Page 178 - 21736_Fulltext
P. 178
157
จุฑามาศ: ควรใช้ระบบเครือญาติ เช่น รุ่นพี่ ความเป็นพี่เป็นน้อง) เป็นรุ่นพี่ที่เป็นกลาง
ในความเป็นโรงเรียนเดียวกัน
บุษรินทร์: ไม่จำเป็นต้องเจรจาในห้อง อาจจะเป็นสถานที่สงบร่มรื่น สถานที่ผ่อนคลาย มี
กฎ การอยู่ร่วมกัน –คนกลางเป็นผู้หญิง/ผู้ชายไกล่เกลี่ยก็ได้
อาจารย์มานิต: – ห้องเจรจาต้องมีบรรยากาศที่มีความพร้อม ไม่ร้อน อบอ้าว – คน
กลางต้องมีประสบการณ์ในการเจรจา – ความเป็นพี่เป็นน้อง
อาจารย์พิชัย: - ความเป็นพี่เป็นน้อง ความเป็นรุ่นพี่รุ่นน้อง
แม่วิภา:
- ความไว้วางใจ สร้างความเป็นมิตรให้ช่องว่างระหว่างกันน้อยที่สุด
- ความเหมือนกัน
- เป็นนักเรียนเหมือนกัน
- ครูไม่เหมือนเรา ใช้องค์กรที่เป็นนักเรียนเหมือนกัน
- ชั้นระดับใกล้เคียงกัน
- ทำให้ช่องว่างหายไป มีกลยุทธ์ สร้างความเหมือนบนพื้นฐานความแตกต่าง
4.5 ทรัพยากรควรมีอะไรบ้าง?
บุษรินทร์ (ผู้แทนตอบ): มีผู้ไกล่เกลี่ยมีประสบการณ์ที่ดี คู่กรณีที่สามารถพูดคุยกันได้
ด้วยความเข้าใจ สภาพแวดล้อม คณะทำงาน ทีม work มีคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม เหมือนอิฐ
บล็อกเดียวกันก็จะลงตัว
อาจารย์มานิต: มีองค์ความรู้และประสบการณ์ในตัวของคนกลาง ควรจะมีความต่อเนื่อง
งบประมาณใช้ในการอบรมนักเจรจา เช่น ปีหนึ่งใช้งบฯ ประมาณ 20,000 บาท
อาจารย์พิชัย: จัดสถานที่ให้เหมาะสมแก่การไกล่เกลี่ย (ห้องสารวัตรนักเรียนใช้เป็นห้อง
ไกล่เกลี่ย) ถ้ามีงบประมาณก็ดี ตู้เย็น/น้ำเย็น ทรัพยากรบุคคล (ทีมงานเข้มแข็ง) ถ้าคนเก่าออกไปแล้ว
มีตัวแทน ครู/หัวหน้าสถานศึกษา ปัจจัยที่ทำให้งานไกล่เกลี่ยประสบความสำเร็จ คือ ตัวนักเรียน-
ทีมงาน
แม่วิภา: - ปัจจัยทรัพยากร – บุคคล – อาศัยความรู้ฐานความเข้าใจ เวลา สร้างความ
ตระหนักได้ ปัจจัยหนุนเสริม โต๊ะ/เก้าอี้ แอร์ ตุ๊กตา งบประมาณ บรรยากาศ
5. ข้อเสนอเพื่อพัฒนางานไกล่เกลี่ยควรเป็นอย่างไรบ้าง
1. กรณีข่มขู่จากเหตุการณ์รุ่นพี่เดินชนรุ่นน้อง แล้วไม่ขอโทษ (เชิงรุ่นพี่ข่มน้อง) ต้องมีระบบ
ในการจัดการเรื่องนี้