Page 182 - 21736_Fulltext
P. 182
161
3.4 บริบทสภาพแวดล้อมควรเป็นอย่างไร? (เช่น กฎกติกา ระบบความเชื่อเดียวกัน ระบบ
เครือญาติ เป็นต้น)
นางสาวปณิตา: คำนึงถึงการเป็นเพื่อนร่วมสถาบันเดียวกัน
นางสาวพัชราวดี: รุ่นพี่รหัส คณะสีเดียวกัน คณะสีเดียวกัน จะช่วยทำให้การไกล่เกลี่ย
ง่ายขึ้น เช่น ให้ประธานสีเป็นคนไกล่เกลี่ย
นางสาวชนิกานต์: เริ่มกระบวนการโดยบอกกฎกติกาในการไกล่เกลี่ยก่อน
อาจารย์แน่งน้อย: อยู่คณะสีเดียวกัน
อาจารย์นงนาถ: การเป็นพวกเดียวกัน อยู่มหาลัยเดียวกัน
3.5 ทรัพยากรควรมีอะไรบ้าง?
นางสาวปณิตา: งบประมาณไม่ค่อยมีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะไม่ได้ใช้ และอยู่ที่ศักยภาพ
ของผู้ไกล่เกลี่ยและคู่กรณี
อาจารย์แน่งน้อย: ผู้ไกล่เกลี่ยที่มีบุคลิก ทักษะการสื่อสาร มีภาวะผู้นำ
อาจารย์นงนาถ: สถานที่ไกล่เกลี่ย งบประมาณ อาหาร น้ำ
3.6 ข้อเสนอเพื่อพัฒนางานไกล่เกลี่ยควรเป็นอย่างไรบ้าง
นางสาวพัชราวดี: หาทีมไกล่เกลี่ยเพิ่มเติม จัดเป็นทีม ม.ต้น ม.ปลาย อบรมหรือให้น้อง
ม.4 ม.5 เข้ามาเรียนรู้เพื่อฝึกการไกล่เกลี่ย
อาจารย์นงนาถ: จัดอบรมอย่างต่อเนื่อง
อาจารย์แน่งน้อย: ให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ผู้ไกลเกลี่ย ความสมัครใจของคนกลางที่จะเข้า
มาทำหน้าที่ ผู้บริหารเห็นความสำคัญ
3.7 ประเมินความสำเร็จของการไกล่เกลี่ยในสถานศึกษา
นางสาวพัชราวดี: ความสำเร็จปานกลาง – สูงสุด
อาจารย์แน่งน้อย: ศาลจังหวัดน่าจะมองเห็นความสำเร็จของเราจึงได้เชิญไปสาธิตการ
ไกล่เกลี่ย