Page 128 - 21736_Fulltext
P. 128
107
ด้านสื่อต่างๆ ทีเกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ย เพื่อความรู้และความเข้าใจ” (วันวร จะนู, ผู้ช่วยรอง
อธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, วันที่ 7 กรกฎาคม 2558)
“ อบรมให้กับบุคลากรในโรงเรียนที่ไม่ได้เป็นคู่กรณีโดยตรงในด้านสันติวัฒนธรรม ผู้
ไกล่เกลี่ยมีการทำงานเป็นทีม เช่น รูปแบบ คณะทำงาน มีคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมเป็นตัวช่วย
กำกับ ถ้าผู้ไกล่เกลี่ยคนเก่าออกไปแล้วมีตัวแทนต่อเนื่อง สำหรับครู /หัวหน้าสถานศึกษามีผู้ทำ
หน้าที่ชัดเจน ครูด้วยกัน ครูด้วยกันต้องเข้าใจเรื่องระบบการไกล่เกลี่ย รวมถึงฝ่ายปกครองต้องเข้ามา
มีส่วนร่วมในการไกล่เกลี่ย” (มานิต คงเจริญ รองผู้อำนวยการโรงเรียนพนมสารคามฯ, วันที่ 8
มิถุนายน 2558) สอดคล้องกับแนวคิดที่ระบุว่าบุคลากรควรมีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการ
ไกล่เกลี่ย
4.5.3.6 องค์ความรู้และการเผยแพร่ความรู้
นอกจาก 5 ปัจจัยที่ได้กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นคนกลาง คู่กรณี การสร้างความสัมพันธ์
และไว้วางใจ บริบทสภาพแวดล้อม และทรัพยากรที่เพียงพอแล้ว ยังมีปัจจัยองค์ความรู้และการ
เผยแพร่ความรู้ ผู้บริหารเห็นว่า เป็นไปไม่ได้ที่อยู่ดีๆ เราจะมีการไกล่เกลี่ยขึ้นมาโดยที่เราไม่รู้อะไร
เลย ซึ่งการสนับสนุนทางวิชาการนั้น ได้มาจากศาลยุติธรรม จากสถาบันพระปกเกล้า จากหน่วยงาน
อื่นๆ แต่ก็ต้องมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับโรงเรียน และเมื่อได้รับความรู้มาแล้ว สิ่งสำคัญคือ การให้
ความรู้กับนักเรียนและครูอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่เฉพาะตัวผู้ไกล่เกลี่ย เพราะการประชาสัมพันธ์ก็
เป็นเรื่องสำคัญ ก่อนหน้าที่จะมีการไกล่เกลี่ยนั้นก็มีการประชาสัมพันธ์กับนักเรียน ประชุมทุกระดับ
และให้ความรู้ นักเรียนเข้าใจและยอมรับกระบวนการไกล่เกลี่ยได้มากขึ้น
กล่าวโดยสรุปในบทนี้เป็นการนำเสนอในหัวข้อผลการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัย
โดยในส่วนแรกเป็นการนำเสนอผลการวิจัยของสถานศึกษา 4 แห่ง คือ 1. ศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิ
บาลนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2. โรงเรียนพนมสารคาม พนมอดุลวิทยา จังหวัด
ฉะเชิงเทรา 3. โรงเรียนสตรีนนทบุรี 4. โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ ในหัวข้อประเด็นความสำเร็จในการ
ไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษา และปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง
ในสถานศึกษา ในส่วนที่สอง เป็นการประเมินความสำเร็จและปัจจัยแห่งความสำเร็จในการไกล่เกลี่ย
โดยคนกลางในสถานศึกษาโดยเป็นการประมวลภาพรวม เชื่อมโยงประเด็นที่มีความเหมือนกันและ
ความต่างกันในประเด็นความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง อะไรคือความสำเร็จในการไกล่เกลี่ย
โดยคนกลางและประเมินหน่วยงานตนเองถึงความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยในสถานศึกษาทั้ง 4 แห่ง
เชื่อมโยงกับแนวคิด ทฤษฎี ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร