Page 181 - 21736_Fulltext
P. 181

160



                              3.1 คนกลางควรเป็นอย่างไร? (เช่น เป็นกลาง มีบารมี ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย มีจริยธรรม

                       ทักษะการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม เป็นต้น)

                                 นางสาวปณิตา: คนกลางต้องมีความยุติธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย สามารถพูดให้คู่กรณีสบาย

                       ใจ ไม่เกิดการทะเลาะกัน สามารถเก็บความลับของทั้ง 2 ฝ่ายได้ ไม่เช่นนั้นจะเกิดผลเสียตามมา

                                 นางสาวพัชราวดี: ควรมีทักษะการโน้มน้าว ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับในการให้เข้ามาไกล่เกลี่ย
                                 นางสาวชนิกานต์: เป็นคนที่มีวุฒิภาวะมากกว่า ถ้าคนกลางอายุเท่ากับคู่กรณี

                       จำเป็นต้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับ
                                 อาจารย์นงนาถ: เป็นคนใจเย็น หนักแน่น ยอมรับความคิดเห็นของทั้ง 2 ฝ่าย โน้มน้าว

                       ได้ดี

                                 อาจารย์แน่งน้อย: มีความเป็นมิตร มีความอดทนสูง รู้บทบาทหน้าที่ของตัวเอง มีภาวะ
                       ผู้นำ มีความสุขุม


                              3.2 คู่กรณีควรเป็นอย่างไร (เช่น เป้าหมายร่วมกัน การเคารพมุมมองอีกฝ่าย อำนาจ)

                                 นางสาวชนิกานต์: คู่กรณีไม่ใส่อารมณ์มากเกินไป คนที่เกี่ยวข้องไม่ยุยงมากเกินไป

                                 นางสาวพัชราวดี: คู่กรณีต้องใจเย็นลงก่อนมาเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย คุยกับคู่กรณี
                       โดยแยกผู้เกี่ยวข้องออกไปก่อน

                                 นางสาวปณิตา: คู่กรณีต้องใจเย็นลงก่อน
                                 อาจารย์นงนาถ: ยอมรับกติกาในระหว่างการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย ผลัดกันพูด

                       ผลัดกันฟัง

                                 อาจารย์แน่งน้อย: ยอมรับการขอโทษ คู่กรณีและผู้ปกครองยอมรับกติกาและผลของ
                       การเข้าร่วมการไกล่เกลี่ย โดยปกติจะไกล่เกลี่ยโดยการผ่านหัวหน้าระดับก่อน ถ้าเรื่องยังไม่ยุติก็จะสง

                       เรื่องมาที่รองผู้ช่วยฯ สุดท้ายถ้ายังไม่จบก็จะลงไปช่วยไกล่เกลี่ยด้วยตัวเอง

                              3.3 การสร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจควรมีหรือไม่ อย่างไร


                                 นางสาวชนิกานต์: ความไว้วางใจมีความสำคัญมาก คนกลางต้องยิ้มแย้ม
                                 นางสาวปณิตา: เกิดจากคนกลางได้พูดคุยเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของคู่กรณีก่อน

                                 นางสาวพัชราวดี:  สร้างความเป็นกันเอง ให้เหมือนกับว่าเราเป็นเพื่อนของคู่กรณี

                       อาจจะคุยเล่นกันก่อน แล้วค่อยเริ่มถามถึงเรื่องที่เกิดขึ้น คู่กรณีไว้ใจกัน ยอมรับผลของการไกล่เกลี่ย
                       ไม่นำเรื่องไปพูดต่อ ใส่ความกันต่อ สามารถไกล่เกลี่ยกันในสถานที่ที่สะดวกได้เลย

                                 อาจารย์นงนาถ: สถานที่ที่มิดชิด ไม่มีคนพลุกพล่าน คนกลางมีบุคลิกที่ทั้ง 2 ฝ่ายเชื่อถือ
                       ได้ รุ่นพี่เป็นคนกลางและมีทักษะการพูด
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186