Page 60 - kpi21595
P. 60

ส่วนความเป็นพลเมืองด้านที่ 6 ถึงด้านที่ 8 นั้น มีลักษณะเหมือนกันคือมี 6 ชุดคำตอบ ประกอบด้วย

               1) เคยทำมากกว่า 1 ครั้ง  2) เคยทำเพียงครั้งเดียว 3) ไม่เคยทำแต่อาจทำถ้าจำเป็น 4)  ไม่เคยทำและจะไม่ทำ
               เด็ดขาด 8) ไม่สามารถตอบได้ และ 9) ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม ผู้วิจัยแบ่งคำตอบเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก

               ประกอบด้วย คำตอบที่ 1 และ 2 กลุ่มที่สองประกอบด้วย คำตอบที่ 3 ถึง 9 โดยการให้คะแนน 1,0 จะ

               พิจารณาจากคำถามเป็นหลัก หากเป็นคำถามเชิงบวกคำตอบในกลุ่มแรกจะได้ 1 คะแนน ส่วนคำตอบทั้งหมด
               ในกลุ่มที่สองจะได้ 0 คะแนน แต่หากเป็นคำถามเชิงลบการให้คะแนนจะกลับกัน

                       เมื่อแทนค่าคะแนนความเป็นพลเมืองจนครบ 30 ชุดแล้วผู้วิจัยจึงใช้โปรแกรมเอกเซล (excel)
                                           s
               คำนวณหาค่าความแปรปรวน (S ) ซึ่งได้ 20.48 แล้วจึงหาค่าคำตอบที่เข้าใกล้ความเป็นพลเมือง (p) และ
               คำตอบที่ไม่แสดงความเป็นพลเมือง (q) ตามลำดับ จากนั้นจึงแทนค่าที่ได้ในสูตรข้างต้นซึ่งได้ดังต่อไปนี้

                              R KR-20 = 30    [ 1-4.60]
                                        30-1   20.48

                       ค่าที่ได้จากการคำนวณด้วยสูตร KR-20 ข้างต้นอยู่ที่ 0.80 ซึ่งมีค่าเข้าใกล้ 1 แสดงให้เห็นว่า
               แบบสอบถามเพื่อวัดความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองชุดนี้มีความน่าเชื่อถือสามารถนำมาใช้วัดความเป็น

               พลเมืองตระหนักรู้และกระตือรือร้นได้


                       วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

                       การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามสำหรับโครงการวิจัยวัดความเป็นพลเมืองในพื้นที่บูรณาการนี้

               แบ่งการเก็บข้อมูลออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะก่อนเข้าร่วมโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง และ
               ระยะหลังเข้าร่วมโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง เพื่อวัดคะแนนความเป็นพลเมืองที่เปลี่ยนแปลง

               ไปก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม วิธีการและระยะเวลาในการเก็บแบบสอบถามนั้น
               แตกต่างกันออกไประหว่างกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้า หรือกลุ่มแกนนำ

               พลเมือง กับกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้รับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้าแต่คาดหวังว่าจะได้รับ

               ผลกระทบจากโครงการหรือกิจกรรมที่แกนนำพลเมืองดำเนินการในระดับพื้นที่ตามกรอบการสร้างความเป็น
               พลเมืองในระยะที่สองของโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง

                       สำหรับกลุ่มแกนนำพลเมืองนั้น การวัดความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองจะกระทำกับผู้เข้ารับการ
               อบรมทุกคน โดยการเก็บแบบสอบถามครั้งแรกจะดำเนินการก่อนที่แกนนำพลเมืองเหล่านี้จะได้รับการอบรม

               จากสถาบันพระปกเกล้า จากนั้น ผู้วิจัยจะเก็บแบบสอบถามชุดเดิมกับกลุ่มเป้าหมายเดิมอีกครั้งเมื่อการอบรม

               ผ่านไปแล้ว 3 เดือน เนื่องจากต้องการให้ระยะเวลาแก่แกนนำพลเมืองในการขยายผลปฏิบัติการสร้างความ
               เป็นพลเมืองในระดับพื้นที่ตามกรอบการสร้างความเป็นพลเมืองในระยะที่สองเสียก่อน โดยการเก็บ

               แบบสอบถามภายหลังมีปฏิบัติการส่งเสริมความเป็นพลเมืองนี้ผู้วิจัยจะใช้วิธีส่งแบบสอบถามไปทางไปรษณีย์

               ตามที่อยู่ที่แกนนำพลเมืองให้ไว้ พร้อมทั้งสอดซองจดหมายที่จ่าหน้าซองเป็นที่อยู่ของสถาบันพระปกเกล้า
               พร้อมติดแสตมป์ไปพร้อมกับแบบสอบถามดังกล่าวด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มเป้าหมายได้ส่งคืน

               แบบสอบถามคืนมายังผู้วิจัยทางไปรษณีย์


                                                                                                        49
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65