Page 124 - 21736_Fulltext
P. 124

103



                                   3. คู่กรณียอมรับความจริงและ ยอมรับกฎระเบียบ ปฏิบัติตามกฎของการเจรจา เช่น
                       ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดแทรก พูดเรื่องจริง อีกทั้งการขอโทษและเยียวยาซึ่งกันและกัน

                       เยียวยาความรู้สึกและสิ่งที่สูญเสีย

                                   “กรณีต่อยเพื่อนแว่นแตก ผู้ก่อเหตุยอมจ่ายค่ารักษาพยาบาล และชดใช้ค่าวัสดุที่

                       เสียหาย ผู้เสียหายยอมรับการขอโทษและเยียวยา  รวมถึงมีข้อตกลงร่วมกัน” (อติชาต ตันเจริญ
                       อาจารย์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, วันที่ 7 กรกฎาคม 2558) สอดคล้องกับแนวคิดที่ระบุว่าคู่กรณี มี

                       การแสดงความรับผิดชอบ กรณีที่ยอมรับว่าตนเองได้กระทำผิดไปต่อคู่กรณี ไม่ปฏิเสธถึงสิ่งที่ได้ทำไป

                       และพร้อมที่จะแสดงความรับผิดชอบอย่างเต็มที่เพื่อเยียวยาความรู้สึกของคู่กรณี
                                   4. ต้องปรับความสัมพันธ์ทางอำนาจคู่กรณีให้เท่ากัน


                                   “บางกรณีมีผู้ปกครองมาแต่อีกฝ่ายไม่มี ผู้ปกครองก็จะเป็นฝ่ายพูด อีกฝ่ายพูดอะไรไม่
                       ออก เนื่องจากอีกฝ่ายเป็นผู้ใหญ่” (อติชาต ตันเจริญ, อาจารย์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, วันที่ 7

                       กรกฎาคม 2558) สอดคล้องกับแนวคิดที่ว่า อำนาจที่ใกล้เคียงกันของคู่กรณีเป็นสิ่งสำคัญ อำนาจที่ไม่
                       เท่าเทียมกันหรือแตกต่างกันมากของคู่กรณี ถ้าหากคู่กรณีสามารถตกลงกันได้ ก็จะนำไปสู่ข้อตกลงที่

                       ไม่ยั่งยืนและไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นได้ ในการเจรจาอยู่บนพื้นฐานความเชื่อว่าความสมดุลของ

                       อำนาจระหว่างคู่กรณีจะนำไปสู่ความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง

                                   ผลการศึกษาที่แตกต่างจากแนวคิด ทฤษฎีที่ได้รวบรวมไว้คือ

                                   1. คู่กรณีต้องพร้อมและสมัครใจเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย อาจจะให้เลือกระหว่างไป

                       พบกับฝ่ายปกครองหรือจะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยโดยเพื่อนนักเรียน

                                   2. คู่กรณีเข้าใจกระบวนการไกล่เกลี่ย อีกทั้ง เห็นความสำคัญของการไกล่เกลี่ย เชื่อมั่น
                       ในกระบวนการ (มีความศักดิ์สิทธิ์)

                                   3. คนที่เกี่ยวข้องไม่ควรยุยงมากเกินไป อาจแยกผู้เกี่ยวข้องออกไปก่อน โดยพูดคุย

                       เฉพาะคู่กรณี รวมถึงการได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง

                                   4.5.3.3 การสร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจ

                                   ผลการศึกษาจากทั้ง 4 สถานศึกษาในประเด็นการสร้างความสัมพันธ์และความ

                       ไว้วางใจ กับความสำเร็จของการไกล่เกลี่ยในสถานศึกษา พบว่า

                                   1. คู่กรณีกับคนกลางควรมีความไว้วางใจกัน การรู้จักกันมาก่อนของคนกลางกับคู่กรณี
                       เช่น อาจารย์จะรู้จักมักคุ้นเด็กมาก่อน หรือคู่กรณีอาจจะรู้จักคนกลางมาก่อน การรู้สถานะกันมาก่อน

                       อยู่แล้วทำให้การพูดคุยง่ายขึ้น แต่อีกแนวคิดหนึ่งเห็นว่าคู่กรณีกับผู้ไกล่เกลี่ยไม่ควรมีความสัมพันธ์ต่อ
                       กันเพื่อความไว้วางใจของทุกฝ่าย
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129