Page 22 - 21736_Fulltext
P. 22
2
ซึ่งผลที่เกิดขึ้น คือ มีทั้งการสูญเสียชีวิต บาดเจ็บ และความเจ็บปวดทางจิตใจ รวมถึงเสื่อมเสียชื่อเสียง
ต่อทั้งตัวบุคคลและสถาบัน
สถานการณ์ความรุนแรงในการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษาเกิดขึ้น
อย่างกว้างขวางและมีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นในแต่ละปีแตกต่างกันไปตามแต่บริบทของสังคม
ในแต่ละช่วง ในช่วงปี 2546-2550 จากข้อมูลสถิติของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กองบัญชาการ
ตำรวจนครบาล พบว่า ในปี 2546 มีนักเรียนก่อเหตุทะเลาะวิวาท 2,279 ครั้ง เตรียมก่อเหตุ ทะเลาะ
วิวาท 1,369 ครั้ง ในปี 2547 มีนักเรียนก่อเหตุทะเลาะวิวาท 3,112 ครั้ง เตรียมก่อเหตุทะเลาะวิวาท
2,300 ครั้ง ในปี 2548 มีนักเรียนก่อเหตุทะเลาะวิวาท 1,724 ครั้ง เตรียมก่อเหตุทะเลาะวิวาท 1,323
ครั้ง ในปี 2549 มีนักเรียนก่อเหตุทะเลาะวิวาท 1,978 ครั้ง เตรียมก่อเหตุทะเลาะวิวาท 1,390 ครั้ง ปี
2550 มีนักเรียนก่อเหตุทะเลาะวิวาท 1,713 ครั้ง เตรียมก่อเหตุทะเลาะวิวาท 1,121 ครั้ง (ทรงภูมิ
ประภานนท์, 2551)
จากสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในระดับต่างๆของสถานศึกษา คณะรัฐมนตรีได้
ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว โดยมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 ในส่วนที่
เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งศูนย์สันติวิธีขึ้นในสถานศึกษา คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาผลการสัมมนาของ
สถาบันพระปกเกล้า เรื่อง”รัฐบาลใหม่กับการจัดการความขัดแย้งในสังคม” ซึ่งมีข้อเสนอเพื่อ
พิจารณารวม 2 ประการ คือ 1) การจัดตั้งศูนย์สันติวิธีหรือศูนย์สันติศึกษาขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อ
บรรจุเรื่องการขจัดความขัดแย้งเป็นหลักสูตรหนึ่งของมหาวิทยาลัย และ 2) จัดตั้งสถาบันหรือองค์กร
อิสระเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งและไกล่เกลี่ยความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย
สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความพยายามที่จะดำเนินการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
และความรุนแรงด้วยสันติวิธี และต้องการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษาโดยใช้การไกล่เกลี่ย
โดยคนกลาง เนื่องจากเห็นว่าการใช้กระบวนการยุติธรรมปกติที่มีอยู่แล้วหรือกระบวนการยุติธรรม
กระแสหลักที่เน้นการลงโทษผู้กระทำผิดเพียงอย่างเดียว ทำให้ผู้เสียหายหรือผู้ถูกกระทำถูกละเลย
ไม่ได้รับการเยียวยาจากผลกระทบที่เกิดขึ้น แม้ว่าผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษ แต่ผู้เสียหายไม่ได้มีโอกาส
ได้บอกเล่าถึงความต้องการที่แท้จริงในการเยียวยาถึงความเสียหาย การไกล่เกลี่ยจึงเปรียบเสมือน
กระบวนการยุติธรรมกระแสรองที่ใช้เสริมกับกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก ซึ่งกระบวนการ
ยุติธรรมปกติยังคงทำหน้าที่ต่อไป แต่ใช้ควบคู่กันไปด้วยกระบวนการยุติธรรมกระแสรองด้วยการไกล่
เกลี่ยโดยคนกลาง จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง ในบริบทต่าง