Page 174 - 21736_Fulltext
P. 174

153



                              อาจารย์พิชัย: เนื่องจากโรงเรียนเราเป็นโรงเรียนนำร่องซึ่งทำมานานแล้ว เม่อเกิดข้อพิพาท
                       เด็กๆ ก็จะรู้ว่า win-win ทั้งคู่ การให้เด็กเข้าไปไกล่เกลี่ยเอง เขาจะใช้ภาษาที่คุยกันง่ายกว่าที่จะให้ครู

                       ไปคุย
                              แม่วิภา: ปัจจัยภายใน คือ ผู้บริหาร คณาจารย์-เจ้าหน้าที่ ต้องเห็นความสำคัญของ

                       กระบวนการไกล่เกลี่ยในสถานศึกษา นักเรียนเห็นประโยชน์ของการนำกระบวนการมาใช้ บุคลากรที่

                       เป็นตัวกลาง การยอมรับของทุกฝ่าย (คู่กรณีและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง) การเปิดโอกาสให้บุคลากรมี
                       หนทางที่จะเดินไปสู่สิ่งอื่นมากขึ้น มีประสบการณ์มากขึ้น

                              ปัจจัยภายนอก: บุคลาภายนอกเห็นความสำคัญของการเจรจาไกล่เกลี่ยในโรงเรียน มีความ
                       ไว้วางใจ การให้รางวัลแก่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่บุคลากรที่เข้ารับการอบรม

                       กระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย, ให้คำชมเชยแก่คู่กรณีหลังจากข้อพิพาทยุติลงด้วยดี, หน่วยงานที่ให้องค์

                       ความรู้อย่างต่อเนื่อง

                              4.1 คนกลางควรเป็นอย่างไร? (เช่น เป็นกลาง มีบารมี ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย มีจริยธรรม

                       ทักษะการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม เป็นต้น)

                                 ปริยาภัทร: ควรจะมีความยุติธรรม เป็นกลาง มีทักษะในการพูด

                                 บุษรินทร์: คนกลาง ควรมีการสื่อสารที่ดี พูดให้คู่กรณีพูดความจริง มีการโน้มน้าว
                                 นนทกาญจน์: คนกลางควรมีความยุติรรม ซื่อตรง เปิดใจให้ 2 ฝ่ายพูดคุยกัน

                                 จุฑามาศ: –ลักษณะของคนกลาง รอยยิ้ม มนุษยสัมพันธ์ มีทักษะในการเจรจาไกล่เกลี่ย

                       ฟังความทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ให้ฝ่ายใดถูก-ผิด แต่หาทางออกให้ทั้ง 2 ฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันได้
                                 นภดล: คนกลางควรมีการสื่อสารที่ดี พูดให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจ สามารถเปลี่ยนแปลงไป

                       ในทางที่ดียิ่งขึ้น คณะกรรมการไกล่เกลี่ยควรทำงานเป็นทีม ช่วยกันพูด – ไกล่เกลี่ยให้ประสบ
                       ผลสำเร็จ

                                 ชนาธิป: คนกลางไม่ควรเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลย ทำให้คู่กรณีเข้าใจกันได้

                                 อัญชนา: คนกลางควรมีความยุติธรรม รับฟังทั้ง 2 ฝ่าย ไม่สรุปผลว่าฝ่ายใดแพ้หรือชนะ
                       ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีคุณธรรม เพื่อนๆ ไว้ใจ ผ่านการอบรมการเป็นนักเจรจาไกล่เกลี่ยมาแล้ว

                                 ธีรกานต์: คนกลางต้องไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นคนที่เพื่อนไว้ใจ มีคุณธรรม
                                 ธนากร: เป็นคนหน้าตาน่ารัก พูดเข้าใจง่าย

                                 เด็กหญิง ก: คนกลางควรเป็นคนที่มีความยุติธรรม ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

                                 เด็กหญิง ข: คนกลางควรเป็นคนอัธยาศัยดี พูดเก่ง friendly มีทักษะในการพูด ไม่พูด
                       กดดันคู่กรณี ไม่โน้มเอียง ไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ไม่กดดันคู่กรณี พูดจาเรียบร้อย (อ่อนหวาน)

                       เหมือนพี่ลูกหมี สงบสติอารมณ์
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179