Page 72 - kpi21595
P. 72

การศึกษาเชิงคุณภาพ

                       การศึกษาเชิงคุณภาพสำหรับงานวิจัยฉบับนี้ มุ่งตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองในเชิง
               คุณภาพเพื่อทวนสอบข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเชิงปริมาณในส่วนแรก ตลอดจน เพื่อค้นหาเงื่อนไขปัจจัยที่

               ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองที่ผ่านมา โดยการศึกษาจะเก็บข้อมูลเชิงลึกจากอำเภอ

               นำร่องที่ได้รับการคัดเลือกจากคะแนนสถิติที่ดำเนินการไปในส่วนของการศึกษาเชิงปริมาณ ซึ่งคาดว่าจะต้องได้
               อย่างน้อย 3 อำเภอเพื่อเป็นตัวแทนสำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพต่อไปว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร

               ในส่วนของเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งผลให้ประชากรตัวอย่างของอำเภอนำร่องดังกล่าวมีคะแนนความเป็นพลเมือง
               เปลี่ยนแปลงไปในระดับมาก ปานกลาง และน้อย ดังนั้น การศึกษาเชิงคุณภาพสำหรับงานวิจัยชิ้นนี้

               จึงดำเนินการภายหลังจากการศึกษาเชิงปริมาณดำเนินการเรียบร้อยแล้ว สำหรับรายละเอียดในการศึกษาเชิง

               คุณภาพมีดังต่อไปนี้


                       ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                       ประชากรที่ผู้วิจัยจะทำการศึกษาเชิงคุณภาพในงานวิจัยชิ้นนี้ คือประชากรในอำเภอนำร่องที่มีคะแนน

               ความเป็นพลเมืองเปลี่ยนแปลงไปในระดับมาก ปานกลาง และน้อย ซึ่งได้จากการคัดเลือกด้วยวิธีการทางสถิติ

               ในการศึกษาเชิงปริมาณ และเพื่อให้การศึกษาเชิงคุณภาพสามารถตอบวัตถุประสงค์การศึกษาเรื่องเงื่อนไข
               ปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองที่ผ่านมาได้ ผู้วิจัยจึงใช้วิธีการเลือกกลุ่ม

               ตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) พื้นที่ โดยเลือกศึกษาเชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างในตำบลที่แกนนำ

               พลเมืองได้มีการขยายผลโครงการ/กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างพลังพลเมืองออกไป เพื่อให้ข้อมูลที่ได้เชื่อมโยงกับ
               การวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองที่เกิดขึ้นจากการศึกษาในส่วนแรกและเพื่อให้ทราบเงื่อนไข

               ปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางการสร้างความเป็นพลเมืองตามกรอบการวิจัย ที่กำหนดไว้ในเรื่องของปัจจัยนำเข้า
               (input) กระบวนการ (process) สภาพแวดล้อม (environment) ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง รวมไป

               ถึงสภาพจิตใจอันเกิดจากสภาพแวดล้อมและการขัดเกลาทางการเมืองของผู้คน ว่าเงื่อนไขปัจจัยใดที่ส่งผลต่อ

               ความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองของประชากรตัวอย่างมากกว่ากันและเป็นไปในทิศทางใด ในที่นี้คือ
               หากผลการศึกษาพบว่ามีความแตกต่างของปัจจัยข้างต้นในอำเภอที่มีคะแนนความเป็นพลเมืองเปลี่ยนแปลงไป

               มากที่สุดกับอำเภอที่มีคะแนนความเป็นพลเมืองเปลี่ยนแปลงไปน้อยที่สุด ย่อมแสดงให้เห็นว่าตัวแปรด้านปัจจัย
               นำเข้า กระบวนการ และสภาพแวดล้อมตัวหนึ่งตัวใดย่อมส่งผลต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็น

               พลเมืองในระดับพื้นที่ ในทางกลับกันหากไม่พบความแตกต่างกันของปัจจัยดังกล่าวระหว่างอำเภอที่มีคะแนน

               ความเป็นพลเมืองสูงกับอำเภอที่มีคะแนนความเป็นพลเมืองน้อยย่อมหมายถึงอาจมีปัจจัยอื่นนอกเหนือจาก
               การศึกษาที่ส่งผลต่อการสร้างสำนึกพลเมืองสู่ประชากรในพื้นที่

                       ดังนั้น ก่อนลงพื้นที่เก็บข้อมูลเชิงลึก ผู้วิจัยจึงกำหนดให้มีการพูดคุยกับทีมงานและศูนย์พัฒนาการเมือง

               ภาคพลเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อสอบถามข้อมูลโครงการ/กิจกรรมของแกนนำระดับอำเภอนำร่อง เพื่อ
               พิจารณาคัดเลือกตำบลที่แกนนำพลเมืองระบุว่าได้มีปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองเสียก่อน เพื่อใช้เป็นพื้นที่

               หลักในการสุ่มกลุ่มตัวอย่างในระดับพื้นที่สำหรับเก็บข้อมูลเชิงลึกต่อไป ว่าพวกเขาได้รับรู้เกี่ยวกับกิจกรรม


                                                                                                        61
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77