Page 27 - 21736_Fulltext
P. 27
บทที่ 2
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ในบทที่ผ่านมา ทำให้เราได้ทราบถึงความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย โดยมี
สถานศึกษาหลายแห่งเห็นประโยชน์ของการใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในการจัดการกับ
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา และได้ทราบถึงวัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการวิจัยและประโยชน์ที่
คาดว่าจะได้รับ ในบทนี้เป็นการศึกษาถึงแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมใน
ประเด็นต่อไปนี้
2.1 การไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง
2.1.1 แนวคิดเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง
2.1.2 บทบาทหน้าที่ และยุทธวิธีของคนกลาง
2.1.3 การไกล่เกลี่ยโดยคนกลางกับทักษะในการสื่อสาร
2.1.4 ขั้นตอนในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง
2.1.5 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง
2.2 การไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษา
2.2.1 การไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษาในต่างประเทศ
2.2.2 การไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษาในไทย
2.1 การไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง
ในส่วนต่อไปจะเป็นการอธิบายถึง แนวคิดเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง บทบาทหน้าที่
และยุทธวิธีของคนกลาง การไกล่เกลี่ยโดยคนกลางกับทักษะในการสื่อสาร ขั้นตอนในการไกล่เกลี่ย
โดยคนกลาง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง
2.1.1 แนวคิดเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง
เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น สามารถใช้วิธีจัดการความขัดแย้งได้หลายวิธี เช่น การสานเสวนา
(Dialogue) การเจรจา (Negotiation) การไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง (Mediation) อนุญาโตตุลาการ
การฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรม การชุมนุมเรียกร้อง แม้กระทั่งการใช้ความรุนแรง การไกล่เกลี่ยโดยคน
กลาง เป็นวิธีการหนึ่งในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่นำมาสู่ความพึงพอใจร่วมกันของคู่กรณี