบัติ  การติดตามตรวจสอบ และการควบคุมผู้แทนโดยปวงชน
                       ผลจากการศึกษาในงานของ Almond และ Verba ข้างต้นชี้ให้เห็นว่าในประเทศด้อยพัฒนาส่วนใหญ่

               มักจะขาดวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้คนมีข้อจำกัดด้านการรับรู้จึงนำมาสู่
               “วัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบ” ในประเทศเหล่านี้ พลเมืองในประเทศเหล่านี้จึงหันหลังให้กับระบบ

               การเมือง

                       จากผลการศึกษาข้างต้นจึงเป็นที่น่าสนใจว่าสำหรับประเทศไทยที่สังคมชนบทยังกินพื้นที่ส่วนใหญ่ของ
               ประเทศและประชากรส่วนใหญ่ของประเทศยังประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนา และประเทศไทยยังถูกจัด

               อันดับโดยสหประชาชาติให้เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา (developing country) เช่นนี้จะมีผลกระทบต่อ
               กระบวนการขัดเกลาทางการเมืองและวัฒนธรรมทางการเมืองของผู้คนในสังคมให้มีลักษณะทางการเมืองแบบ

               คับแคบ หรือมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า ดังเช่นผลการศึกษาจากต่างประเทศหรือไม่ เพราะต้องไม่

               ลืมว่าบริบทของสังคมไทยในขณะนี้ก็เปลี่ยนไปจากช่วงเวลาที่งานวิจัยดังกล่าวดำเนินการไปมากแล้ว จึงอาจมี
               บางประเด็นที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่บ้าง ดังเช่นคำอธิบายของ Dalton and Doh Chull Shin  ที่แสดงให้เห็นว่า
                                                                                          27
               งานศึกษาภายใต้แนวคิดวัฒนธรรมทางการเมืองในช่วงหลังนั้น ได้เปลี่ยนแปลงไปจากตัวแบบวัฒนธรรม



               26  บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และ ถวิลวดี บุรีกุล. ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, 2552. พิมพ์ครั้งที่ 4. หน้า 1-29.
               27  Dalton, Russell and Doh Chull Shin, eds. Citizens, Democracy and Markets around the Pacific Rim. Oxford: Oxford University
               Press, 2006.

                                                                                                       31
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47