Page 24 - 21736_Fulltext
P. 24

4


                              1.3.2 ขอบเขตเชิงเนื้อหา

                              เพื่อสำรวจความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษาและเพื่อศึกษาปัจจัยที่

                       นำไปสู่ความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษา

                              1.3.3 ขอบเขตเชิงเวลา

                              ระยะเวลาในการศึกษาวิจัยจำนวน 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2556- วันที่ 30

                       กันยายน พ.ศ. 2558

                       1.4 ระเบียบวิธีวิจัย


                              การดำเนินงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research)
                              1.4.1 กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ที่มีประสบการณ์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการไกล่เกลี่ยคนกลาง

                       ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา อาจารย์ที่รับผิดชอบ ผู้นำนักศึกษา ผู้ไกล่เกลี่ย(คนกลาง)

                       นักเรียน/นักศึกษา ที่เป็นคู่กรณี และผู้ที่ผลักดันให้เกิดหน่วยงานด้านสันติวิธีขึ้นในสถานศึกษา แห่งละ
                       10 คน รวมเป็น 40 คน จากสถาบันการศึกษา 4 แห่ง แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีประสบการณ์ใน

                       การไกล่เกลี่ยโดยคนกลางมายาวนานหลายปี กับกลุ่มที่ดำเนินการไกล่เกลี่ยมาไม่มากนัก
                              1.4.2 เครื่องมือ  ได้แก่แบบสัมภาษณ์ แนวคำถาม (interview guidelines) จะเน้นที่การ

                       ประเมินความสำเร็จของการไกล่เกลี่ยในสถานศึกษา ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการไกล่เกลี่ยใน

                       สถานศึกษา รวมถึงข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนางานด้านการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง
                              1.4.3 การวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content

                       analysis) โดยเชื่อมโยงเข้ากับแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องว่ามีความสอดคล้องหรือแตกต่างกัน

                       1.5 ขั้นตอนการวิจัย


                              งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีขั้นตอนดำเนินงานดังนี้

                              1.5.1. เก็บข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย หนังสือ ตำรา ชุดความรู้

                       รายงานการศึกษาวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ รายงานประจำปีของสถาบันการศึกษา และกรณีศึกษา
                       การไกล่เกลี่ยของสถานศึกษา

                              1.5.2 เก็บข้อมูลปฐมภูมิ โดยใช้วิธีการดังนี้

                                 1.5.2.1 การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (non-participant observation)

                                 ผู้วิจัยไม่ได้เข้าไปสังเกตการณ์การไกล่เกลี่ยที่เกิดขึ้นจริง แต่ก็มีข้อดีคือไม่เป็นการเข้าไป
                       แทรกแซงกระบวนการไกล่เกลี่ย การที่มีผู้สังเกตการณ์ไปนั่งสังเกตการณ์การไกล่เกลี่ยจริงจะทำให้คน
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29