Page 44 - kpi21595
P. 44
3.ยึดมั่นตัวบุคคลมากกว่าหลักการหรือระบบ
4.มีการจัดลำดับฐานะในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
5.ความเป็นอิสระนิยม
6.ยึดมั่นในประเพณีดั้งเดิม
7.เฉื่อยชา ไม่กระตือรือร้น
8.ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง มองโลกในแง่ร้าย และขาดความไว้วางใจผู้อื่น
9.ประนีประนอม หนีความขัดแย้ง
32
งานของ อาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์เรื่อง “การเมืองของพลเมือง : สู่สหัสวรรษใหม่” เป็นงาน
ชิ้นอีกชิ้นหนึ่งที่ไม่เชื่อว่าในชนบทจะเกิดภาคประชาสังคมได้ เพราะคนชนบทไม่มีสำนึกในความเป็นพลเมือง
ซึ่งหัวใจสำคัญของมันคือ “สำนึกเพื่อส่วนรวม” เพราะคนในชนบทไม่มีกลุ่มก้อน และไม่มีสังกัด จึงทำให้พวก
เขาขาดคุณธรรม จรรยาบรรณ และวินัย พวกเขาจึงมี “สำนึกไพร่” อยู่ในสภาพที่ตกอยู่ภายใต้การปลุกระดม
ปลุกเร้า และจูงใจด้วยผลประโยชน์ได้โดยง่าย ต่างไปจากคนในเมืองผู้มีสติปัญญา เพราะคนเหล่านี้มีการ
รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ในรูปแบบของกลุ่ม องค์กร สมาคม ฯลฯ จึงเกิด “สำนึกพลเมือง” มองเห็นสิ่งซึ่ง
“ถูกต้อง” ในเชิงหลักวิชาการว่า อะไรควร อะไรไม่ควร ไม่เห็นแก่ได้ ไม่ถูกหลอกง่ายๆ เหมือนมวลชนผู้ยากไร้
ในแง่นี้ผู้เขียนมองว่าข้อเสนอของอาจารย์อเนกคล้ายจะเสนอว่า ต่างจังหวัดนั้นพลเมืองมีวัฒนธรรมแบบคับ
แคบและไพร่ฟ้าอยู่อย่างมาก ต่างจากพลเมืองที่อยู่ในเมืองที่มีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมมากกว่า
จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าเรื่องการขัดเกลาทางการเมืองและวัฒนธรรมทางการเมืองนั้นเป็นปัจจัยนำเข้า
ข้อใหญ่ที่จะส่งผลต่อความคิดความตระหนักและพฤติกรรมของคนในสังคมให้เป็นไปในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
ทั้งยังมีความเชื่อมโยงกับแนวคิดเรื่องแรงจูงใจทางการเมืองของบุคคลอยู่ด้วย วัฒนธรรมทางการเมืองจึงเป็น
ประเด็นที่นักวิชาการยังคงให้ความสนใจมาจนปัจจุบันนี้ จากข้างต้นจะเห็นได้ว่านักรัฐศาสตร์ไทยในปัจจุบันยัง
มองว่า ในทางสังคมระบบไพร่ที่ฝังรากลึกมาเป็นเวลายาวนาน ยังคงมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมทางการเมืองของ
ไทยมาจนกระทั่งทุกวันนี้ กล่าวคือ ทำให้เกิดการคงอยู่ของความสัมพันธ์แบบระบบอุปถัมภ์ในแทบทุกระดับ
ของสังคม การยึดถือในระบบอาวุโสทำให้ผู้มีอาวุโสต่ำกว่าไม่กล้าโต้แย้งผู้มีอาวุโสสูงกว่า การยอมรับตนเองใน
ฐานะเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ซึ่งมีผลทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ขาดความสำนึกในทางการเมือง และการมี
ลักษณะเป็นผู้ตามที่ดี มีผลทำให้ขาดความคิดริเริ่มและความเป็นตัวของตัวเอง โดยเห็นว่าวัฒนธรรมทาง
การเมืองในลักษณะเช่นนี้เป็นอุปสรรคต่อการปกครองในระบอบประชิปไตย ทั้งยังนำมาสู่ระบบอุปถัมภ์ที่มี
ลักษณะเป็นเครือข่ายเกี่ยวโยงกันจากระดับล่างสุดจนกระทั่งถึงระดับบนสุด ขณะที่ ความยากจนและความไม่
สามารถพึ่งตนเองได้ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประชาชนในชนบทหรือในชุมชนแออัดตกเป็นผู้ที่อยู่ภายใต้การ
อุปถัมภ์ของผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นหรือนักการเมืองท้องถิ่น ขณะที่ ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นบางคนก็เปลี่ยนสถานะไป
32 เอนก เหล่าธรรมทัศน์, การเมืองของพลเมือง : สู่สหัสวรรษใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คบไฟ, 2543.
33