Page 25 - 21736_Fulltext
P. 25
5
กลางและผู้เกี่ยวข้องรู้สึกว่ามีคนมาจับจ้องและอาจทำให้มีการบังคับให้คู่กรณียอมรับในผลของการ
ไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง
1.5.2.2 การสัมภาษณ์ทั้งแบบมีระบบและไม่มีระบบ (Structured and Unstructured
interviews)
ก่อนที่จะมีการสัมภาษณ์ นักวิจัยได้พัฒนากรอบแนวคิดปัจจัยแห่งความสำเร็จในการไกล่
เกลี่ยโดยคนกลางจากแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จากนั้นได้สัมภาษณ์และปรึกษาหารือกับผู้ทรงคุณวุฒิ
ด้านการไกล่เกลี่ยคนกลาง หลังจากนั้น นักวิจัยได้ลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจบริบทและ
สภาพแวดล้อมในสถานศึกษาของสถานศึกษาทั้ง 4 แห่ง และสัมภาษณ์แบบไม่มีระบบ เพื่อให้ได้
ข้อมูลสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาให้มากที่สุด ต่อมาจึงได้ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์
แบบมีระบบ โดยมีแนวคำถามที่เป็นคำถามเดียวกัน มีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นระบบ
เป็นหมวดหมู่ในการจัดกลุ่มและวิเคราะห์ โดยการสัมภาษณ์แบบมีระบบ แนวคำถามประกอบด้วย 1)
ความสำเร็จของสถานศึกษาในการไกล่เกลี่ยพิจารณาจากอะไร 2) ท่านคิดว่าหน่วยงานของท่าน
ประสบความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยมากน้อยเพียงใด 3) ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยใน
สถานศึกษามีอะไรบ้าง (คนกลาง คู่กรณี การสร้างความสัมพันธ์ บริบทสภาพแวดล้อม และ
ทรัพยากร) และ 4) ข้อเสนอเพื่อพัฒนางานไกล่เกลี่ยควรเป็นอย่างไรบ้าง วันเวลาที่สัมภาษณ์
กลุ่มเป้าหมายมีรายละเอียดดังนี้
1. โรงเรียน พนมสารคาม “พนมอดุลยวิทย์” วันที่ 8-9 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุม
โรงเรียนพนมสารคามฯ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
2. โรงเรียนสตรีนนทบุรี วันที่ 29 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมโรงเรียนสตรีนนทบุรี
อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
3. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ วันที่ 7 กรกฎาคม 2558 ณ ศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาล
นักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพมหานคร
4. โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ วันที่ 8-9 กรกฎาคม 2558 ณ ศูนย์ไกล่เกลี่ยโรงเรียน
สตรีนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.6.1 ทราบถึงความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษา
1.6.2 ทราบถึงปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษา