Page 74 - kpi21595
P. 74

โดยบุคคลแรกที่ไม่อาจละเลยสอบถามถึงโครงการกิจกรรมและความเป็นไปเกี่ยวกับการส่งเสริมความ

               เป็นพลเมืองในพื้นที่ในระดับอำเภอได้ก็คือ นายอำเภอ ซึ่งสามารถให้ภาพรวมของแนวทางการสร้างความเป็น
               พลเมือง ตลอดจน ความสนใจ ใส่ใจ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของทั้งตัวเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนได้

               พอสมควร แม้ว่านายอำเภอบางคนอาจมีการโยกย้ายไปบ้าง กระนั้น นายอำเภอก็สามารถสั่งการให้หน่วยงาน

               ในสำนักงานปลัดอำเภอ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการและลักษณะพื้นที่ของอำเภอโดยรวมได้ อันจะเป็น
               ประโยชน์ต่อการวิจัยอย่างมาก โดยในที่นี้เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์เพิ่มเติมจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยจึง

               กำหนดขอเอกสารที่เกี่ยวข้องจากทุกอำเภอเป้าหมายด้วย เพื่อนำมาพิจารณาร่วมกันว่าที่ผ่านมามีโครงการ/
               กิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยปรากฎอยู่ในแผนพัฒนาจังหวัด

               แผนพัฒอำเภอ หรือในแผน/ข้อบัญญัติเทศบาล/อบต.บ้างหรือไม่ หากมีเป็นไปในลักษณะใด และที่ผ่านมามี

               ผลกระทบอย่างไรบ้าง รวมไปถึงเพื่อค้นหาว่าในแผนพัฒนาระดับต่างๆนั้นมีโครงการใดบ้างที่สถาบัน
               พระปกเกล้าได้เคยดำเนินการกับแกนนำพลเมืองและถูกผลักดันให้บรรจุอยู่ในแผนฯดังกล่าว

                       ผลการศึกษาในส่วนนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมอันอาจส่งผลเป็นการ
               สนับสนุนหรือขัดขวางต่อการสร้างสำนึกพลเมืองแก่คนในพื้นที่ กล่าวคือ หากพบว่ามีโครงการเพื่อส่งเสริมความ

               เป็นพลเมืองในระดับตำบลและระดับอำเภออยู่เป็นจำนวนน้อยในอำเภอที่มีคะแนนความเป็นพลเมือง

               เปลี่ยนแปลงไปมาก ก็อาจเป็นไปได้ว่าคะแนนความเป็นพลเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นอาจเกิดจากเงื่อนไขอื่น
               อาทิ ปัจจัยด้านแกนนำพลเมืองและโครงการต่างๆที่แกนนำพลเมืองผลักดันสู่คนในพื้นที่ หรืออาจเป็นเพราะ

               ปัจจัยส่วนบุคคลก็เป็นได้ ในทางกลับกันหากพบว่ามีโครงการเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระดับตำบลและ

               ระดับอำเภอจำนวนมากในอำเภอนำร่องที่มีคะแนนความเป็นพลเมืองเปลี่ยนแปลงไปมาก ขณะเดียวกันอำเภอ
               ที่มีการเปลี่ยนแปลงคะแนนความเป็นพลเมืองน้อยก็พบว่ามีโครงการเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระดับ

               ตำบลและระดับอำเภอจำนวนมาก ก็อาจเป็นไปได้ว่าเงื่อนไขด้านสภาพแวดล้อมดังกล่าวเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่
               ส่งเสริมต่อการสร้างสำนึกพลเมืองนอกเหนือจากปฏิบัติการส่งเสริมความเป็นพลเมืองของแกนนำพลเมืองใน

               ระดับพื้นที่

                       นอกเหนือจากนายอำเภอและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแล้ว ผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่นก็เป็นอีก
               กลุ่มเป้าหมายหนึ่งที่ผู้วิจัยกำหนดให้ต้องลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้วย เนื่องจากคนกลุ่มนี้คือผู้ที่มีประสบการณ์ในการ

               ปฏิบัติจริงระดับพื้นที่ ดังนั้น นอกจากพวกเขาจะสามารถยืนยันได้ว่าโครงการต่างๆที่มีระบุไว้ในแผนพัฒนา
               จังหวัดและอำเภอรวมไปถึงในข้อบัญญัติต่างๆนั้นมีการดำเนินการจริงหรือไม่อย่างไรแล้ว พวกเขายังสามารถ

               ระบุให้เห็นระดับความสำเร็จของโครงการเหล่านั้นในการสร้างความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และพลเมือง

               กระตือรือร้นได้อีกด้วย
                       สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชากรในพื้นที่เป้าหมายหลักของโครงการนี้ ผู้วิจัยจะคัดเลือกกลุ่ม

               ตัวอย่างเพียง 5 คนต่ออำเภอเท่านั้น โดยพิจารณาเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในพื้นที่รับผลกิจกรรมที่ดำเนินการ

               โดยแกนนำพลเมืองเป็นหลัก เพื่อสัมภาษณ์เกี่ยวกับโครงการต่างๆในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองของแกนนำ
               พลเมืองว่าพวกเขารู้จัก เคยได้ยิน และได้เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านั้นหรือไม่ พวกเขารู้สึกอย่างไรและมองว่า

               กิจกรรมดังกล่าวได้สร้างคุณูปการใดให้แก่ชุมชนของเขาและตัวของเขาเองบ้างหรือไม่ พร้อมทั้งสอบถาม


                                                                                                        63
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79