Page 21 - 21736_Fulltext
P. 21

บทที่ 1

                                                             บทนำ



                       1.1 ความเป็นมาและสภาพปัญหา


                              ความขัดแย้งในสังคมไทยเกิดขึ้นและดำรงอยู่ตลอดเวลาและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น
                       ภายใต้บริบทสังคมไทยที่มีการพัฒนาทางวัตถุอย่างต่อเนื่อง ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีทั้งความขัดแย้งใน

                       ระดับบุคคล ครอบครัว ในองค์กร เช่น สถาบันการศึกษา ไปจนกระทั่งถึงระดับชาติ นอกจากนี้ ความ
                       ขัดแย้งยังเกิดขึ้นในทุกระดับของปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ทั้งความขัดแย้งระหว่างบุคคล ระหว่าง

                       กลุ่ม และยังเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือศัตรู  (Bar-Tal, 2013) นักวิชาการด้านสันติวิธีจำนวนไม่

                       น้อยเห็นว่า ความขัดแย้งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ความแตกต่างเป็นเรื่องปกติในสังคม แต่ความ
                       รุนแรงเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ ต้องมีวิธีการป้องกันและจัดการกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นที่สำคัญคือเมื่อ

                       ความขัดแย้งเกิดขึ้น เราสามารถควบคุมความขัดแย้งไม่ให้ขยายตัวและจัดการความขัดแย้งได้หรือไม่

                       และจัดการความขัดแย้งได้ดีเพียงใด เราจะเลือกใช้วิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร จะใช้แนวทาง
                       สันติวิธีหรือแนวทางรุนแรงในการจัดการกับปัญหา


                              การจัดการความขัดแย้งด้วยแนวทางสันติวิธี แบ่งได้หลายแนวทาง เช่น การฟ้องร้อง
                       ดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม การชุมนุมเรียกร้องเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของตนเอง  การ

                       สานเสวนาซึ่งเป็นการมารับฟังและพูดคุยกันเพื่อมุ่งเน้นให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน การเจรจา

                       กันเองระหว่างคู่กรณีเพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน การไกล่เกลี่ยโดยคนกลางโดยมีคนกลางเข้ามาช่วยกำกับ
                       กระบวนการที่เหมาะสมเพื่อนำไปสู่ข้อตกลงที่พึงพอใจร่วมกันระหว่างคู่กรณี


                              สำหรับความขัดแย้งในสถานศึกษาในประเทศไทยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในลักษณะความ
                       ขัดแย้งระหว่างนักเรียนของสถานศึกษาแห่งหนึ่งกับอีกแห่งหนึ่ง หรือระหว่างนักเรียนกับนักเรียน และ

                       แม้แต่กับครูผู้สอนในสถานศึกษาแห่งเดียวกัน ผลความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้นหลายครั้งได้ขยายตัวและ
                       กลายเป็นความรุนแรง จนในที่สุดได้นำมาซึ่งความเสียหายไม่เพียงแต่ในเรื่องของทรัพย์สิน ชื่อเสียง

                       เกียรติยศของคู่กรณีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้บริสุทธิ์อื่นๆ อีกด้วย โดยเฉพาะ

                       อย่างยิ่งถ้าเป็นความเสียหายที่มีต่อชีวิต อันไม่อาจจะมีสิ่งใดมาทดแทนได้

                              ความรุนแรงในแต่ละสถานศึกษา รวมถึงความรุนแรงระหว่างสถาบันการศึกษาเกิดขึ้นในทุก

                       ระดับในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยมีปรากฏให้เห็น
                       ในสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ในหลายรูปแบบทั้งการชก ต่อย ทุบ ตบ ตี กันมีการใช้อาวุธประเภทต่างๆ
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26