Page 73 - kpi21595
P. 73
ดังกล่าวหรือไม่และพวกเขารู้สึกอย่างไร ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวหรือไม่ และภายหลังจากดำเนินกิจกรรม
นั้นๆแล้วมีการเปลี่ยนแปลงใดเกิดขึ้นกับหมู่บ้านหรือตำบลของตนบ้างหรือไม่ เป็นต้น
สำหรับการกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ผู้วิจัยกำหนดไว้สำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพนั้น
ประกอบด้วย ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 กลุ่ม คือ 1) แกนนำพลเมืองในฐานะปัจจัยนำเข้าประการหนึ่งและใน
ฐานะกลไกที่จะขับเคลื่อนกระบวนการสร้างความเป็นพลเมืองในพื้นที่ 2) หน่วยงานราชการในพื้นที่ ในที่นี้คือ
นายอำเภอและผู้นำท้องที่ผู้นำท้องถิ่นผู้ซึ่งจะสามารถสะท้อนสภาพแวดล้อมทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และ
สังคม ในระดับอำเภอและระดับตำบลที่อาจส่งผลกระทบต่อการสร้างความเป็นพลเมืองของประชากรตาม
กรอบทฤษฎีได้ 3) คือตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ ในฐานะเป้าหมายของการสร้างความเป็นพลเมืองตระหนักรู้
และพลเมืองกระตือรือร้น
ในส่วนของกลุ่มเป้าหมายแรกหรือแกนนำพลเมืองนั้น ผู้วิจัยจะคัดเลือกจากแกนนำพลเมืองที่เป็นผู้นำ
ชุมชนหรือเป็นแกนนำพลเมืองในระด้บพื้นที่เป็นหลัก เนื่องจากโครงการ/กิจกรรมที่คนกลุ่มนี้ดำเนินการจะ
ส่งผลกระทบไปสู่ชาวบ้านในชุมชนได้โดยตรงซึ่งประชากรกลุ่มนี้เป็นเป้าหมายหลักในการสร้างความ
เปลี่ยนแปลงสำนึกและพฤติกรรมความเป็นพลเมืองให้เกิดขึ้น นอกจากนั้น การเก็บข้อมูลเชิงลึกกับแกนนำ
พลเมืองซึ่งเป็นคนในพื้นที่จะช่วยให้เห็นเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการสร้างความเป็นพลเมือง
ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เป็นจริงได้อีกด้วย สำหรับการคัดเลือกแกนนำพลเมืองเพื่อสัมภาษณ์นั้นผู้วิจัยจะ
คัดเลือกมาเพียงหนึ่งคนเพื่อเป็นหลักในการให้ข้อมูลเชิงลึก โดยพิจารณาจากการปฏิบัติงานจริงและความ
พร้อมที่จะให้ข้อมูลของผู้นันเป็นหลัก สำหรับแกนนำพลเมืองคนอื่นอาจพูดคุยด้วยได้หากมีเวลา เพื่อให้ได้
ข้อมูลแวดล้อมต่างๆ เช่นเดียวกันกับประธานกรรมการและกรรมการศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง จังหวัด
ร้อยเอ็ด ของสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งอาจมีการพูดคุยเพิ่มเติมเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาทวนสอบกันในส่วนของการ
วิเคราะห์ข้อมูล
ด้านกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเจ้าหน้าที่หรือพนักงานของรัฐนั้น ผู้วิจัยมองว่าคนกลุ่มนี้มีความสำคัญที่จะ
ชี้ให้เห็นได้ว่าสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติโครงการ/กิจกรรมต่างๆในระดับพื้นที่นั้นเป็นอย่างไร มีเงื่อนไขใดที่
ติดขัดบ้างหรือไม่ เพราะจากกรอบการวิจัยจะเห็นได้ว่ากระบวนการสร้างความเป็นพลเมืองจะสำเร็จหรือไม่นั้น
สิ่งที่สำคัญอีกประการคือสภาพแวดล้อมทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคมที่โอบล้อมประชาชนอยู่ และอาจ
ส่งผลต่อการตัดสินใจมีพฤติกรรมหรือไม่มีพฤติกรรมความเป็นพลเมืองของประชากรในพื้นที่ได้ ดังนั้นแม้
โครงการวิจัยนี้จะมุ่งเน้นประเมินความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองที่เกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก
ว่าเป็นผลมาจากกระบวนการส่งเสริมและสร้างความเป็นพลเมืองของสถาบันพระปเกล้า โดยสำนักส่งเสริม
การเมืองภาคพลเมืองหรือไม่ กระนั้นก็ไม่อาจปฏิเสธว่าแต่ละพื้นที่ย่อมมีบริบทเฉพาะบางประการซึ่งอาจส่งผล
ให้ปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างพลังพลเมืองได้รับการสนับสนุนหรือถูกขัดขวาง อาทิ บทบาทของหน่วยงาน
ราชการในระดับพื้นที่ที่มีต่อการส่งเสริมความรู้พฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของพลเมือง ความเชื่อ วัฒนธรรม
และสภาพแวดล้อมทางด้านสังคมเศรษฐกิจและการเมืองอยู่ไม่น้อย ดังนั้น ในการศึกษาเชิงคุณภาพจึงไม่อาจละ
ทิ้งประเด็นเหล่านั้นได้
62