Page 173 - 21736_Fulltext
P. 173

152



                              อาจารย์พิชัย: ตอนนี้โรงเรียนไม่มีการทำโทษโดยการใช้ไม้เรียว มีคดีความน้อยลงอย่างเห็น
                       ได้ชัด ไม่มีคดีใหญ่ๆ เนื่องจากครูเข้าไปมีส่วนร่วมในการเข้าไปใกล้ชิดกับเด็ก และพยายามจัดกิจกรรม

                       ให้เด็กได้ทำอย่างต่อเนื่อง ให้เขาได้มีจุดสนใจอะไรสักอย่างก็จะไม่มีเวลาว่างไปทะเลาะกัน ความ
                       ขัดแย้งระหว่างโรงเรียนจะเกิดขึ้นน้อย ปีที่แล้วเกิดเหตุกับโรงเรียนวัดต้นตาล ซึ่งได้ประสานกับ

                       อาจารย์โรงเรียน ว่าเพื่อแก้ไขปัญหา ทั้งนี้โรงเรียนก็ไม่ได้มีคู่อริถาวร

                              แม่วิภา: 1) ปัจจัยภายใน ผู้บริหารเห็นความสำคัญ (ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์) นักเรียนมี
                       ความสุขในการใช้ชีวิต, อาจารย์และเจ้าหน้าที่ได้เห็นความสำคัญกระบวนการไกล่เกลี่ย ในข้อพิพาท

                       ไม่ขยายเป็นวงกว้าง ยุติ -> ไกล่เกลี่ย -> สมานฉันท์, นักเรียนต้องเห็นคุณค่าและคุณประโยชน์ (ไกล่
                       เกลี่ยกับเคลียร์ไม่เหมือนกัน), บุคลากรที่ทำหน้าที่เป็นคนกลาง (ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ

                       กระบวนการการนำมาใช้ ผลสัมฤทธิ์ และผลกระทบด้านบวกอย่างไร ผลกระทบด้านลบให้น้อยที่สุด)

                       และ 2) ปัจจัยภายนอก ทำให้คนรอบสถานศึกษา “การสร้างสันติสุข” “การแก้ไขข้อพิพาท” โดย
                       โรงเรียนได้มีโอกาสนำมาใช้ มีคณะกรรมการ, คุณครุเป็นที่ปรึกษา คนภายนอกเห็นผลสำเร็จ มีการให้

                       รางวัล เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ เป็นเกียรติประวัติของตัวเอง การเข้ารับการอบรมรุ่นต่อรุ่น ให้เกิด

                       การยอมรับ, หน่วยงานให้องค์ความรู้ เพื่อให้ไปในทิศทางที่เหมาะสม (ต่อเนื่อง)

                       4. ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยในสถานศึกษา

                              ปริยาภัทร: ทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจ, คนกลางมีทักษะ โดยรวมตัวเด็กและคนไกล่เกลี่ยเอา

                              นนทกาญจน์: คู่กรณีอยุ่ร่วมกันได้เหมือนพี่น้อง สามัคคีกัน

                              จุฑามาศ: team-work, ความใจเย็น, ทักษะของคนกลาง, ถ้าคนกลางมีทักษะเป็นปัจจัยที่ทำ
                       ให้การเจรจาไกล่เกลี่ยประสบความสำเร็จ การทำให้คู่กรณีไว้ในคนกลาง ให้สามารถกล้าพูดความจริง

                              นภดล: คิดว่าการมีสติในการคิดไตร่ตรอง เป็นปัจจัยสำคัญ
                              บุษรินทร์: ห้องที่เราใช้ในการไกล่เกลี่ย บรรยากาศที่เหมาะสม สภาพแวดล้อม อากาศ

                              ชนาธิป: ตัวคู่กรณี/คนกลางต้องไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

                              อัญชนา: ขึ้นอยู่กับคนกลางและคู่กรณี – คนกลางต้องมีทักษะในการพูด มีความเป็นกลาง
                       ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คู่กรณีต้องบอกเรื่องจริงและให้ความร่วมมือ

                              สุพัตรา: นักเจรจาไกล่เกลี่ย เป็นคนที่สามารถทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายกลับมาคืนดีกัน
                              เด็กชาย เอ: คนกลางต้องมีทักษะในการพูด ไม่ใจร้อน เป็นกลางได้ คู่กรณีมีสติและใจเย็น จึง

                       นำไปสู่การไกล่เกลี่ยได้

                              เด็กหญิง บี: คู่กรณีต้องใจเย็น และนำไปสู่ความสำเร็จได้ง่ายลุล่วง  – สภาพแวดล้อม (ควร
                       จะเงียบสงบ) คนกลางพูดคุยโดยใช้เหตุผล

                              เด็กหญิง ข: คนกลางต้องมีทักษะในการเป็นนักเจรจาไกล่เกลี่ย
   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178