Page 184 - 21736_Fulltext
P. 184

163



                              อาจารย์ณัทธสิฐษ์: ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับข้อตกลง เข้าใจกัน ไม่ผิดใจกัน

                       3. ท่านคิดว่าหน่วยงานของท่านประสบความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยมากน้อยเพียงใด

                              อาจารย์วราวุฒิ: ถ้าเป็นกรณีของนักศึกษาจะสำเร็จประมาณ 80 % มีบางกรณีที่ไกล่เกลี่ย

                       แล้วทั้ง 2 ฝ่ายยังติดใจกันอยู่ จำเป็นต้องเกิดการไกล่เกลี่ยขึ้นเป็นครั้งที่ 2

                              อาจารย์ฐิติ: กรณีเป็นเรื่องของผู้ปกครอง มีการเรียกร้องค่าเสียหาย บวกค่าความรู้สึกเข้าไป
                       ด้วย แต่อีกฝ่ายยินยอมให้เฉพาะค่าเสียหาย ปรับกระบวนการโดยการคุยกับนักศึกษาก่อนโดยยังไม่มี

                       ผู้ปกครองเข้าร่วม ถ้าผู้ปกครองทราบผลแล้วไม่พึงพอใจ ก็จะกลายเป็นคดีฟ้องศาลต่อไป แต่พอเป็น
                       คดีความจริงกลับไม่ได้อะไร กรณีที่คุยกับพ่อแม่มาก่อนส่วนใหญ่จะสำเร็จ เพราะผู้ปกครองจะช่วยพูด

                       กับลูกหลานด้วย

                              อาจารย์อติชาต: ส่วนใหญ่สำเร็จ แล้วไม่ค่อยมีปัญหาซ้ำ ที่จะเกิดเรื่องซ้ำก็เพราะไปฟังจาก
                       คนอื่นเพิ่ม แล้ววันรุ่งขึ้นต้องมาคุยกันใหม่ / ใช้กระบวนการทางวินัยเข้ามาช่วย

                              อาจารย์ณัทธสิฐษ์: ถ้าไกล่เกลี่ยเองจะสำเร็จ 100%
                              ผศ.ดร.วันวร: การยินยอมและความพึงพอใจของทั้ง 2 ฝ่าย ถูกต้องตามกฎระเบียบของ

                       มหาวิทยาลัย วัดจากการเขียน การสังเกต การสะท้อนวิธีพูดวิธีคิด /เฉลี่ย 90% ไกล่เกลี่ยได้สำเร็จ

                       ปัจจุบันทำแบบสอบถามเชิงคุณภาพ คิดว่าประสบความสำเร็จมาก บุคลากรมีความตั้งใจ

                       4. ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยในสถานศึกษา

                              4.1 คนกลางควรเป็นอย่างไร? (เช่น เป็นกลาง มีบารมี ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย มีจริยธรรม

                       ทักษะการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม เป็นต้น)

                                 อาจารย์วราวุฒิ: คนกลางมีความสำคัญ ทำให้คู่กรณียอมเปิดใจกัน มีหน้าที่ในการจับ

                       ประเด็นสรุปและชี้แนะ เป็นกลาง สภาพจิตใจของผู้ไกล่เกลี่ยต้องนิ่ง มีสมาธิ ทีมผู้ไกล่เกลี่ยเดียวกัน

                       ควรมีแนวทางในการไกล่เกลี่ยใกล้เคียงกันเพื่อไม่ให้ขัดกันในวงไกล่เกลี่ยเนื่องจากหลายกรณีอาจจะ
                       มองคนละมุม

                                 อาจารย์ฐิติ: องค์ความรู้ทักษะด้านการไกล่เกลี่ย แลกเปลี่ยนความรู้ นโยบายของ

                       มหาวิทยาลัยต้องส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดกระบวนการไกล่เกลี่ยที่ไม่เน้นการลงโทษ เน้นให้เด็กเข้าใน
                       สาเหตุของเรื่องที่เกิด ทัศนคติของผู้ไกล่เกลี่ย ไม่ยกตนว่าเป็นอาจารย์มากนัก จะทำให้เข้าสู่หลักการ

                       มากไกล่เกลี่ยมากกว่าการเกลี้ยกล่อม คนกลางควรได้มีการมาพูดคุยกันหลังจากไกล่เกลี่ยเสร็จแล้ว
                       เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เทคนิคการระงับอารมณ์เด็ก เพื่อพัฒนาไปพร้อมๆกัน

                                 อาจารย์อติชาต: ไม่มีธงในใจ สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นผู้

                       ไกล่เกลี่ยทะเลาะกับเด็กเสียเอง ไม่ตัดสินว่าใครผิดขณะอยู่ในกระบวนการไกล่เกลี่ย ส่งตัวแทนทุก
                       คณะเข้าอบรม ลักษณะการตั้งคำถามให้ครอบคลุมประเด็นที่ต้องการ มีทักษะในการตั้งคำถามที่ดี
   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189