Page 185 - 21736_Fulltext
P. 185
164
อาจารย์อาจารย์นเรศ: ควรทำงานเป็นทีม ต้องสังเกตดูพฤติกรรมเพื่อให้เด็กพูด ปรับ
สภาพอารมณ์ ไม่เร่งรัดเวลา ไม่เอาเวลาเป็นตัวกำหนด หากเด็กเข้าใจ ต้องชี้แจงให้เด็กเข้าใจ กำกับ
และควบคุม
อาจารย์วรรณสวัสดิ์: เน้นการป้องกันและการฝึกอบรม คนกลางควรมีจิตวิทยาในการ
เข้าใจเด็กนักศึกษา เข้าใจความแต่ต่างของแต่ละคน ความศรัทธาในตัวคนกลางที่เป็นอาจารย์ เท่าที่
สังเกต เช่น อาจารย์อาจารย์อาจารย์นเรศ จะทำหน้าที่เหมือนเป็นผู้ปกครอง เพ่อให้การไกล่เกลี่ย
สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น กฎกติกาของมหาวิทยาลัยมีส่วนช่วยให้เด็กทราบว่าถ้าทำผิดแล้วจะ
มีบทลงโทษอย่างไร เมื่อเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ยจะมีระบบอย่างไร มีการฝึกอบรมให้เด็กรุ่นต่อรุ่นตั้งแต่มี
การก่อตั้งศูนย์สันติฯ ปี 2554
นายภัทรภูมิ: มีอำนาจ นศ. เกรงกลัว มีระเบียบ
นายเมธี: เป็นกลาง รับฟังทั้ง 2 ฝ่าย และพิจารณาตามความเป็นจริง
นายอภิชัย: รับฟังทั้ง 2 ฝ่าย มีความยุติธรรม
อาจารย์ณัทธสิฐษ์: มีอิทธิพลสูงกว่า มีอำนาจในการควบคุมระดับอาจารย์อติชาต ทำให้
ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับ มีความหน้าเชื่อถือในเรื่องของความดี มีความจริงใจในการช่วยแก้ปัญหา รับฟังทั้ง
2 ฝ่ายอย่างเป็นกลาง ไม่อคติ มองโลกในแง่บวก มีประสบการณ์ในการใช้ชีวิต
ผศ.ดร.วันวร: คนกลางมี 2 ส่วน 1.คนที่มีตำแหน่งในคณะ 2.คนที่มีตำแหน่งในศูนย์ฯ
โดยตรง คนกลางต้องมีเครือข่ายกับ นศ. ซึ่งอาจจะไม่มีตำแหน่ง อาจจะเป็นคนที่ นศ.ให้ความเคารพ
อาจจะไม่มีทักษะการไกล่เกลี่ย แต่อาจะเข้าร่วมการไกล่เกลี่ยเพื่อให้ข้อมูล ต้องมีโครงการสัมมนาผู้
ไกล่เกลี่ย เปิดรับสมัครให้แก่บุคลากรทุกคนในมหาวิทยาลัยเพื่อติดอาวุธชุดนี้ โดยส่วนใหญ่ รอง
กิจการนศ. ที่นักศึกษาเคารพ จะเป็นคนที่ไกล่เกลี่ยได้สำเร็จ ควรให้รุ่นพี่มีส่วนร่วมในการไกล่เกลี่ย
คือ คนที่ นศ.เคารพแลพกลุ่มคนที่เป็น นศ.ด้วยกัน วิเคราะห์คู่กรณีให้ออก มีจิตวิทยา
4.2 คู่กรณีควรเป็นอย่างไร (เช่น เป้าหมายร่วมกัน การเคารพมุมมองอีกฝ่าย อำนาจ)
อาจารย์ฐิติ: คู่กรณีพร้อมเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย อันดับแรกจะใช้วิธีให้คู่กรณีแยก
ห้อง และให้สงบสติอารมณ์ด้วยการเขียนระบายอารมณ์ ขึ้นอยู่กับทักษะของคนกลางว่าจะเก็บ
ประเด็นได้มากแค่ไหน ทะเลาะกันเพราะอะไร ส่วนใหญ่ที่เจอเขาจะพร้อมคุยไม่อย่างนั้นจะคาใจ มี
วิธีการที่จะไม่ให้คู่กรณีใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยเป็นเครื่องมือในการเอาตัวรอด โดยการกำหนด
บทลงโทษ ต้องจริงใจในการไกล่เกลี่ย เป็นพื้นที่ของการให้โอกาส สร้างสันติวัฒนธรรมในองค์กร ต้อง
เข้าใจสิทธิ์ตัวเอง กล้าพูด อาจจะแยกคุยเพื่อให้เขากล้าพูด หรือคุยพร้อมกัน
อาจารย์วราวุฒิ: ทำให้เขาไว้วางใจกัน จากนั้นเขาจะเริ่มให้ข้อเท็จจริงแก่เรา ทั้ง 2 ฝ่าย
นั้นต้องไม่เถียงกันในระหว่างที่เราไกล่เกลี่ย