Page 42 - 21736_Fulltext
P. 42
21
ฝ่ายที่ยึดมั่น ควบคุม จัดการกับอารมณ์ (Handling Emotions) ดับอารมณ์โกรธของคู่กรณีให้ได้
ความพึงพอใจก็จะเกิดขึ้นทั้งกระบวนการ สำหรับเนื้อหาสาระให้เป็นเรื่องของคู่กรณีตัดสินใจ ไม่ได้
เน้นว่าต้องมีบันทึกข้อตกลงกันให้ได้ ข้อตกลงนั้นจะยั่งยืนจากการตัดสินใจของคู่กรณีเอง “คนกลาง
ต้องไม่เสนอความเห็นหรือให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาใดๆ ทั้งสิ้น”
2) การไกล่เกลี่ยแบบประเมิน (Evaluative Tactics in Mediation) เป็นรูปแบบการ
แทรกแซงที่เข้มข้น ผู้ไกล่เกลี่ยจะพยายามส่งผลและควบคุมเนื้อหาของการไกล่เกลี่ย เป้าหมายสูงสุด
คือยุติความขัดแย้งด้วยการนำไปสู่ข้อตกลง เน้นที่ผลลัพธ์การไกล่เกลี่ยเป็นหลัก
ยุทธิวิธีข้างต้น เรียกได้ว่าเป็น “คุณอำนาจ” ผู้ไกล่เกลี่ยจะพยายามควบคุมเนื้อหาของ
การไกล่เกลี่ย เป้าหมายสูงสุดคือยุติความขัดแย้งด้วยการนำไปสู่ข้อตกลง เพื่อไม่ให้เรื่องต้องส่งต่อไปสู่
กระบวนการยุติธรรม ไม่เสียเวลาและเสียงบประมาณ เช่น ในการไกล่เกลี่ยทางธุรกิจ คนกลางก็จะ
พยายามให้เกิดข้อตกลงให้ได้ โดยทำให้เห็นถึงข้อเสียของการฟ้องร้องกันต่อไป วิธีการที่ใช้คือ ค่อยๆ
ทำให้สงสัย (Instilling Doubt) เป็นการลดความคาดหวังของคู่กรณี และชี้ให้เห็นว่าฟ้องร้อง
ดำเนินคดี อาจจะไม่ชนะคดีอย่างที่คาดหวัง คนกลางเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่พูดคุย เช่น
ด้านแรงงาน ด้านครอบครัว เมื่อคู่กรณีขาดข้อมูลที่เพียงพอ “คนกลางจะประเมินความได้เปรียบ
เสียเปรียบของคู่กรณี รวมถึงช่วยตัดสินใจให้” อีกทั้งเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการฟ้องร้อง
(Offering Opinions About the Case) อาจจะคาดการณ์ให้ทราบถึงเงินค่าเยียวยาที่จะได้รับหากมี
การตัดสินโดยผู้พิพากษา วิธีนี้มักจะใช้โดยผู้พิพากษาที่เกษียณอายุแล้วมาทำหน้าที่คนกลางใน
สหรัฐอเมริกา อีกวิธีการที่ใช้คือการแยกเจรจา (Caucusing) ฝ่ายที่ใช้วิธีการไกล่เกลี่ยแบบประเมินจะ
ใช้มากกว่าไกล่เกลี่ยแบบอำนวยความสะดวก เนื่องจากฝ่ายที่เน้นการไกล่เกลี่ยแบบหลังเห็นว่าอาจทำ
ให้เกิดปัญหาความไม่ไว้วางใจ การเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจากการคุยกันเพียงลำพัง ฝ่ายที่ใช้การไกล่
เกลี่ยแบบประเมินมีโอกาสที่จะทำให้คู่กรณีทบทวนว่าอาจไม่ชนะคดีอย่างที่คาดหวังไว้ ดังนั้นทางออก
ที่ดีกว่าคือหาข้อตกลงร่วมกันให้ได้
คนกลางอาจใช้วิธีการ “การไกล่เกลี่ย เกลี้ยกล่อม” เพื่อให้เรื่องจบลง วิธีนี้จะ
เหมาะสมกับกรณีที่คู่กรณีให้การยอมรับต่อตัวคนกลาง ไม่ว่าจะเป็นการยอมรับเพราะความรู้ บารมี
คุณธรรม อำนาจหน้าที่ที่ดำรงอยู่ เมื่อคนกลางบอกหรือเสนอแนะคู่กรณีก็จะให้การยอมรับ อย่างไรก็
ตาม นพพร โพธิรังสิยากร (2555) เห็นว่า Evaluative Mediation ในสหรัฐอเมริกาหากพิจารณาโดย
ผิวเผินเหมือนกับการ “หักคอให้ยอมรับ” คล้ายๆ กับการเกลี้ยกล่อม แต่การที่ผู้พิพากษาใช้
กระบวนการนี้ เนื่องจากมีการไกล่เกลี่ยด้วยกระบวนการอำนวยความสะดวกมาก่อน ทำให้คู่กรณีเกิด
ความเข้าอกเข้าใจกันแล้ว วิธีนี้จึงไม่ใช่การเกลี้ยกล่อม โดยผู้พิพากษาช่วยชี้ทางออกในการแก้ไข
ปัญหาที่เกิดขึ้นบนฐานของกระบวนการที่ถูกต้อง การไกล่เกลี่ยบางครั้งคู่กรณีไม่สามารถหาทางออก